วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

อเหตุกจิต ๙

อภิธัมมัตถสังคหะ
อเหตุกจิต
       อุเปกฺขาสหคต   จกฺขุวิฃฺฃาณํ,  ตถา  โสตวิฺาณ   ฆานวิฺาณ  ชิวฺหาวิฺาณ  ทุกฺขสหคต  กายวิฺาณ  อุเปกฺขาสหคต สมฺปฏิจฺฉนฺน, ตถา   สนฺตีรณฺเจติ  อิมานิ  สตฺตปิ อกุสลวิปากจิตฺตานิ  นาม.
          อิมานิ จิตฺตานิ จิตเหล่านี้ สตฺตปิ แม้ ๗ ดวง อิติ คือ จกฺขุวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยจักขุปสาท อุเปกฺขาสหคตํ เกิดร่วมกับอุเบกขา-เวทนา [ ดวงหนึ่ง]โสตวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยโสตปสาท [ ดวงหนึ่ง]ฆานวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยฆานวิญญาณ [ ดวงหนึ่ง]ชิวฺหาวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยชิวหาปสาท [ ดวงหนึ่ง] ตถา [อุเปกฺขาสหคตํ เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา]เช่นเดียวกัน
**********
อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา 
อเหตุกจิต (๙) อธิบายคำว่า กายวิญญาณ
        ๘๒. กุจฺฉิตาน   ปาปธมฺมาน   อาโย  ปวตฺติฏฺานนฺติ  กาโย.   กายินฺทฺริยฺหิ   โผฏฺพฺพคหณสภาวตฺตา   ตทสฺสาทวสปฺปวตฺตาน   ตมูลิกานฺจ  ปาปธมฺมาน วิเสส-การณนฺติ เตส  ปวตฺติฏฺาน  วิย  คยฺหติ. 

     อาโย ที่เกิด ปวตฺติฏฺฅานํ คือสถานที่เป็นไป[1] ปาปธมฺมานํ  แห่งบาปธรรม   กุจฺฉิตานํ ที่น่ารังเกียจ อิติ ตสฺมา เพราะเหตุนั้น กาโย ชื่อว่า กาย[2]หิ อันที่จริง กายินฺทฺริยํ กายินทรีย์ วิเสสการณํ เป็นเหตุพิเศษ ปาปธมฺมานํ แห่งบาปธรรม ตทสฺสาทวสปฺปวตฺตานํ จ ซึ่งเป็นไปโดยยินดีต่อโผฏฐัพพะนั้น [3] ตํมูลิกานญฺจ และที่มีโผฏฐัพพะนั้นเป็นเหตุ[4] โผฏฺฅพฺพคฺคหณสภาวตฺตา เพราะกายินทรีย์มีสภาพที่รับโผฏฐัพพะเป็นลักษณะ[5] อิติ ดังนั้น กายินฺทฺริยํ กายินทรีย์นั้น คยฺหติ สามารถถือเอาได้ วิย เหมือนกับว่า ปวตฺติฏฺฅานํ เป็นที่เป็นไป เตสํ ปาปธมฺมานํ แห่งบาปธรรมเหล่านั้น.


[1]ท่านแสดงความหมายของบทว่า อาย ด้วยคำว่า ปวตฺติฐานํ ที่เป็นไป เพราะ อาย ศัพท์มีความหมายว่าที่เกิด วิ.ว่า อายนฺติ อุปฺปชฺชนฺติ เอตฺถ กายินฺทฺริเย ปาปธมฺมาติ อาโย.  อย  ไป  +  ณ  อธิกรณะ. 
