อภิธมฺมตฺถสงฺคห
๑.
จิตฺตปริจฺเฉโท ปริจเฉทที่ ๑ จิตปริจเฉท
ภูมิเภทจิตฺตํ จำแนกจิตโดยประเภทแห่งภูมิ
ตตฺถ จตุปรมตฺถธมฺเมสุ
ในปรมัตถธรรม ๔ นั้น จิตฺตํ จิต โหติ ย่อมมี จตุพฺพิธํ =
จตุปฺปการํ มี ๔ พวกโดยความเหมือนกัน อิติ คือ กามาวจรํ
กามาวจรจิต จิตที่ชื่อว่า กามาวจร รูปาวจรํ จิตที่ชื่อว่า รูปาวจร, อรูปาวจรํ จิตที่ชื่อว่า อรูปาวจร, โลกุตฺตรํ
จ และจิตที่ชื่อว่า โลกุตระ.
****
อธิธมฺมตฺถวิภาวินี
๑. จิตฺตปริจฺเฉทวณฺณนา
พรรณณาความในปริจเฉทที่ ๑ ว่าด้วยจิต
ภูมิเภทจิตฺตวณฺณนา พรรณาจิตโดยประเภทแห่งภูมิ
๓. อิทานิ ยสฺมา วิภาควนฺตานํ ธมฺมานํ สภาววิภาวนํ วิภาเคน วินา น โหติ,
ตสฺมา ยถาอุทฺทิฏฺฐานํ อภิธมฺมตฺถานํ อุทฺเทสกฺกเมน วิภาคํ ทสฺเสตุํ
จิตฺตํ ตาว ภูมิชาติสมฺปโยคาทิวเสน วิภชิตฺวา
นิทฺทิสิตุมารภนฺโต อาห ‘‘ตตฺถ จิตฺตํ ตาวา’’ตฺยาทิฯ ตาวสทฺโท ปฐมนฺติ เอตสฺสตฺเถฯ ยถาอุทฺทิฏฺเฐสุ จตูสุ
อภิธมฺมตฺเถสุ ปฐมํ จิตฺตํ นิทฺทิสียตีติ อยญฺเหตฺถตฺโถฯ
สภาววิภาวนํ
การแสดงสภาวะ ธมฺมานํ แห่งธรรมทั้งหลาย วิภาควนฺตานํ ที่มีการจำแนก วินา
เว้น วิภาเคน จากการจำแนก น โหติ จะมีไม่ได้ ยสฺมา เหตุใด ตสฺมา
เพราะเหตุนั้น อิทานิ บัดนี้ อาจริโย พระอนุรุทธาจารย์ อารภนฺโต เมื่อปรารภ นิทฺทิสิตุํ
เพื่อแสดง วิภชิตฺวา จำแนก จิตฺตํ
ซึ่งจิต ภูมิชาติสมฺปโยคาทิวเสน โดยเนื่องด้วยภูมิ[๑]
ชาติ[๒]
และสัมปโยคะ[๓]เป็นต้น[๔]
ตาว ไว้เป็นลำดับแรก อาห จึงกล่าว อิติ ว่า ตตฺถ จิตฺตํ
ตาว บรรดาปรมัตถธรรม ๔ เหล่านั้น ข้าพเจ้าจะแสดงจิตเป็นลำดับแรก
ดังนี้เป็นต้นไว้ ทสฺเสตุํ เพื่อแสดง วิภาคํ การจำแนก อภิธมฺมตฺถานํ
อรรถพระอภิธรรม ยถาอุทฺทิฏฺฐานํ ตามที่ได้ตั้งเป็นอุทเสไว้ อุทฺเทสกฺกเมน
โดยลำดับแห่งอุทเทส.
ตาวสทฺโท
ตาวศัพท์ วตฺตติ ย่อมเป็นไป อตฺเถ ในความหมาย ปฐมํ อิติ เอตสฺส
ปทสฺส แห่งบทนี้ว่า ปฐมํ (ก่อน) ดังนี้. หิ ก็ อตฺโถ ความหมาย เอตฺถ
ในอุทเทสนั้น อยํ นี้ อิติ ว่า จตูสุ อภิธมฺมตฺเถสุ
ในบรรดาอรรถพระอภิธรรม ๔ ประการ ยถาอุทฺทิฏฺเฐสุ
ตามที่ข้าพเจ้าได้อุทเทสไว้ จิตฺตํ
จิต มยา อันเข้าพเจ้า นิทฺทิสิยติ จะแสดง ปฐมํ ก่อน ดังนี้.[๕]
จตฺตาโร
วิธา ปการา อสฺสาติ จตุพฺพิธํฯ ยสฺมา ปเนเต จตุภุมฺมกา ธมฺมา อนุปุพฺพปณีตา, ตสฺมา หีนุกฺกฏฺฐุกฺกฏฺฐตรตมานุกฺกเมน เตสํ นิทฺเทโส กโตฯ
วิธา =
ปการา ประการ
จตฺตาโร ๔ อสฺส จิตฺตสฺส ของจิตนี้ อตฺถิ มีอยู่ อิติ
เพราะเหตุนั้น จิตฺตํ จิตนี้ จตุพฺพิธํ ชื่อว่า มี ๔ ประการ (จตุพฺพิธํ).[๖]
ปน ก็ ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย จตุภูมิกา อันเป็นไปในภูมิ ๔ เอเต
เหล่านี้ อนุปุพฺพปณีตา มีความประณีตโดยลำดับ, ตสฺมา เพราะเหตุนั้น นิทฺเทโส
การจำแนก เตสํ ธมฺมานํ แห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้น อาจริเยน อันพระอนุรุทธาจารย์
กโต กระทำแล้ว หีนุกฺกฏฺฐอุกฺกฏฺฐตรอุกฺกฏฺฐตมานุกฺกเมน
โดยลำดับแห่งจิตชั้นต่ำ ชั้นสูง ชั้นสูงขึ้นมาอีก และชั้นสูงสุด.
