วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

อเหตุกจิต (๓)

อภิธัมมัตถสังคหะ
อเหตุกจิต (๓)
       อุเปกฺขาสหคต   จกฺขุวิฃฺฃาณํ,  ตถา  โสตวิฺาณ   ฆานวิฺาณ  ชิวฺหาวิฺาณ  ทุกฺขสหคต  กายวิฺาณ  อุเปกฺขาสหคต สมฺปฏิจฺฉนฺน, ตถา   สนฺตีรณฺเจติ  อิมานิ  สตฺตปิ อกุสลวิปากจิตฺตานิ  นาม.
          อิมานิ จิตฺตานิ จิตเหล่านี้ สตฺตปิ แม้ ๗ ดวง อิติ คือ
       จกฺขุวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยจักขุปสาท อุเปกฺขาสหคตํ เกิดร่วมกับอุเบกขา-เวทนา [ ดวงหนึ่ง]โสตวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยโสตปสาท [ ดวงหนึ่ง]ฆานวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยฆานวิญญาณ [ ดวงหนึ่ง]ชิวฺหาวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยชิวหาปสาท [ ดวงหนึ่ง] ตถา [อุเปกฺขาสหคตํ เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา]เช่นเดียวกัน
**********

อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา 
อเหตุกจิต (๓) อธิบายคำว่า จักขุวิญญาณ [จิตที่อาศัยจักขุปสาทเกิด] (ต่อ)


         ๗๗. ยทิ เอว  "โสต โข มาคนฺทิย สทฺทารามสทฺทรตสทฺทสมฺมุทิตนฺติอาทิวจนโต  โสตาทีนมฺปิ   สทฺทาทิอสฺสาทน  อตฺถีติ เตสมฺปิ จกฺขุสทฺทาภิเธยฺยตา อาปชฺชตีติ.  นาปชฺชติ นิรุฑฺฒตฺตา[1].
        โจทนา  ท้วงว่า  ยทิ  ถ้าหากว่า    เอวํ อย่างนี้  = จกฺขุสทฺโท   คือ คำว่า จกฺขุ อสฺสาทนวาจโก กล่าวความหมายว่ายินดี สิยา พึงมี[2], สทฺทาทิอสฺสาทนํ ความยินดีต่อเสียงเป็นต้น  โสตาทีนมฺปิ แม้แห่งโสตะเป็นต้น อตฺถิ ก็มีอยู่   อิติอาทิวจนโต เพราะมีพระบาลีเป็นต้นว่า มาคนฺทิย มาคันทิยะ โสตํ โข โสตะนี่แล   สทฺทารามํ เป็นธรรมชาติมีเสียงเป็นที่ยินดี สทฺทรตํ ยินดีแล้วในเสียง สทฺทสมฺมุทิตํ เริงแล้วในเสียง  อิติ = ตสฺมา เพราะเหตุนั้น จกฺขุสทฺทาภิเธยฺยตา ความเป็นอรรถ (หรือธรรม) ที่ควรเรียกด้วยคำว่า จกฺขุ [3]  เตสํ โสตาทีนมฺปิ  แม้แห่งโสตะเป็นต้นเหล่านั้น อาปชฺชติ ย่อมควร อิติ ดังนี้ ?
          วิสชฺชนํ ตอบว่า จกฺขุสทฺทาภิเธยฺยตา ความเป็นอรรถที่ควรเรียกด้วยคำว่า จกฺขุ  โสตาทีนํ แม้แห่งโสตะเป็นต้น แม้เหล่านั้น น อาปชฺชติ ย่อมไม่ควร.    กสฺมา  เพราะเหตุไร ? จกฺขุสทฺทสฺส นิรุฑฺฒตฺตา [= ปสิทฺธตฺตา] เพราะคำว่า จกฺขุ เป็นคำศัพท์ที่มีใช้ จกฺขุปฺสาเท เอว เฉพาะในจักขุปสาทเท่านั้น.




[1]ถือเอาความหมายว่า ปสิทฺธ สำเร็จ, มี, ปรากฏหรือนิยมใช้ (มณิ). อนึ่ง ฉบับสีหลและฉัฏฐ-สังคายนา เป็น นิรุฬฺหตฺตา. แต่ฉบับของไทยปรากฏเช่นนี้.  รูปว่า นิรุฑฺฒ นี้ในโยชนาอธิบายว่า ท่านถือนัยจากภาษาสันสกฤต. พึงทราบวจนัตถะและการสำเร็จรูปดังนี้.  ศัพท์ที่ปรากฏขึ้น เรียกว่า นิรุฑฺฒ. ขยายความว่า จักขุศัพท์ ย่อมปรากฏ จกฺขุปฺปสาเท ในจักขุปสาท เพราะเหตุนั้น จักขุศัพท์นั้น ชื่อว่า นิรุฑฺฒ ศัพท์ที่ปรากฏใช้ในจักขุปสาท. รุห ธาตุ มี นิ เป็นบทหน้า มีอรรถว่าเกิดปรากฏขึ้น. ลง ต ปัจจัย แปลง ต เป็น ฒ. แปลง ห เป็น ฑ.
[2] อีกนัยหนึ่ง ยทิ = สเจ ถ้าว่า  จกฺขุ นาม ชื่อว่า จักษุ สิยา พึงมี รูปสฺสาทนโต เพราะเป็นสิ่งที่ยินดีในรูป เอวํ อย่างนี้แล้วไซร้. (มณิ.)
[3] อภิธาตพฺโพติ  อภิเธยฺโย.  อตฺโถ  จกฺขุสทฺเทน  อภิธาตพฺโพ  อิติ ตสฺมา  โส  อตฺโถ  อภิเธยฺโย. จกฺขุสทฺเทน  อภิเธยฺโย  จกฺขุ...เธยฺโย. จกฺขุสทฺทาภิเธยฺยสฺส  ภาโว  จกฺขุ...ยตา.  ที่เรียกว่า อภิเธยยะ ได้แก่ ความหมายหรือสิ่งที่ถูกกล่าวถึง.  ในที่นี้คือถูกจักขุ ศัพท์ กล่าวถึง. ความเป็นอรรถหรือเป็นสิ่งที่ถูกจักขุศัพท์กล่าวถึง เรียกว่า จกฺขุสทฺทาภิเธยฺยตา หมายถึง จักษุ นั่นเอง.  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น