[2] ประโยคนี้มีปุจฉานุสนธิดังนี้
            ก) หทัยวัตถุนั่นเอง ควรจะเป็นที่เป็นไปแห่งบาปธรรม เพราะบาปธรรมอาศัยหทัยวัตถุ มิใช่อาศัยกายินทรีย์, อนึ่ง  กายินทรีย์เป็นที่เป็นไปแห่งวิบากนามขันธ์ ๔ซึ่งอาศัยตนเท่านั้น (มิได้เป็นที่เป็นไปแห่งบาปธรรมโดยส่วนเดียวทั้งหมด), เพราะเหตุไร กายินทรีย์จึงถูกถือเอาว่าเหมือนที่เป็นไปแห่งบาปธรรมเล่า? และเพิ่มปาฐเสสะว่า หทยวตฺถุโต วิเสสการณํ เป็นเหตุพิเศษกว่าหทัยวัตถุ
            ข) กายินทรีย์นั้น ย่อมเป็นที่เป็นไปแห่งธรรมที่เป็นกุสลวิบากและกิริยา เพราะจิต ๔๖ เกิดในกายทวาร, เพราะเหตุไร กายินทรีย์จึงถูกถือเอาเหมือนกับว่าเป็นที่เป็นไปเฉพาะบาปธรรมเล่า ?. ดังนั้น ประโยคนี้จึงต้องเพิ่มปาฐเสสะว่า ปาปธมฺมานํเยว วิเสสการณํ, น กุสลาทีนํ  เป็นเหตุพิเศษ เฉพาะบาปธรรมเท่านั้น, มิได้เป็นเหตุพิเศษแห่งกุสลธรรมเป็นต้น.
            ค) จักขุและโสตะ มิได้เป็นเหตุพิเศษแห่งบาปธรรม เพราะถึงความเป็นเหตุแห่งอนุตริยะ (เช่น ทัสสนานุตริยะและสวนานุตริยะ) , ส่วนฆานะ ชิวหา และกายะ เป็นเหตุพิเศษ แห่งบาปธรรม เพราะมิได้เป็นเข้าถึงความเป็นเหตุแห่งอนุตริยะ ดังนั้น แม้ฆานชิวหาและกายะ น่าจะเป็นที่เป็นไปแห่งปาปธรรมเหล่านั้นได้เช่นกัน เพราะเหตุไร จึงถือเอาเฉพาะกายินทรีย์เท่านั้นเล่า ? ประโยคนี้ เชื่อมความได้ว่า ฆานินฺทฺริยชิวฺหินฺทฺริยานิปิ แม้ว่าฆานินทรีย์และชิวหินทรีย์ วิเสสการณานิ เป็นเหตุพิเศษ เตสํ ปาปธมฺมานํ แห่งบาปธรรมเหล่านั้นได้ กิญฺจาปิ แม้ก็จริง, ปน แต่กระนั้น หิ = ยสฺมา เพราะเหตุที่ กายินฺทฺริยํเยว กายินทรีย์เท่านั้น วิเสสการณํ = วิเสสตรํ การณํ เป็นเหตุพิเศษยิ่งกว่า โผฏฺฅพฺพคฺคหณสภาวตฺตา  ...ปาปธมฺมานํ แห่งบาปธรรม ... รับโผฏฐัพพารมณ์, อิติ = ตสฺมา กายินฺทฺริยสฺเสว วิเสสตรการณตฺตา ดังนั้นการที่กายินทรีย์เป็นเหตุพิเศษยิ่งกว่าจึงเป็นเหตุ คยฺหติ ให้ถูกถือเอาว่า วิย เป็นเหมือนกับ ปวตฺติฏฺฅานํ ที่เป็นไป เตสํ ปาปธมฺมานํ แห่งปาปธรรมเหล่านั้น, ฆานชิวฺหานิ ฆานะและชิวหา น คยฺหติ ไม่ถูกถือเอา. (หมายเหตุ ลบ ตร ศัพท์ ที่ วิเสสตรการณํ).  ข้อนี้ ดังสาธกในวิภังคมูลฏีกา ตอนที่ท่านอธิบายข้อความว่า กุจฺฉิตานํ สาสวธมฺมานํ อาโยติ กาโย, อาโยติ อุปฺปตฺติเทโส กาย ได้แก่ ที่เป็นไปแห่งธรรมมีอาสวะซึ่งน่าติเตียน, ก็ อาย ได้แก่ เหตุเกิดขึ้น ดังนี้ว่า
          " ท่านเรียก กาย โดยพิเศษว่า เหตุเกิดแห่งสาสวธรรมที่น่าติเตียน เพราะในบรรดาฆานชิวหาและกายะซึ่งเกิดจากกรรมที่มีกามภพเป็นเหตุ ที่ไม่ถึงความเป็นเหตุแห่งอนุตริยะ และเป็นปัจจัยพิเศษแก่กามราคะเช่นเดียวกัน กายเป็นปัจจัยพิเศษแก่สาสวธรรมมากกว่า, เพราะสัตว์ทั้งหลาย เมื่อยินดีโผฏฐัพพะ ก็ย่อมเสพแม้ซึ่งเมถุนได้ ด้วยกายนั้น. คำว่า อุปฺปตฺติเทส แปลว่า เหตุแห่งการเกิดขึ้น". 