ตตฺถ
ตตฺถ
กามาวจรํ อิติ ปเท ในบทว่า กามาวจรํ ดังนี้ วิคฺคโห วิเคราะห์ ปณฺฑิเตน
อันบัณฑิต กาตพฺโพ พึงกระทำ.[๗]
กาเมตีติ
กาโม,
กามตณฺหา, สา เอตฺถ อวจรติ อารมฺมณกรณวเสนาติ กามาวจรํฯ
โย
ธมฺโม ธรรมใด กาเมติ ย่อมใคร่ อิติ
เพราะเหตุนั้น โส ธมฺโม ธรรมนั้น กาโม ชื่อว่า กาม, โส กาโม
กามนั้น กามตณฺหา คือ กามตัณหา. สา กามตณฺหา กามตัณหานั้น อวจรติ
ย่อมเที่ยวไป เอตฺถ จตุปญฺญาส ในจิต ๕๔ ดวงนี้ อารมฺมณกรณวเสน เนื่องด้วยการทำให้เป็นอารมณ์
อิติ เพราะเหตุนั้น จตุปญฺญาส จิต ๕๔ ดวงนี้ กามาวจรํ
ชื่อว่า กามาวจร เป็นที่เที่ยวไปแห่งกามตัณหา.[๘]
กามียตีติ
วา กาโม,
เอกาทสวิโธ กามภโว, ตสฺมิํ เยภุยฺเยน อวจรตีติ
กามาวจรํฯ
วา
อีกอย่างหนึ่ง โย ภามภโว กามภพ ใด กามตณฺหาย
อันกามตัณหา กามิยติ = ปฏฺฐิยติ ย่อมปรารถนา อิติ ตสฺมา เพราะเหตุนั้น โส กามภโว กามภพนั้น
กาโม ชื่อว่า กามฯ กามภโว คือ กามภพ เอกาทสวิโธ ๑๑ แห่ง, ยํ จิตฺตํ
จิตใด อวจรติ = ปวตฺตติ ย่อมเป็นไป ตสฺมิํ
ในกามภพนั้น เยภุยฺเยน โดยส่วนมาก อิติ เพราะเหตุนั้น ตํ จิตฺตํ จิตนั้น
กามาวจรํ ชื่อว่า กามาวจร. [๙]
เยภุยฺเยน
จรณสฺส หิ อธิปฺเปตตฺตา รูปารูปภเวสุ ปวตฺตสฺสาปิ อิมสฺส กามาวจรภาโว อุปปนฺโน
โหติฯ
หิ = สจฺจํ
จริงอยู่ กามาวจรภาโว = กามาวจรสญฺญา
ความเป็นคือชื่อว่า กามาวจร อิมสฺส จิตฺตสฺส แห่งกามาวจรจิต ๕๔ ดวงนี้ ปวตฺตสฺสาปิ
แม้เป็นไปแล้ว รูปารูปภเว ในรูปภพและอรูปภพ อุปฺปนฺโน = ยุตฺโต เหมาะสมแล้ว โหติ ย่อมเป็น อธิปฺเปตตฺตา
เพราะความที่ – จรณสฺส แห่งการเที่ยวไป เยภุยฺเยน โดยมาก -
อันอาจารย์ประสงค์เอาแล้วฯ[๑๐]
กามภโวเยว
วา กาโม, เอตฺถ อวจรตีติ กามาวจโร, ตตฺถ ปวตฺตมฺปิ จิตฺตํ
นิสฺสิเต นิสฺสยโวหาเรน กามาวจรํ
‘‘มญฺจา อุกฺกุฏฺฐิํ กโรนฺตี’’ตฺยาทีสุ วิยาติ
อลมติวิสารณิยา กถายฯ
วา
อีกอย่างหนึ่ง กามภโว เอว กามภพ นั่นแหละ กาโม ชื่อว่า กามฯ กาโม
=
กามตณฺหา กามตัณหา อวจรติ = ปวตฺตติ ย่อมเป็นไป เอตฺถ กามภเว ในกามภพ
(เอกาทสวิเธ) มี ๑๑ ประการ นี้ อิติ เหตุนั้น โส ภโว ภพนั้น กามาวจโร
ชื่อว่า กามาวจรฯ[๑๑]
จิตฺตํ จิต ปวตฺตํ อปิ แม้ที่เป็นไป ตตฺถ ในกามาวจรนั้น กามาวจรํ
ชื่อว่า กามาวจร นิสฺสยโวหาเรน เพราะใช้ชื่อโดยที่อาศัย วิย เหมือน ปโยเคสุ
ในตัวอย่างว่า มญฺจา เตียง กโรติ ย่อมกระทำ อุกฺกฏฺฐิํ ซึ่งการโห่ร้อง
อิติอาทีสุ ดังนี้เป็นต้น[๑๒].
