อภิธัมมัตถสังคหะ
อเหตุกจิต
อุเปกฺขาสหคต จกฺขุวิฃฺฃาณํ, ตถา โสตวิฺาณ ฆานวิฺาณ ชิวฺหาวิฺาณ ทุกฺขสหคต กายวิฺาณ อุเปกฺขาสหคต สมฺปฏิจฺฉนฺน, ตถา สนฺตีรณฺเจติ อิมานิ สตฺตปิ อกุสลวิปากจิตฺตานิ นาม.
อิมานิ จิตฺตานิ จิตเหล่านี้ สตฺตปิ แม้ ๗ ดวง อิติ คือ
จกฺขุวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยจักขุปสาท อุเปกฺขาสหคตํ เกิดร่วมกับอุเบกขา-เวทนา [จ ดวงหนึ่ง], โสตวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยโสตปสาท [จ ดวงหนึ่ง], ฆานวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยฆานวิญญาณ [จ ดวงหนึ่ง], ชิวฺหาวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยชิวหาปสาท [จ ดวงหนึ่ง] ตถา [อุเปกฺขาสหคตํ เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา]เช่นเดียวกัน
**********
อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา
อเหตุกจิต (๘) อธิบายคำว่า โสตวิญญาณเป็นต้น
๘๑. วิฺาณาธิฏฺิต หุตฺวา สุณาตีติ โสต. .
ยํ
ธมฺมชาตํ ธรรมชาติใด วิฃฺฃาณาธิฏฺฅิตํ หุตฺวา เป็นที่อาศัยแห่งโสตวิญญาณ สุณาติ
ย่อมได้ยิน อิติ ตสฺมา เพราะเหตุนั้น ตํ ธมฺมชาตํ ธรรมชาตินั้น โสตํ
ชื่อว่า โสตะ.
ฆายติ คนฺโธปาทาน กโรตีติ ฆานํ.
ยํ
ธมฺมชาตํ ธรรมชาติใด (วิฃฺฃาณาธิฏฺฅิตํ หุตฺวา เป็นที่อาศัยแห่งฆานวิญญาณ) ฆายติ
ย่อมสูดดม คนฺโธปาทานํ กโรติ
คือว่า ย่อมทำ ซึ่งการรับกลิ่น [1]
อิติ ตสฺมา เพราะเหตุนั้น ตํ
ธมฺมชาตํ ธรรมชาตินั้น ฆานํ ชื่อว่า ฆานะ.
ชีวิตนิมิตฺต รโส ชีวิต. ต อวฺหยติ
ตสฺมึ นินฺนตายาติ ชิวฺหา นิรุตฺตินเยน.
รโส
รส ชีวิตนิมิตฺตํ ที่เป็นเหตุแห่งชีวิต ชีวิตํ ชื่อว่า ชีวิต[2].
ยา ธมฺมชาติ ธรรมชาติใด อวฺหยติ ย่อมเรียกร้อง ตํ ชีวิตํ
ซึ่งชีวิตนั้น นินฺนตาย เนื่องจากเป็นธรรมชาติน้อมไป ตสฺมึ ชีวิเต
ในชีวิตนั้น อิติ ตสฺมา เพราะเหตุนั้น สา ธมฺมชาติ ธรรมชาตินั้น ชิวฺหา
ชื่อว่า ชิวหา[3]
นิรุตฺตินเยน โดยนิรุตตินัย.[4]
[1] ท่านไขว่า
คนฺโธปาทานํ กโรติ เพราะในสัททนีติ ธาตุมาลาแสดงว่า ฆา คนฺโธปาทาเน ฆา ธาตุ มีความหมายว่า คนฺโธปาทาน รับกลิ่น.
ส่วน บทว่า กโรติ ใส่เข้าไป เพราะกร และ ภูธาตุ
จะเป็นธาตุที่ปะปนอยู่ในอรรถของธาตุทุกตัว.
[2] คำว่า รส
ได้แก่ รสในอาหาร (รสารมณ์) อันเป็นเหตุตั้งอยู่แห่งชีวิต. ในวิภังคมูลฏีกา
แสดงว่า รสคฺคหณมูลกตฺตา อาหารชฺโฌหรณสฺส ชีวิตเหตุมฺหิ อาหารรเส นินฺนตาย ชีวิตํ
อวฺหายตีติ ชิวฺหา วุตฺตา นิรุตฺติลกฺขเณน. = ธรรมชาติที่เรียกร้องซึ่งชีวิต
เพราะน้อมไปในรสในอาหาร ซึ่งเป็นเหตุแห่งชีวิต
เนื่องจากการกลืนอาหารเป็นเหตุให้ได้รับรส ดังนั้น จึงเรียกว่า ชิวหา
โดยนิรุตตินัย. ที่ว่า เรียกร้องซึ่งชีวิต หมายความว่า
เรียกร้องซึ่งรสนั้นนั่นเอง โดยผลูปจาระ เพราะกล่าวถึงชีวิตอันเป็นผล แต่หมายถึง
รสอันเป็นเหตุ.
[3] ธรรมชาติใด
ชื่อว่า ย่อมเรียกร้อง ซึ่งชีวิตนั้น เพราะการเรียกร้องอันใด, เพราะการเรียกร้องอันนั้น
ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า ชิวหา
เนื่องจากเป็นธรรมชาติน้อมไปในชีวิตนั้นเท่าที่ประสงค์เท่านั้น.
มิใช่น้อมไปโดยส่วนเดียวแน่นอน.
[4] ความจริง
ควรจะเรียกว่า ชีวิตอาวฺหา เพราะมาจาก
ชีวิต + อา +เวฺห ร้องเรียก
แต่ท่านไม่เรียกเช่นนั้น กลับเรียกว่า ชิวฺหา เพราะลบ วิ, ต และ อา ออกไปเสีย
โดยอาศัยนิรุตตินัย กล่าวคือ นัยของการสำเร็จรูปพิเศษที่มาในคัมภีร์นิรุตติ.
นิรุตตินัยมี ๕ อย่าง คือ เพิ่มอักษร,ลบอักษร,
สลับตำแหน่งอักษร,แปลงอักษรและประกอบเนื้อความให้พิเศษกว่าอรรถเดิมของธาตุ.
ในที่นี้ใช้วิธีการลบอักษร.ในคัมภีร์อื่นเรียกนิรุตตินัยในความหมายว่า
การตั้งชื่อและรูปวิเคราะห์ก็มี. (มณิ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น