อภิธัมมัตถสังคหะ
อเหตุกจิต (๔)
อุเปกฺขาสหคต จกฺขุวิฃฺฃาณํ, ตถา โสตวิฺาณ ฆานวิฺาณ ชิวฺหาวิฺาณ ทุกฺขสหคต กายวิฺาณ อุเปกฺขาสหคต สมฺปฏิจฺฉนฺน, ตถา สนฺตีรณฺเจติ อิมานิ สตฺตปิ อกุสลวิปากจิตฺตานิ นาม.
อิมานิ จิตฺตานิ จิตเหล่านี้ สตฺตปิ แม้ ๗ ดวง อิติ คือ
จกฺขุวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยจักขุปสาท อุเปกฺขาสหคตํ เกิดร่วมกับอุเบกขา-เวทนา [จ ดวงหนึ่ง], โสตวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยโสตปสาท [จ ดวงหนึ่ง], ฆานวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยฆานวิญญาณ [จ ดวงหนึ่ง], ชิวฺหาวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยชิวหาปสาท [จ ดวงหนึ่ง] ตถา [อุเปกฺขาสหคตํ เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา]เช่นเดียวกัน
**********
อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา
อเหตุกจิต (๔) อธิบายคำว่า จักขุวิญญาณ [จิตที่อาศัยจักขุปสาทเกิด] (ต่อ)
๗๘. นิรุฑฺโฒ หิ เอส จกฺขุสทฺโท ทฏฺุกามตานิทานกมฺมชภูตปฺปสาทลกฺขเณ[1]
จกฺขุปฺปสาเทเยว มยุราทิสทฺทา วิย สกุณวิเสสาทีสุ. จกฺขุสหวุตฺติยา ปน ภมุกฏฺฅิปริจฺฉินฺโน มสปิณฺโฑปิ
จกฺขุนฺติ วุจฺจติ.
หิ ความจริง
เอส [=เอโส] จกฺขุสทฺโท
จักขุศัพท์ นี้ นิรุฑฺโฒ เป็นศัพท์ที่มีใช้
จกฺขุปฺปสาเทเยว เฉพาะจักขุปสาทเท่านั้น ทฏฺฐุกามตานิทานกมฺมชภูตปฺปสาทลกฺขเณ[2]
ที่มีความใสแห่งมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรมซึ่งมีความประสงค์จะดูเป็นเหตุเป็นลักษณะ วิย
เหมือนอย่างกับ มยุราทิสทฺทา ศัพท์ว่า มยุร เป็นต้น นิรุฑฺฒา
เป็นศัพท์มีใช้ สกุณวิเสสาทีสุ เฉพาะในนกชนิดหนึ่งเป็นต้น. [3]
ปน
อย่างไรก็ตาม มํสปิณฺโฑปิ แม้ก้อนเนื้อ[4]
ภมุกฏฺฅิปริจฺฉินฺโน ซึ่งถูกกำหนดที่อยู่ด้วยกระดูกคิ้ว ปณฺฑิเตน อันบัณฑิต
จกฺขุ อิติ วุจฺจติ เรียกว่า จักษุ จกฺขุสหวุตฺติยา เพราะมีความเป็นไปร่วมกับจักขุปสาท.
[5]
[2] คัมภีร์ปรมัตถทีปนีฏีกา (อภิธัมมัตถสังคหฎีกา) อธิบายสรุปว่า ได้แก่รูปเป็นที่ปรากฏแห่งนิมิตอารมณ์มีดวงจันทร์เป็นต้น โดยสภาพของตน
เหมือนดังว่าฝังตัวอยู่ที่รูปนั้น เรียกว่า ปสาท. ได้แก่ ความใสที่เกิดจากกรรม
ที่เหมือนกับความใสของกระจกที่สะอาด (ป + สท ปรากฏ + ณ ปัจจัย อธิกรณสาธนะ)
[3] นอกจากนี้ยังหมายถึง
ศัพท์ว่า มหึส กระบือ, ปงฺกช ดอกบัว, วจฺฉ ลูกวัว เป็นต้นอีก
ที่เป็นศัพท์ที่มีใช้เฉพาะในสัตว์ ๔ เท้าชนิดหนึ่งเป็นต้นเท่านั้น. กล่าวคือ มยูรา
มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า มหิยํ รวตีติ มยูโร สัตว์ที่ร้องบนแผ่นดิน
ชื่อว่า มยูระ. แม้สัตว์เหล่าอื่นจะร้องบนแผ่นดินเหมือนกัน แต่ไม่ได้ชื่อว่า มยุร
คงใช้เรียกเฉพาะนกยูงเท่านั้นว่า มยูระ. แม้ในศัพท์อื่นเช่น มหึสา
เป็นต้นก็นัยนี้คือ มหยํ เสตีติ มหึโส สัตว์ที่นอนบนแผ่นดิน เรียกว่า มหึสะ
กระบือ , วทตีติ วจฺโฉ สัตว์ที่ร้อง เรียกว่า วัจฉะ, ปงฺเก ชาตํ ปงฺกชํ
พืชที่เกิดในโคลนตม เรียกว่า ปงฺกช. แม้สัตว์อื่นๆที่นอนบนแผ่นดิน, ที่ร้องได้,
ที่เกิดในโคลนตมเหมือนกัน ก็ไม่เรียกว่า มหึส, วจฺฉ หรือ ปงฺกช แต่อย่างใด คำว่า
มหึส เป็นต้น เป็นศัพท์มีใช้เฉพาะกระบือเป็นต้นเท่านั้น. ดังนั้น แม้ปสาทอื่นๆเช่น
โสตปสาท เป็นต้น ก็ย่อมเป็นสภาพที่ยินดีต่ออารมณ์ของตนเช่นเดียวกับจักขุ
แต่ไม่ได้ชื่อว่า จักขุ เพราะคำว่า จักขุ
เป็นคำศัพท์ที่มีใช้เฉพาะจักขุปสาทที่มีลักษณะดังกล่าวมาแล้วเท่านั้น.
[5] ถึงแม้ก้อนเนื้อเป็นที่ตั้งแห่งจักขุปสาทนั้น
ซึ่งเป็นไปร่วมกับจักขุปสาท ก็เรียกว่า จักษุ โดยโวหารที่เรียกว่า ฐานยูปจาระ
กล่าวถึงฐานี คือ สิ่งที่อาศัยที่ตั้ง แต่หมายถึง ฐานะ คือ
สิ่งที่เป็นที่ตั้ง. เหมือนกับคำว่า กุนฺตา
จรนฺติ หอกเที่ยวไป. (มณิ.) กล่าวคือ
พูดถึงจักขุซึ่งเป็นสิ่งที่มาอยู่ในกล้ามเนื้อส่วนดวงตา
แต่หมายถึงกล้ามเนื้อส่วนดวงตาที่เป็นที่อยู่ของจักขุปสาท.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น