อลํ =
อยุตฺตํ ไม่ควรแล้ว กถาย ด้วยคำ อติวิสารณิยา
ที่ข้าพเจ้าจะพึงขยายจนเกินไป.[๑๓]
โหติ
เจตฺถ –
จ อนึ่ง เอตฺถ
กามาวจรสทฺทตฺถวณฺณนาธิกาเร ในอธิการว่าด้วยการพรรณาความหมายแห่งกามาวจรศัพท์ สงฺคโห
การย่อ (ยถาวุตฺตถสฺส) ความดังที่ได้กล่าวมาแล้ว (อิติ เอวํ)
อย่างนี้ว่า (กามตีติ กาโม) ธรรมที่ใคร่ ชื่อ กาม โหติ ย่อมมี
ดังนี้เป็นต้น อิติ ว่า
กาโมวจรตีตฺเยตฺถ, กาเมวจรตีติ วา;
ฐานูปจารโต
วาปิ,
ตํ
กามาวจรํ ภเว’’ติฯ
กาโม
กาม อวจรติ ย่อมเที่ยวไป เอตฺถ จิตฺเต ในจิตนี้ อิติ
เหตุนั้น ตํ จิตฺตํ จิตนั้น ภเว พึงเป็นกามาวจรํ กามาวจร, วา
อีกอย่างหนึ่ง ยํ จิตฺตํ จิตใด อวจรติ เที่ยวไป กาเม ในกาม อิติ
เหตุนั้น ตํ จิตฺตํ จิตนั้น ภเว พึงเป็น กามาวจรํ กามาวจร,
จิตฺตํ จิต ภเว เป็นจิต กามาวจรํ นาม ชื่อว่า กามาวจร ฐานูปจารโต อปิ แม้โดยฐานูปจาระ[๑๔]
ดังนี้
รูปารูปาวจเรสุปิ
เอเสว นโย ยถารหํ ทฏฺฐพฺโพฯ
รูปาวจราวจเรสุ
อปิ ถึงในรูปาวจรจิตและอรูปาจวรจิต
นโย นัยแห่งการพรรณนาเนื้อความ เอโส เอว นี้เหมือนกัน ทฏฺฐพฺโพ
อันบัณฑิตพึงทราบ ยถารหํ ตามสมควร (รูปาวจรารูปาวจรจิตฺตานํ)
แก่รูปาวจรจิตและอรูปาวจรจิต.
อุปาทานกฺขนฺธสงฺขาตโลกโต
อุตฺตรติ อนาสวภาเวนาติ โลกุตฺตรํ, มคฺคจิตฺตํฯ
ผลจิตฺตํ ปน ตโต อุตฺติณฺณนฺติ โลกุตฺตรํฯ อุภยมฺปิ วา สห นิพฺพาเนน โลกโต
อุตฺตรํ อธิกํ ยถาวุตฺตคุณวเสเนวาติ โลกุตฺตรํฯ
ยํ
จิตฺตํ จิตใด อุตฺตรติ ย่อมข้ามขึ้น อุปาทานกฺขนฺธสงฺขาตโลกโต
จากโลกกล่าวคืออุปาทานักขันธ์ อนาสวภาเวน โดยความไม่มีอาสวะ[๑๕]
อิติ เพราะเหตุนั้น ตํ จิตฺตํ จิตนั้น โลกุตฺตรํ ชื่อว่า โลกุตระ,
มคฺคจิตฺตํ คือ มรรคจิต (จิตอันสัมปยุตด้วยมรรค). ปน ส่วน ผลจิตฺตํ
ผลจิต (จิตอันสัมปยุตด้วยผล) อุตฺติณฺณํ ข้ามขึ้นแล้ว ตโต
จากโลกคืออุปาทานักขันธ์นั้น อิติ เพราะเหตุนั้น ผลจิตฺตํ ผลจิตนั้น
โลกุตฺตรํ ชื่อว่า โลกุตระ. วา อีกนัยหนึ่ง อุภยมฺปิ
แม้มัคคจิตและผลจิตทั้งสอง สห พร้อม นิพฺพาเนน ด้วยพระนิพพาน อุตฺตรํ
เป็นธรรมชาติที่เหนือ อธิกํ = วิสิฏฐตรํ คือ
พิเศษยิ่ง โลกโต กว่าโลก ยถาวุตฺตคุณวเสน เอว
ด้วยคุณตามที่ได้กล่าวมาแล้ว [๑๖]อิติ
เพราะเหตุนั้น มคฺคผลนิพฺพานํ มัคคจิต ผลจิต และพระนิพพาน โลกุตฺตรํ
ชื่อว่า โลกุตระ.
ภูมิเภทจิตฺตวณฺณนา
นิฏฺฐิตาฯ
คำอธิบายจิตโดยประเภทแห่งภูมิ
๔ จบ
อภิธมฺมตฺถสงฺคโห
อกุสลจิตฺตํอกุศลจิต
(โลภมูลจิต ๘ ดวง)
๔. ตตฺถ กตมํ กามาวจรํ?
๔. ตตฺถ
ในจิตมี ๔ อย่างเหล่านั้น กามาวจรํ จิตที่ชื่อ กามาวจร กตมํ
เหล่าใด?
โสมนสฺสสหคตํ
ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกเมกํ, สสงฺขาริกเมกํ,
อุเปกฺขาสหคตํ
ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกเมกํ, สสงฺขาริกเมกํ,
อุเปกฺขาสหคตํ
ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกเมกํ, สสงฺขาริกเมกนฺติ อิมานิ
อฏฺฐปิ โลภสหคตจิตฺตานิ นามฯ
อิมานิ
จิตฺตานิ
จิตทั้งหลายเหล่านี้ อฏฺฐปิ แม้ ๘ ดวง โลภสหคตจิตฺตานิ นาม ชื่อ
โลภสหคตจิต จิตที่เกิดร่วมกับโลภะ อิติ คือ
จิตฺตํ จิต โสมนสฺสสหคตํ
ที่เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ ประกอบด้วยทิฏฐิ อสงฺขาริกํ
ไม่มีสังขาร โหติ ย่อมมี เอกํ หนึ่งดวง, จิตฺตํ จิต สสงฺขาริกํ
ที่มีสังขาร โหติ ย่อมมี เอกํ หนึ่งดวง.
