อภิธัมมัตถสังคหะ
อเหตุกจิต
อุเปกฺขาสหคต จกฺขุวิฃฺฃาณํ,
ตถา
โสตวิฺาณ ฆานวิฺาณ ชิวฺหาวิฺาณ ทุกฺขสหคต
กายวิฺาณ อุเปกฺขาสหคต
สมฺปฏิจฺฉนฺน[1], ตถา สนฺตีรณฺเจติ อิมานิ
สตฺตปิ อกุสลวิปากจิตฺตานิ นาม.
อิมานิ
จิตฺตานิ จิตเหล่านี้ สตฺตปิ แม้ ๗ ดวง อิติ คือ
จกฺขุวิฃฺฃาณํ
จิตที่อาศัยจักขุปสาท อุเปกฺขาสหคตํ เกิดร่วมกับอุเบกขา-เวทนา [จ ดวงหนึ่ง], โสตวิฃฺฃาณํ
จิตที่อาศัยโสตปสาท [จ ดวงหนึ่ง], ฆานวิฃฺฃาณํ
จิตที่อาศัยฆานวิญญาณ [จ ดวงหนึ่ง], ชิวฺหาวิฃฺฃาณํ จิตที่อาศัยชิวหาปสาท [จ ดวงหนึ่ง] ตถา [อุเปกฺขาสหคตํ เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา] เช่นเดียวกัน
กายวิฃฺฃาณํ
จิตที่อาศัยกายปสาท ทุกฺขสหคตํ เกิดร่วมกับทุกขเวทนา [จ ดวงหนึ่ง]
สมฺปฏิจฺฉนฺนํ
สัมปฏิจฉันนจิต อุเปกฺขาสหคตํ เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา [จ ดวงหนึ่ง]
สนฺตีรณํ
จ และสันตีรณจิต อีกดวงหนึ่ง ตถา [อุเปกฺขาสหคตํ เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา] เช่นเดียวกัน
อกุสลวิปากจิตฺตํ นาม ชื่อว่า
จิต คือ อกุสลวิบาก.
[1] สี.
สมฺปฏิจฺฉนฺนจิตฺต ฯ
*******
อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา
อเหตุกจิตวัณณนา
๗๕. เอว มูลเภทโต ติวิธมฺปิ
อกุสล สมฺปโยคาทิเภทโต
ทฺวาทสวิธา วิภชิตฺวา อิทานิ อเหตุกจิตฺตานิ นิทฺทิสนฺโต
เตส อกุสลวิปากาทิวเสน ติวิธภาเวปิ
อกุสลานนฺตร อกุสลวิปาเกเยว
จกฺขฺวาทินิสฺสยสมฺปฏิจฺฉนฺนาทิกิจฺจเภเทน
สตฺตธา วิภชิตุ อุเปกฺขาสหคต จกฺขุวิฺาณนฺติอาทิมาห.
อาจริโย
ท่านอาจารย์ วิภชิตฺวา ครั้นจำแนก อกุสลํ ซึ่งอกุศล ติวิธมฺปิ
แม้ที่มี ๓ อย่าง มูลเภทโต โดยประเภทแห่งมูล ทฺวาทสวิธา เป็น ๑๒
อย่าง สมฺปโยคาทิเภทโต[1]
โดยประเภทสัมปโยคะเป็นต้น เอวํ
อย่างนี้แล้ว อิทานิ ต่อไปนี้ นิทฺทิสนฺโต เมื่อจะแสดงไข อเหตุกจิตฺตานิ
อเหตุกจิตทั้งหลาย[2]
เตสํ อเหตุกจิตฺตานํ ติวิธภาเวปิ[3] ถึงแม้ว่าอเหตุกจิตเหล่านั้นจะมี ๓ ประการ อกุสลวิปากาทิวเสน[4]
โดยเป็นอกุศลวิบากเป็นต้นก็ตาม อาห
ก็ได้กล่าว อุเปกฺขาสหคตํ จกฺขุวิญฺาณํ อิติอาทึ ซึ่งคำเริ่มต้นว่า
อุเปกฺขาสหคตํ จกฺขุวิญฺาณํ จักขุวิญญาณ สหรคตด้วยอุเบกขา ดังนี้[5].
วิภชิตุ◦ ก็เพื่อจำแนก อกุสลวิปาเก เอว เฉพาะอกุศลวิบาก อกุสลานนฺตรํ
ในลำดับต่อจากอกุศล สตฺตธา ไว้เป็น
๗ ประการ จกฺขฺวาทินิสฺสยสมฺปฏิจฺฉนฺนาทิ-กิจฺจเภเทน
ตามความต่างกัน[6]
แห่งที่อาศัย [7]
มีจักขุเป็นต้นและกิจมีสัมปฏิจฉันนกิจเป็นต้น.
