อภิธัมมัตถสังคหะ
อเหตุกจิต
อุเปกฺขาสหคต จกฺขุวิฃฺฃาณํ, ตถา โสตวิฺาณ ฆานวิฺาณ ชิวฺหาวิฺาณ ทุกฺขสหคต กายวิฺาณ อุเปกฺขาสหคต สมฺปฏิจฺฉนฺน, ตถา สนฺตีรณฺเจติ อิมานิ สตฺตปิ อกุสลวิปากจิตฺตานิ นาม.
อิมานิ จิตฺตานิ จิตเหล่านี้ สตฺตปิ แม้ ๗ ดวง อิติ คือ จกฺขุวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยจักขุปสาท อุเปกฺขาสหคตํ เกิดร่วมกับอุเบกขา-เวทนา [จ ดวงหนึ่ง], โสตวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยโสตปสาท [จ ดวงหนึ่ง], ฆานวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยฆานวิญญาณ [จ ดวงหนึ่ง], ชิวฺหาวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยชิวหาปสาท [จ ดวงหนึ่ง] ตถา [อุเปกฺขาสหคตํ เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา]เช่นเดียวกัน
**********
อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา
อเหตุกจิต (๑๔) อธิบายเหตุที่อกุสลวิบากกายวิญญาณจิตมีเวทนาเป็นทุกข์
๙๐. กายวิฺาณสฺส
ปน โผฏฺพฺพสงฺขาต ภูตตฺตยเมว อารมฺมณนฺติ
ต กายปฺปสาเท สงฺฆฏิตมฺปิ
ต อติกฺกมิตฺวา ตนฺนิสฺสเยสุ
มหาภูเตสุ ปฏิหฺติ. ภูตรูเปหิ
จ ภูตรูปาน สงฺฆฏน พลวตร อธิกรณีมตฺถเก
ปิจุปิณฺฑก เปตฺวา กูเฏน
ปหต-กาเล กูฏสฺส ปิจุปิณฺฑก อติกฺกมิตฺวา อธิกรณีคหณ วิย, ตสฺมา วตฺถารมฺมณฆฏนาย
พลวภาวโต กายวิฺาณ อนิฏฺเ ทุกฺขสหคต อิฏฺเ สุขสหคตนฺติ.
ปน
แต่ ภูตตฺตยํ เอว ภูตรูป ๓ เท่านั้น โผฏฺฅพฺพสงฺขาตํ [= โผฏฺฅพฺพกถิตํ]
ที่เรียกว่า โผฏฐัพพะ อารมฺมณํ เป็นอารมณ์ กายวิฃฺฃาณสฺส
ของกายวิญญาณ [1]อิติ
ดังนั้น ตํ ภูตตฺตยํ ภูตรูป ๓ นั้น สงฺฆฏิตมฺปิ ซึ่งกระทบ กายปฺปสาเท
ที่กายปสาทรูป อติกฺกมิตฺวา ล่วงเลย ตํ
[=กายปฺปสาทํ] กายปสาทนั้นแล้ว
ปฏิหฃฺฃติ ไปกระทบ มหาภูเตสุ ที่มหาภูตรูป ตนฺนิสฺสเยสุ
ซึ่งเป็นที่อาศัยของกายปสาทนั้น. จ ก็ สงฺฆฏฺฏนํ การ - ภูตรูเปหิ
ที่ภูตรูป - กระทบ ภูตรูปานํ กับภูตรูป พลวตรํ มีกำลังยิ่ง[2]
วิย เหมือนกับ อธิกรณีคหณํ การที่ - กูฏสฺส ฆ้อนเหล็ก อติกฺมิตฺวา
ล่วงเลย ปิจุปิณฺฑกํ ปุยนุ่น -
มากระทบถูกทั่ง ปหตกาเล ในกาล - ปุคฺคลสฺส ที่บุคคล ฐเปตฺวา
วาง ปิจุปิณฺฑกํ ปุยนุ่น อธิกรณีมตฺถเก บนหน้าทั่ง[3]
- แล้วตี กูเฏน ด้วยฆ้อนเหล็ก[4]ฉะนั้น ตสฺมา
เพราะเหตุนั้น กายวิฃฺฃาณํ ทุกฺขสหคตํ เป็นจิตสหรคตกับทุกข์ อนิฏฺเฅปิ ในอนิฏฐารมณ์ สุขสหคตํ
เป็นจิตสหรคตกับสุข อิฏฺเฅปิ ในอิฏฺฐารมณ์ พลวภาวโต เพราะความที่ - วตฺถารมฺมณฆฏนาย
การกระทบกันระหว่างวัตถุและอารมณ์ - มีกำลัง อิติ เช่นนี้แล. [5]
[1] ปุจฉานุสนธิว่า
“ความจริง
แม้กายวิญญาณ ซึ่งเป็นวิบากของกุศลและอกุศลสองฝ่าย
ก็น่าจะเป็นอุเบกขาสหคตจิตเช่นกัน
แม้ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ไม่น่าจะเป็นทุกขสหคตจิตและสุขสหคตจิต,
แต่ไม่เป็นเช่นนี้ กลับเป็นสุขสหคตจิตและทุกขสหคตจิตได้อย่างไร?