จิตฺตํ จิต โสมนสฺสสหคตํ
ที่เกิดร่วมกันโสมนัสเวทนา ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ อสงฺขาริกํ
ไม่มีสังขาร โหติ ย่อมมี เอกํ หนึ่งดวง, จิตฺตํ จิต สสงฺขาริกํ
ที่ไม่มีสังขาร โหติ ย่อมมี เอกํ หนึ่งดวง.
จิตฺตํ จิต อุเปกฺขาสหคตํ
ที่เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ ประกอบด้วยทิฏฐิ อสงฺขาริกํ
ไม่มีสังขาร โหติ ย่อมมี เอกํ หนึ่งดวง, จิตฺตํ จิต สสงฺขาริกํ
ที่ไม่มีสังขารโหติ ย่อมมี เอกํ
หนึ่งดวง.
อภิธมฺมตฺถวิภาวินี
อกุสลจิตฺตวณฺณนา
อธิบายอกุศลจิต
๔. อิเมสุ ปน จตูสุ จิตฺเตสุ กามาวจรจิตฺตสฺส กุสลากุสลวิปากกิริยเภเทน
จตุพฺพิธภาเวปิ ปาปาเหตุกวชฺชานํ เอกูนสฏฺฐิยา, เอกนวุติยา
วา จิตฺตานํ โสภนนาเมน โวหารกรณตฺถํ ‘‘ปาปาเหตุกมุตฺตานิ
‘โสภนานี’ติ วุจฺจเร’’ติ เอวํ วกฺขมานนยสฺส อนุรูปโต ปาปาเหตุเกเยว ปฐมํ ทสฺเสนฺโต, เตสุ จ ภเวสุ คหิตปฏิสนฺธิกสฺส สตฺตสฺส อาทิโต วีถิจิตฺตวเสน
โลภสหคตจิตฺตุปฺปาทานเมว สมฺภวโต เตเยว ปฐมํ ทสฺเสตฺวา ตทนนฺตรํ ทฺวิเหตุกภาวสามญฺเญน
โทมนสฺสสหคเต, ตทนนฺตรํ เอกเหตุเก จ ทสฺเสตุํ ‘‘โสมนสฺสสหคต’’นฺตฺยาทินา โลภมูลํ
ตาว เวทนาทิฏฺฐิสงฺขารเภเทน อฏฺฐธา วิภชิตฺวา ทสฺเสติฯ
๔. ปน อนึ่ง อิเมสุ จตูสุ จิตฺเตสุ ในจิต ๔
ภูมิเหล่านี้ จตุพฺพิธภาเวปิ แม้เมื่อ - กามาวจรจิตฺตสฺส กามาวจรจิต
- มี ๔ พวก กุสลากุสลวิปากกิริยเภเทน โดยประเภทกุศล อกุศล วิบากและกิริยา
สติ มีอยู่ก็จริง อาจริโย แต่พระอนุรุทธาจารย์ ทสฺเสนฺโต เมื่อแสดง ปาปาเหตุเก
ปาปจิต (อกุศลจิต) และ อเหตุกจิต ปฐมํ เอว ก่อนนั่นเทียว อนุรูปโต โดยสมควร
วกฺขมานนยสฺส แห่งนัยที่จะกล่าว เอวํ อย่างนี้ อิติ
ว่า ปาปาเหตุกมุตฺตานิ โสภานานีติ วุจฺจเร ข้าพเจ้าจะเรียกจิตที่พ้นจากปาปจิตและอเหตุกจิตว่า
โสภณจิต ดังนี้ โวหารกรณตฺถํ
เพื่อตั้งชื่อ จิตฺตานํ จิตท. เอกูนสฏฺฐิยา ๕๙ ดวง, วา หรือ เอกนวุติยา
๙๑ ดวง [๑๗]ปาปาเหตุกวชฺชานํ
ที่เว้นจากปาปจิตและอเหตุกจิต โสภนนาเมน โดยชื่อว่า โสภณจิต, จ
อนึ่ง ทสฺเสตุํ เพื่อ - ทสฺเสตฺวา แสดง เต โลภสหคตจิตฺตุปฺปาเท ซึ่งธรรมอันเกิดร่วมกันโลภสหคตจิตเหล่านั้น
นั่นเอง ปฐมํ ก่อน สมฺภวโต เพราะ - โลภสหคตจิตฺตุปฺปาทานํ ธรรมที่เกิดขึ้นร่วมกับโลภสหคตจิต
เอว นั่นเอง- เกิดขึ้น คหิตปฏิสนฺธิกสฺส สตฺตสฺส
แก่สัตว์ผู้มีปฏิสนธิอันถือเอาแล้ว ภเวสุ ในภพท. วีถิจิตฺตวเสน
โดยเนื่องด้วยวิถีจิต อาทิโต จำเดิมแต่ต้น[๑๘],
ตทนนฺตรํ ต่อจากโลภสหคตจิตนั้น ทสฺเสตฺวา จึงแสดง โทมนสฺสสหคเต
จิตที่เกิดร่วมกับโทมนัสเวทนา ทฺวิเหตุกภาวสามญฺเญน
โดยความเหมือนกันคือความมีเหตุ ๒, - แล้วแสดง เอกเหตุเก จิตที่มีเหตุเดียว[๑๙]
ตทนนฺตรํ ต่อจากจิตที่เกิดร่วมกับโทมนัสเวทนานั้น ทสฺเสติ จึงแสดง เตสุ
ในบรรดาปาปจิตเหล่านั้น โลภมูลํ ซึ่งจิตมีโลภะเป็นมูล ตาว เป็นลำดับแรก
วิภชิตฺวา โดยจำแนก อฏฺฐธา เป็น ๘ ประการ เวทนาทิฏฺฐิสงฺขารเภเทน โดยประเภทเวทนา
ประเภททิฏฐิ และประเภทสังขาร โสมนสฺสสหคตํ อิติอาทิ โดยนัยว่า จิตที่เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา
ดังนี้เป็นต้นไว้.[๒๐]
อธิบายคำว่า
โสมนสฺสสหคต จิตที่เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา
ตตฺถ
สุนฺทรํ มโน,
ตํ วา เอตสฺส อตฺถีติ สุมโน, จิตฺตํ, ตํสมงฺคิปุคฺคโล วา,
อตฺโถ
ความหมาย ตตฺถ =
ตสฺมิํ โสมนสฺสสหคตนฺติอาทิวจเน ในคำว่า
โสมนัสสหคต เป็นต้น ปณฺฑิเตน อันบัณฑิต เอวํ เวทิตพฺโพ
พึงทราบอย่างนี้.