[3] คำว่า ตทสฺสาท มีความหมาย ๒ นัย คือ บาปธรรมที่สหรคตด้วยโลภะ หรือ สัตว์ที่ยินดีต่อโผฏฐัพพารมณ์. โดยเฉพาะนัยหลังมีสาธกในวิภังคอัฏฐกถาว่า   "รสนฺติ ตํ สตฺตาติ รโส, อสฺสาเทนฺตีติ อตฺโถ สัตว์ผู้ยินดีต่อโผฏฐัพพะนั้น เรียกว่า รส. และวิภังคมูลฏีกาว่า เตน หิ โผฏฺฅพฺพํ อสฺสาเทนฺตา สตฺตา เมถุนมฺปิ เสวนฺติ ก็สัตว์เมื่อยินดีโผฏฐัพพะนั้น ที่สุดแล้วย่อมเสพเมถุนได้ ด้วยกายนั้น. ตทสฺสาทวส คำนี้ ให้หมายถึง โผฏฐัพพตัณหา ดังนั้น คำว่า ตทสฺสาทวสปวตฺตานํ จึงแปลได้อีกนัยหนึ่งว่า เป็นไปด้วยโผฏฐัพพตัณหา  บทนี้ (ตทสฺสาทวสปวตฺตานํ) เป็นวิเสสนะของบทว่า ปาปธมฺมานํ  ให้หมายถึง การเสพเมถุน
[4] บทนี้ (ตมฺมูลิกานญฺจ) เป็นวิเสสนะของบทว่า ปาปธมฺมานํ  ให้หมายถึง อกุศลกรรมบถอื่นๆเช่นอทินนาทานเป็นต้น. พึงทราบว่า ข้อความหลังนี้ท่านกล่าวหมายถึงความเป็นปัจจัยโดย               ปกตูปนิสสยปัจจัยแก่บาปธรรม หาได้เป็นอารัมมณปัจจัยไม่.  เพราะเหตุนี้ การใช้ศัพท์ว่า มูล (เป็นเหตุ) จึงเหมาะสม.
[5] คำนี้ท่านกล่าวไว้หมายถึง กายินทรีย์เป็นโคจรคาหิกรูป (รูปที่มีวิญญาณมาอาศัยจึงรับ          โผฏฐัพพารมณ์ได้) มิได้หมายถึงการที่กายวิญญาณมีการรับโผฏฐัพพารมณ์ได้. อีกนัยหนึ่ง หมายถึง เพียงการมาถึงคลองทางกายทวารแห่งโผฏฐัพพารมณ์เท่านั้น โดยความเป็นวิสัยและ     วิสยี (อารมณ์และธรรมที่มีอารมณ์มาถึง), มิใช่หมายถึงความเป็นโผฏฐัพพารมณ์แห่งกายวิญญาณ และกายินทรีย์เท่านั้น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น