วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559

อเหตุกจิต ๗

อภิธัมมัตถสังคหะ
อเหตุกจิต
       อุเปกฺขาสหคต   จกฺขุวิฃฺฃาณํ,  ตถา  โสตวิฺาณ   ฆานวิฺาณ  ชิวฺหาวิฺาณ  ทุกฺขสหคต  กายวิฺาณ  อุเปกฺขาสหคต สมฺปฏิจฺฉนฺน, ตถา   สนฺตีรณฺเจติ  อิมานิ  สตฺตปิ อกุสลวิปากจิตฺตานิ  นาม.
          อิมานิ จิตฺตานิ จิตเหล่านี้ สตฺตปิ แม้ ๗ ดวง อิติ คือ
       จกฺขุวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยจักขุปสาท อุเปกฺขาสหคตํ เกิดร่วมกับอุเบกขา-เวทนา [ ดวงหนึ่ง]โสตวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยโสตปสาท [ ดวงหนึ่ง]ฆานวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยฆานวิญญาณ [ ดวงหนึ่ง]ชิวฺหาวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยชิวหาปสาท [ ดวงหนึ่ง] ตถา [อุเปกฺขาสหคตํ เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา]เช่นเดียวกัน
**********
อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา 
อเหตุกจิต (๗) อธิบายคำว่า โสตวิญญาณ
       ๘๐. จกฺขุสฺมึ วิาณตนฺนิสฺสิตตฺตาติ จกฺขุวิาณ. ตถาเหตจกฺขุสนฺนิสฺสิตรูปวิชานนลกฺขณนฺติ  วุตฺต. เอวโสตวิาณาทีสุปิ ยถารหทฏฺพฺพํ. ตถาติ อิมินา อุเปกฺขาสหคตภาวอติทิสฺสติ.

          วิฃฺฃาณํ วิญญาณ  จกฺขุสฺมึ ในจักษุ (กสฺมา เพราะเหตุไร จึงเป็นวิญญาณในจักษุ) ตนฺนิสฺสิตตฺตา เพราะเป็นธรรมชาติอาศัยในจักขุนั้น [1] อิติ ตสฺมา เพราะเหตุนั้น จกฺขุวิฃฺฃาณํ จึงชื่อว่า จักขุวิญญาณ. ตถาหิ = ตโต จกฺขุสนฺนิสฺสตฺตา เอว เพราะจักขุวิญญาณเป็นธรรมชาติอาศัยในจักขุนั้นนั่นแหละ เอตํ วิฃฺฃาณํ วิญญาณนี้    (อาจริเยน อันอาจารย์ วุตฺตํ กล่าวไว้ อฏฺฅสาลินิยํ ในคัมภีร์อัฏฐสาลินี) ว่า จกฺขุสนฺนิสฺสิตรูปวิชานนลกฺขณํ มีการอาศัยจักขุแล้วรู้แจ้งรูปเป็นลักษณะ[2] อิติ ดังนี้.[3]
          ทฏฺฅพฺพํ  บัณฑิตพึงเห็น นิพฺพจนํ รูปวิเคราะห์ โสตวิฃฺฃาณาทีสุปิ แม้ในโสตวิญญาณเป็นต้น เอวํ [= วุตฺตนเยเนว] โดยนัยที่กล่าวแล้ว ยถารหํ ตามสมควร.[4]
          ตถา อิติ อิมินา ปเทน ด้วยบทว่า ตถา นี้   อาจริโย  พระอนุรุทธาจารย์   อติทิสฺสติ ย่อมแสดงแนะ อุเปกฺขาสหคตภาวํ ซึ่งความที่ - โสตวิฃฺฃานาทีนํ วิญญาณอื่นๆ   มีโสตวิญญาณเป็นต้น - เป็นจิตที่สหรคตกับอุเบกขาเวทนา.