มโน ใจ สุนฺทรํ
ดี สุมโน ชื่อว่า สุมนะ ใจดี, จิตฺตํ คือ จิต. วา
อีกอย่างหนึ่ง ตํ มโน ใจ สุนฺทรํ ที่ดีนั้น เอตสฺส
ของบุคคลนั้น อตฺถิ มีอยู่ อิติ เพราะเหตุนั้น โส บุคคลนั้น สุมโน[๒๑]
ชื่อว่า สุมนะ ตํสมงฺคิปุคฺคโล คือ บุคคลผู้กอปรด้วยใจที่ดีนั้น.
ตสฺส
ภาโว ตสฺมิํ อภิธานพุทฺธีนํ ปวตฺติเหตุตายาติ โสมนสฺสํ, มานสิกสุขเวทนาเยตํ อธิวจนํ, เตน สหคตํ เอกุปฺปาทาทิวเสน
สํสฏฺฐํ, เตน สห เอกุปฺปาทาทิภาวํ คตนฺติ วา โสมนสฺสสหคตํฯ
ภาโว ความเป็น
ตสฺส สุมนสฺส ของสุมนะนั้น ปวตฺติเหตุตาย
โดยความเป็นเหตุแห่งความเป็นไป อภิธานพุทฺธีนํ แห่งชื่อและความรู้ ตสฺมิํ
ในคำว่า สุมนะ นั้น อิติ คือ โสมนสฺสํ ชื่อว่า โสมนัส[๒๒].
เอตํ โสมนสฺสวจนํ คำว่า โสมนัสนี้ อธิวจนํ เป็นชื่อ มานสิกสุขเวทนาย
ของสุขเวทนาอันเป็นไปในใจ. จิตฺตํ จิต สหคตํ = สํสฏฺฐํ อันระคนแล้ว เอกุปฺปาทาทิวเสน
โดยเกี่ยวกับกิจมีการเกิดขึ้นร่วมกันเป็นต้น เตน ด้วยโสมนัสนั้น อิติ
เพราะเหตุนั้น ตํ จิตฺตํ จิตนั้น โสมนสฺสสหคตํ โสมนัสสหคตจิต (จิตอันระคนแล้วกับโสมนัส),
วา อีกอย่างหนึ่ง จิตฺตํ จิต คตํ อันถึงแล้ว เอกุปฺปาทาทิภาวํ
ซึ่งความมีลักษณะคือการเกิดขึ้นร่วมกันเป็นต้น สห ร่วมกัน เตน กับโสมนัสนั้น
อิติ เพราะเหตุนั้น ตํ จิตฺตํ จิตนั้น โสมนสฺสสหคตํ โสมนัสสหคตจิต
(จิตที่ถึงความมีลักษณะคือการเกิดขึ้นร่วมกันเป็นต้นกับโสมนัส).[๒๓]
อธิบายคำว่า
ทิฏฐิคตสัมปยุต
มิจฺฉา
ปสฺสตีติ ทิฏฺฐิฯ สามญฺญวจนสฺสปิ หิ อตฺถปฺปกรณาทินา วิเสสวิสยตา โหตีติ อิธ
มิจฺฉาทสฺสนเมว
‘‘ทิฏฺฐี’’ติ วุจฺจติฯ
ยา ธมฺมชาติ
ธรรมชาติใด ปสฺสติ ย่อมเห็น มิจฺฉา ผิด อิติ เพราะเหตุนั้น สา ธมฺมชาติ
ธรรมชาตินั้น ทิฏฺฐิ ชื่อว่า ทิฏฐิ ความเห็นผิด. หิ = สจฺจํ จริงว่า วิเสสวิสยตา =
วิเสสวิสยภาโว ความเป็นธรรมชาติมีวิสัยแปลกกัน[๒๔]
อตฺถปฺปกรณาทินา โดยเหตุมีเนื้อความและปกรณ์[๒๕] เป็นต้น สามญฺญวจนสฺสาปิ แห่งศัพท์อย่างเดียวกัน
โหติ ย่อมมี อิติ เพราะเหตุนั้น มิจฺฉาทสฺสนํ เอว
ความเห็นผิดเท่านั้น อาจริเยน อันอาจารย์ วุจฺจติ ย่อมเรียกว่า ทิฏฺฐิ
อิติ ว่า ทิฏฺฐิ ดังนี้ อิธ = อิมสฺมึ อกุสลาธิกาเร
ในอธิการแห่งอกุศลนี้.[๒๖]
ทิฏฺฐิเยว
ทิฏฺฐิคตํ ‘‘สงฺขารคตํ ถามคต’’นฺตฺยาทีสุ วิย คต-สทฺทสฺส
ตพฺภาววุตฺติตฺตาฯ
ทิฏฺฐิ ความเห็นผิด
เอว นั่นเอง (อาจริเยน) อันพระอนุรุทธาจารย์ วุจฺจติ
เรียกว่า ทิฏฺฐิคตํ ทิฏฐิคตะ[๒๗], ตพฺพภาววุตฺติตฺตา เพราะ – คตสทฺทสฺส
คตศัพท์ – เป็นไปในความหมายของศัพท์ที่ตนประกอบ คือ ทิฏฺฐิ ศัพท์ วิย
เหมือน สงฺขารคตํ ถามคตนฺตฺยาทีสุ ในประโยคตัวอย่าง อิติ ว่า
สงฺขารคต สังขาร, ถามคต เรี่ยวแรง ดังนี้เป็นต้น.