[2] ปุจฺฉานุสนธิว่า
“ภูตรูปคือโผฏฐัพพะและภูตรูปคือวัตถุ
มากระทบกันและกันก็เข้าใจแล้ว, เมื่อมันกระทบกันดังนั้นแล้ว
น่าจะไม่แรงเหมือนกับการที่อุปาทารูปคือจักขุปสาทรูปเป็นต้นกระทบอุปาทารูปคือรูปารมณ์เป็นต้น?”
[3] อธิกริยติ อาธาริยติ
ปติฏฺาติ เอตฺถ
วตฺถุมฺหีติ อธิกรณี. อธิ + กร
กรณ + ยุ อธิกรณสาธนะ + อี.
บุคคลย่อมรองรับ คือ ตั้ง ในวัตถุนี้ เพราะเหตุนั้น วัตถุนี้ จึงชื่อว่า อธิกรณี
ทั่ง. หรืออีกนัยหนึ่ง กูเฏน ปกรณกิจฺจํ อธิกโรติ เอตฺถาติ อธิกรณี, มุฏฺฐิ
สถานที่เป็นที่รองรับซึ่งกิจคือการตีด้วยฆ้อนเหล็ก. บางครั้งใช้คำว่า มุฏฺฐิ แทน
อามสิยตีติ มตฺถก, อุปริฏฺาน. สิ่งที่ถูกบุคคลลูบคลำ เรียกว่า มตฺถก ได้แก่
บริเวณที่อยู่ด้านบน. มส อามสเน ลูบคลำ +
โก แปลง ส เป็น ตถ.
อธิกรณิยา มตฺถก อธิกรณีมตฺถก ฯ บริเวณด้านบนแห่งทั่ง
เรียกว่า อธิกรณีมตฺถก หน้าทั่ง
[4] กุฏติ หึสติ
ปหรติ เอเตน อโยฆเนน ชโนติ
กูโฏ. ก้อนเหล็กที่บุคคลใช้ตี ชื่อว่า กูฏ ฆ้อน. กุฏ = หึสา
ทำร้าย + อ กรณสาธนะ. อีกนัยหนึ่ง เป็นศัพท์ที่ไม่ต้องหารูปวิเคราะห์
แปลว่า ก้อนเหล็ก
[5] สรุปได้ว่า
“ถ้าว่ากายวิญญาณกระทบเพียงโผฏฐัพพารมณ์ที่กายปสาทเท่านั้น,
หาได้กระทบที่มหาภูตรูปที่เป็นวัตถุไม่, การกระทบกับระหว่างภูตรูปและอุปาทารูป ก็น่าจะมีกำลังน้อย
เหมือนอย่างการที่อุปาทารูปทั้งสองกระทบกัน. แต่โผฏฐัพพารมณ์นั้น
แม้ว่าจะกระทบที่กายปสาท
ก็ย่อมล่วงเลยกายปสาทนั้นไปกระทบที่มหาภูตรูปซึ่งเป็นวัตถุของกายปสาทได้. อนึ่ง
การกระทบกันของภูตรูปทั้งสอง มีกำลังแรงยิ่ง เพราะทั้งสองต่างก็เป็นภูตรูป เพราะฉะนั้น
กายวิญญาณ จึงมิได้เป็นเพียงอุเบกขาสหคตจิตเท่านั้น ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์
เหมือนดังเช่นจักขุวิญญาณเป็นต้น แต่กลับเป็นสุขสหคตจิตและทุกขสหคตจิตทีเดียว
ตามสมควรแก่วิบากเช่นนี้แล”.