[1] ตามนัยของโยชนา
สัมปโยคะในที่นี้ได้แก่ เวทนาและทิฏฐิสัมปโยคะ ฯ
นอกจากนี้ยังหมายถึงประเภทสังขารด้วย ฯ
[2]
อเหตุกจิต มีวิ.ว่า
นตฺถิ เอเตส เหตูติ
อเหตุกานิ, อเหตุกานิ เอว
จิตฺตานิ อเหตุกจิตฺตานิฯ เหตุ ย่อมไม่มีแก่ธรรมนี้ เหตุนั้น
ธรรมนี้ชื่อว่า อเหตุกะ, จิต คือ อเหตุกะ ชื่อว่า อเหตุกจิตฯ
[3] ข้อความนี้ในอัตถโยชนาแสดงไว้เป็นเชิงทักท้วงดังนี้ว่า
ท่านอาจารย์หมายถึงคำท้วงนี้ว่า ในธรรมสังคณีปกรณ์ ตรัสอเหตุกจิตไว้ ๓
ประเภทคือกุศลวิบาก อกุศลวิบากและอเหตุกกิริยาไว้ ตามลำดับมิใช่หรือ เพราะฉะนั้น
จึงน่าจะแสดงกุศลวิบากก่อน เพราะเหตุไร จึงไม่แสดงไว้อย่างนั้น
แต่แสดงอกุศลวิบากไว้ก่อน ดังนี้จึงได้กล่าวข้อความดังนี้ไว้.
[4] เป็นที่น่าสังเกตว่า
ปาฐะว่า กุสลวิปากาทิวเสน ดูเหมือนจะสมเหตุสมผลดีกว่า ดังที่โยชนาแสดงว่า กุสลวิปาโก อาทิ เยส
จิตฺตาน ตานิ กุสลวิปากาทีนิ. อาทิสทฺเทน
อกุสลวิปากกิริยาน คหณ. กุสลวิปากาทีน วโส กุส...วโส กุศลวิบากเป็นต้นแห่งจิตเหล่าใดจิตเหล่านั้น
เรียกว่า กุสลวิปากาทีนิ มีกุศลวิบากเป็นต้น. ด้วยอาทิศัพท์
ถือเอาอกุศลวิบากและอเหตุกกิริยาด้วย. ความเนื่องกันแห่งกุสลวิปากเป็นต้น ชื่อว่า
กุสลวิปากาทิวโส.
อย่างไรก็ตาม ปาฐะดังกล่าวก็ไม่มีฉบับใดที่ต่างกัน
คงเป็นอกุสลวิปากาทิวเสน เหมือนกัน
[5] ข้อความทั้งหมดนี้
สรุปใจความได้ดังนี้ ฯ
ครั้นท่านอาจารย์แสดงอกุศลจิต ๓ ประการโดยมูล ๓ กล่าวคือ โลภมูล
โทสมูลและโมหมูลเป็น ๑๒ ตามจิตที่ต่างกันโดยสัมปโยคะคือทิฏฐิเวทนาและสังขารไปแล้ว
ลำดับต่อจากนี้จะแสดงอเหตุกจิต จิตที่ไม่มีเหตุ และแม้อเหตุกจิตเหล่านั้น
ตามที่ทรงแสดงไว้ในธัมมสังคณีจะมี ๓ ประเภทตามลำดับดังนี้ คือ อเหตุกกุศลวิบาก
อกุศลวิบากและอเหตุกิริยา ก็ตาม ท่านอาจารย์ก็ไม่แสดงตามนั้น
กลับแสดงอกุศลวิบากไว้ในลำดับแห่งอกุศลก่อนอเหตุกจิตพวกอื่นทีเดียว โดยจำแนกเป็น ๗
ดวงตามที่จิตเหล่านี้ต่างกันโดยนิสสยะ (วัตถุ) และกิจมีสัมปฏิจฉนกิจเป็นต้นว่า
อุเปกฺขาสหคตํ จกฺขุวิญฺญาณํ ไว้ฯ
[6] การแสดงอเหตุกจิตนี้
เป็นการแสดงตามความต่างกันโดยนิสสยะและกิจเป็นต้นฯ เภท ศัพท์ในที่นี้ มณิ.
แนะให้แปลว่า นานตฺต ความต่างกัน หมายความว่า
อเหตุกจิตเหล่านี้มีความต่างกันในที่อาศัยเกิดและกิจฯ
[7] ที่อาศัยในที่นี้
มาจาก นิสฺสย แปลว่า ที่เป็นที่อาศัยแห่งจิตและเจตสิก (กัมมสาธนะ) วิ. นิสฺสยนฺติ
ตานีติ นิสฺสยานิ. จิตฺตเจตสิกา
ตานิ จกฺขาทีนิ นิสฺสยนฺติ อิติ ตสฺมา ตานิ
จกฺขาทีนิ นิสฺสยานิ. จกฺขฺวาทีนิ
จ ตานิ นิสฺสยานิ จาติ จกฺขฺวาทินิสฺสยานิ ฯ จิตและเจตสิกย่อมอาศัย จักษุเป็นต้น
เพราะเหตุนั้น จิตและเจตสิกเหล่านั้น ชื่อว่า นิสสยะฯ จักขุเป็นต้นด้วย
จักขุเป็นต้นนั้นเป็นที่อาศัยด้วย ชื่อว่า จกฺขวาทินิสฺสยฯ
*****
ยังมีต่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น