ทฺวาสฏฺฐิยา
วา ทิฏฺฐีสุ คตํ อนฺโตคตํ, ทิฏฺฐิยา วา คมนมตฺตํ น เอตฺถ
คนฺตพฺโพ อตฺตาทิโก โกจิ อตฺถีติ ทิฏฺฐิคตํ, ‘‘อิทเมว สจฺจํ
โมฆมญฺญ’’นฺติ ปวตฺโต อตฺตตฺตนิยาทิอภินิเวโส,
วา
อีกอย่างหนึ่ง คตํ = อนฺโตคตํ
ธรรมชาติ อันนับเนื่อง ทิฏฺฐีสุ ในความเห็นผิดทั้งหลาย ทฺวาสฏฺฐิยา ๖๒, วา อีกอย่างหนึ่ง คมนมตฺตํ เพียงการเป็นไป ทิฏฺฐิยา
แห่งทิฏฐิ (ด้วยเหตุนั้น) โกจิ (ธมฺโม) ธรรมไรๆ อตฺตาทิโก มีอัตตาเป็นต้น ปุคฺคเลน
อันบุคคล คนฺตพฺโพ = พุชฺฌิตพฺโพ พึงรู้ เอตฺถ ทิฏฺฐิยํ ในความเห็นผิดนี้ น อตฺถิ ย่อมไม่มี
อิติ เพราะเหตุนั้น สา ความเห็นผิดนั้น ชื่อว่า ทิฏฺฐิคตํ
ทิฏฐิคตะ.[๒๘] อตฺตตฺตนิยาทิอภินิเวโส ได้แก่ การถือเอาผิดโดยความป็นอัตตาและเป็นสิ่งที่มีอยู่ในอัตตาเป็นต้น
ปวตฺโต อันเป็นไปแล้ว อิติ ว่า อิทํ เอว สจฺจํ, สิ่งนี้เท่านั้น
จริง, อญฺญํ สิ่งอื่น โมฆํ
สูญเปล่าไม่มีจริง.[๒๙]
เตน สมํ
เอกุปฺปาทาทีหิ ปกาเรหิ ยุตฺตนฺติ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํฯ
จิตฺตํ จิต ยุตฺตํ
อันประกอบแล้ว ปกาเรหิ โดยประการทั้งหลาย[๓๐]
เอกุปฺปาทาทีหิ มีการเกิดขึ้นร่วมกันเป็นต้น สมํ เหมือนกัน เตน
กับทิฏฐิคตะนั้น อิติ เพราะเหตุนั้น จิตฺตํ จิตนั้น ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ
ชื่อว่า ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต (จิตอันประกอบอย่างเหมือนกันกับทิฏฐิ)
อธิบายคำว่า
อสังขาริก และ สสังขาริก.
สงฺขโรติ
จิตฺตํ ติกฺขภาวสงฺขาตมณฺฑนวิเสเสน สชฺเชติ, สงฺขรียติ วา ตํ
เอเตน ยถาวุตฺตนเยน สชฺชียตีติ สงฺขาโร,
โย
ปุพฺพโยโค
ปุพพปโยค (ความพยายามก่อนหน้า)ใด สงฺขโรติ =
สชฺเชติ ย่อมจัดแจง จิตฺตํ = ปจฺฉิม-จิตฺตํ ซึ่งจิตดวงหลัง ติกฺขภาวสงฺขาตมณฺฑนวิเสเสน
โดยเป็นเครื่องปรุงแต่งพิเศษคือความแกล้วกล้า, วา หรือ ตํ จิตฺตํ = ปจฺฉิมจิตฺตํ จิตดวงหลังนั้น เอเตน ปุพฺพปโยเคน
อันปุพพปโยคนั้น สงฺขรียติ = สชฺชียติ
ย่อมปรุงแต่ง ยถาวุตฺตนเยน โดยนัยดังที่กล่าวมา อิติ เพราะเหตุนั้น โส
ปุพฺพปโยโค ปุพพปโยคนั้น สงฺขาโร ชื่อว่า สังขาร.