[1]  คำนี้บอกความว่า วิญญาณที่อาศัยในจักษุ, แต่ปฏิเสธความว่า วิญญาณที่เป็นไปในจักษุ. ถ้าไม่เอานัยนี้ก็จะกลายเป็นว่า จิตที่เป็นไปทางจักขุทวารทั้งหมดจะเป็นจักขุวิญญาณไปเสีย. ดังนั้น ถ้าไม่มีคำว่า ตนฺนิสฺสิตตฺตา นี้ จึงได้รูปวิเคราะห์อีกนัยหนึ่งดังนี้ว่า จกฺขุสฺมึ นิสฺสิตํ วิฃฺฃาณํ จกฺขุวิฃฺฃาณํ วิญญาณที่อาศัยในจักษุ ชื่อว่า จักขุวิญญาณ.  คำว่า ตนฺนิสฺสิต ในที่นี้ได้แก่ ธรรมที่อาศัยในจักษุ ซึ่งได้โวหารว่า นิสสยะ เพราะเป็นที่ให้วิญญาณอาศัยอยู่. ความจริง สี ธาตุ มี นิ เป็นบทหน้า เป็นสกัมมกธาตุได้ เช่นตัวอย่างว่า นิสฺสายํ นํ วสตีติ นิสฺสโย ศิษย์ย่อมอาศัยซึ่งอาจารย์นั้นอยู่ เพราะเหตุนั้น อาจารย์นั้น ชื่อว่า นิสสยะ. แต่ที่เป็นอกัมมกธาตุ ก็มี ด้วยความประสงค์ของผู้กล่าว เหมือนอย่างในคำว่า ปจฺจเต เทวทตฺเตน เทวทัต ย่อมสุก. เพราะเหตุนั้น นิสสย ศัพท์ จึงเป็นอธิกรณะ, ส่วนนิสสิตเป็นกัตตุสาธนะที่ไม่มองหากรรม.
[2] มีรูปวิเคราะห์ว่า จกฺขุสนฺนิสฺสิตหุตฺวา รูปสฺส วิชานนลกฺขณเมตสฺส วิาณสฺสาติ จกฺขุสนฺนิสฺสิตรูปวิชานนลกฺขณ. ในรูปวิเคราะห์นี้ ด้วยคำว่า จกฺขุสนฺนิสฺสิต ปฏิเสธจิตและรูปารมณ์ประเภทอื่นเช่นทิพพจักษุ. ด้วยคำว่า รูปวิชานน ปฏิเสธธรรมอย่างอื่นมีผัสสะเป็นต้นที่อาศัยจักขุนั้น. ด้วยคำว่าจักขุและรูป แสดงถึงจิตโดยที่อาศัยและอารมณ์ เพราะจิตและอารมณ์ทั้งสองเป็นไปอาศัยกัน. ก็ถ้าว่า ไม่ต้องมีจักษุแล้ว, แม้คนตาบอดก็เห็นรูปได้, แต่เขาก็เห็นไม่ได้. และถ้าไม่มีรูปเช่นสีเขียวเป็นต้น, ก็ไม่มีการกำหนดประเทศเป็นต้นแห่งรูปนั้น. แต่การกำหนดก็ยังมีอยู่.
[3] ในโยชนาแนะให้อีกอย่างหนึ่งว่า ตถาหิ = สจฺจํ จะเห็นได้ว่า วจนํ คำที่ว่า เอตํ จกฺขุวิฃฺฃาณํ จักขุวิญญาณนี้ จกฺขุสนฺนิสฺสิตรูปวิชานนลกฺขณํ  มีการอาศัยในจักขุแล้วรู้แจ้งรูปเป็นลักษณะ  อาจริเยน อันอาจารย์ วุตฺตํ กล่าวแล้ว อฏฺฅสาลินิยํ ในคัมภีร์อัฏฐสาลินี.
[4] อีกนัยหนึ่ง. ทฏฺฅพฺพํ บัณฑิตพึงเห็น นิพฺพจนํ วิเคราะห์ จกฺขุวิฃฺฃาเณ ในจักขุวิญญาณว่า "จกฺขุสฺมึ ฯปฯ จกฺขุวิฃฺฃาณํ" อิติ วิญญาณ ในจักษุ ... ชื่อว่า จักขุวิญญาณ ดังนี้ ยถา โดยประการใด, ทฏฺฅพฺพํ บัณฑิตพึงเห็น นิพฺพจนํ วิเคราะห์ โสตวิฃฺฃาณาทีสุ แม้ในโสตวิญญาณเป็นต้นว่า โสตสฺมึ วิฃฺฃาณํ ตนฺนิสฺสิตตฺตาติ โสตวิฃฺฃาณํ อิติอาทิ ว่า วิญญาณในโสตะ เพราะเป็นธรรมชาติอาศัยในโสตะนั้น อิติ ตสฺมา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า โสตวิญญาณ ดังนี้เป็นต้น ยถารหํ = อนุรูปํ ตามสมควร ตสฺส ตสฺส วิฃฺฃาณสฺส แก่วิญญาณนั้นๆ เอวํ โดยประการนั้น. ด้วยการแนะนิพพจน์นี้ ยังหมายถึงคำพูดเกี่ยวกับโสตวิญญาณในอัฏฐสาลินีอีกด้วย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น