ตตฺถ
ตตฺถ กิจฺเจ สํสีทมานสฺส จิตฺตสฺส อนุพลปฺปทานวเสน อตฺตโน วา ปเรสํ วา
ปวตฺตปุพฺพปฺปโยโค,
โส ปน อตฺตโน ปุพฺพภาคปฺปวตฺเต จิตฺตสนฺตาเน เจว ปรสนฺตาเน จ
ปวตฺตตีติ ตนฺนิพฺพตฺติโต จิตฺตสฺส ติกฺขภาวสงฺขาโต วิเสโสวิธ สงฺขาโร,
ปวตฺตปุพฺพปโยโค ได้แก่
ความเพียรก่อนหน้า - อตฺตโน วา ของตน ปเรสํ วา หรือของผู้อื่น - อันเป็นไป
อนุพลปฺปทานวเสน โดยเกี่ยวกับการเพิ่มกำลัง[๓๑]
จิตฺตสฺส แก่จิต สํสีทมานสฺสที่ท้อแท้อยู่[๓๒]ตตฺถ
ตตฺถ กิจฺเจในกิจ นั้นๆ[๓๓],
ปนก็ โส ปุพพปโยค นั้น ปวตฺตติ ย่อมเป็นไป จิตฺตสนฺตาเน
ในจิตฺตสันดาน ปุพฺพภาคปฺปวตฺเต เจว อันเป็นไปในส่วนเบื้องต้น อตฺตโน
ของตน, ปรสนฺตาเน จ และในสันดานของผู้อื่น[๓๔]
อิติ เหตุนั้น วิเสโส ความพิเศษ ติกฺขภาวสงฺขาโต
กล่าวคือความแกล้วกล้า จิตฺตสฺส ของจิต ตนนิพฺพตฺติโต
อันบุพพปโยคนั้นให้เกิดแล้ว สงฺขาโร ชื่อว่า สังขาร อิธ ในคำว่า
อสงฺขาริก และสสงฺขาริก นี้.
โส
สงฺขาโร
สังขารนั้น ยสฺส จิตฺตสฺส ของจิตใด นตฺถิ ย่อมไม่มี อิติ
เพราะเหตุนั้น ตํ จิตฺตํ จิตนั้น อสงฺขารํ ชื่อว่า อสังขาร, ตํ อสงฺขารํ
อสังขาร เอว นั่นแหละ อาจริเยน อันพระอนุรุทธาจารย์ วุจฺจติ
เรียก อิติ ว่า อสงฺขาริกํ อสังขาริก[๓๕].
จิตฺตํ จิต สหิตํ อันเป็นไปร่วมกับ สงฺขาเรน ด้วยสังขาร สสงฺขาริกํ
ชื่อว่า สสังขาริก.[๓๖]
ตถา จ
วทนฺติ –
ตถา =
ตโตเยว สงฺขารภาวโต เพราะความที่
- ติกฺขภาวสฺส ความแกล้วแกล้ว -
เป็นสังขาร อิธ ในคำว่า อสังขาริกและสสังขาริก นี้ - จ =
เอว
เท่านั้น[๓๗]
อาจริยา อาจารย์ทั้งหลาย วทนฺติ จึงกล่าว อิติ ว่า
‘‘ปุพฺพปฺปโยคสมฺภูโต, วิเสโส
จิตฺตสมฺภวี;
สงฺขาโร ตํวเสเนตฺถ, โหตฺยาสงฺขาริกาทิตา’’ติฯ
วิเสโส
เอว
ความพิเศษเท่านั้น ปุพฺพปฺปโยคสมฺภูโต อันเกิดขึ้นเพราะปุพปโยคนั้น จิตฺตสมฺภวี
มีปกติเกิดในจิตดวงหลัง สงฺขาโร นาม ชื่อว่า สังขารฯ อสงฺขาริกาทิตา
ความเป็นอสังขาริกเป็นต้น โหติ จึงมี เอตฺถ ในจิตนี้ ตํวเสน ด้วยอำนาจแห่งสังขารคือความพิเศษนั้นฯ
อถ วา ‘‘สสงฺขาริกํ อสงฺขาริก’’นฺติ เจตํ เกวลํ สงฺขารสฺส ภาวาภาวํ
สนฺธาย วุตฺตํ, น ตสฺส สหปฺปวตฺติสพฺภาวาภาวโตติ
ภินฺนสนฺตานปฺปวตฺติโนปิ สงฺขารสฺส อิทมตฺถิตาย ตํวเสน นิพฺพตฺตํ จิตฺตํ สงฺขาโร
อสฺส อตฺถีติ สสงฺขาริกํ ‘‘สโลมโก สปกฺขโก’’ตฺยาทีสุ วิย สห-สทฺทสฺส วิชฺชมานตฺถปริทีปนโตฯ ตพฺพิปรีตํ ปน ตทภาวโต
วุตฺตนเยน อสงฺขาริกํฯ
อถวา
อีกนัยหนึ่ง จ อนึ่งสสงฺขาริกํ อสงฺขาริกํ อิติ เอตํ วจนํ คำนี้ว่า
สสังขาริก และอสังขาริก ดังนี้ อาจริเยน อันพระอนุรุทธารจารย์ วุตฺตํ
กล่าวแล้ว สนฺธาย หมายถึง ภาวาภาวํ ความมีและไม่มี สงฺขารสฺส
แห่งสังขาร เกวลํ อย่างเดียว, น มิได้ วุตฺตํ กล่าวไว้ สหปฺปวตฺติสพฺภาวาภาวโต
โดยความมีหรือไม่มีแห่งความเป็นไปร่วมกัน (จิตฺเตน) กับจิต ตสฺส
แห่งสังขารนั้น อิติ ดังนั้น อิทมตฺถิตาย[๓๘]
ก็เพราะเหตุที่ - สงฺขารสฺส สังขาร ภินฺนสนฺตานปฺปวตฺติโนปิ
ถึงจะเป็นไปในสันดานที่แตกต่างกัน - ยังมีอยู่ในจิตดวงหลังนี้ จิตฺตํ จิต นิพฺพตฺตํ
ที่เกิด ตํวเสน โดยเนื่องด้วยสังขารนั้น สสงฺขาริกํ จึงชื่อว่า
สสังขาริก อิติ (อตฺเถน) เพราะความหมาย ว่า สงฺขาโร สังขาร อสฺส
ของจิตนี้ อตฺถิ มีอยู่ วิย เหมือน สโลมโก สปกฺขโก อิติ อาทีสุ
ปโยเคสุ ในประโยคตัวอย่างว่า นกมีขน มีปีก ดังนี้เป็นต้น วิชฺชมานตฺถปริทีปนโต เพราะแสดงความหมายว่ามี
สหสทฺทสฺส แห่งสหศัพท์. ปน ส่วน ตพฺพิปรีตํ
จิตที่เป็นอีกอย่างหนึ่งจากสสังขาริกจิตนั้น อสงฺขาริกํ ชื่อว่า อสังขาริก ตทภาวโต
เพราะไม่มีสังขารนั้น วุตฺตนเยน โดยนัยที่กล่าวแล้ว[๓๙].
ทิฏฺฐิคเตน วิปฺปยุตฺตํ วิสํสฏฺฐนฺติ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํฯ
จิตฺตํ จิต วิปฺปยุตฺตํ
ที่ไม่ประกอบ วิสํสฏฺฐํ คือที่ไม่ระคน ทิฏฺฐิคเตน ด้วยความเห็นผิด อิติ
เพราะเหตุนั้น ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ จิตนั้น เป็นทิฏฐิคตวิปยุตจิต จิตที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด.[๔๐]
อธิบายคำว่า
อุเปกฺขาสหคต
อุปปตฺติโต
ยุตฺติโต อิกฺขติ อนุภวติ เวทยมานาปิ มชฺฌตฺตาการสณฺฐิติยาติ อุเปกฺขาฯ
ยา
เวทนา เวทนาใด อิกฺขติ = อนุภวติ
ย่อมเสวย (อารมฺมณรสํ) ซึ่งรสแห่งอารมณ์ อุปปตฺติโต = ยุตฺติโต อย่างเหมาะสม, เวทิยมานาปิ คือว่า
อุเบกขาเวทนาแม้เมื่อจะเสวยรสแห่งอารมณ์นั้น (อนุภวติ) ก็ย่อมเสวย มชฺฌตฺตาการสณฺฐิติยา
= มชฺฌสภาวสงฺขาตากาเรน สุฏฺฐุ
ฐานโต[๔๑] ด้วยการตั้งอยู่ด้วยดี โดยอาการคือสภาวะที่เป็นกลาง [๔๒]
อิติ = ตสฺมา
เพราะเหตุนั้น สา เวทนา เวทนานั้น อุเปกฺขา ชื่อว่า อุเบกขา ฯ [๔๓]
สุขทุกฺขานํ
วา อุเปตา ยุตฺตา อวิรุทฺธา อิกฺขา อนุภวนนฺติ อุเปกฺขาฯ สุขทุกฺขาวิโรธิตาย
เหสา เตสํ อนนฺตรมฺปิ ปวตฺตติฯ
วา
อีกอย่างหนึ่ง อิกฺขา [๔๔]
=
อนุภวนํ การเสวย อุเปตา = ยุตฺตา = อวิรุทฺธา ไม่ผิด สุขทุกฺขานํ
ต่อสุขเวทนาและทุกขเวทนา ฯ [๔๕]
หิ = สจฺจํ จริงอย่างนั้น เอสา อุเปกฺขา
อุเบกขาเวทนา นี้ ปวตฺตติ
ย่อมเป็นไป อนนฺตรมฺปิ แม้ในลำดับ เตสํ สุขทุกฺขานํ
แห่งสุขเวทนาและทุกขเวทนาเหล่านั้น (อุเปกฺขาย)
สุขทุกฺขาวิโรธิตาย เพราะความที่อุเบกขาเวทนา
ไม่ขัดแย้งต่อสุขเวทนาและทุกขเวทนา.
อุเปกฺขาสหคตนฺติ
อิทํ วุตฺตนยเมวฯ
อิทํ
ปทํ บทนี้
อุเปกฺขาสหคตํ อิติ ว่า อุเปกฺขาสหคตํ วุตฺตนยํ มีนัยอันกล่าวแล้ว เอว
นั่นเทียว ฯ
อธิบายเหตุผลที่ธรรม
๓ คือ เวทนา ทิฏฐิ และสังขารเท่านั้นเป็นบทกำกับชื่ออกุศลจิต
กสฺมา
ปเนตฺถ อญฺเญสุปิ ผสฺสาทีสุ สมฺปยุตฺตธมฺเมสุ วิชฺชมาเนสุ โสมนสฺสสหคตาทิภาโวว
วุตฺโตติ?
(ปุจฺฉา) ถาม อิติ ว่า อญฺเญสุปิ
สมฺปยุตฺตธมฺเมสุ ในขณะที่สัมปยุตธรรมทั้งหลาย แม้เหล่าอื่น ผสฺสาทีสุ มีผัสสะเป็นต้น
วิชฺชมาเนสุ มีอยู่ เอตฺถ = เอตสฺมึ โลภมูลจิตฺเต
ในโลภมูลจิต นี้ กสฺมา ปน[๔๖]
เพราะเหตุไร โสมนสฺสสหคตาทิภาโว ความเป็นจิตที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนาเป็นต้น
เอวเท่านั้น (อนุรุทฺธาจริเยน) วุตฺโต
ที่พระอนุรุทธาจารย์ กล่าวไว้.
โสมนสฺสาทีนเมว
อสาธารณภาวโตฯ
(วิสฺสชฺชนํ)
ตอบ อิติ ว่า อสาธารณภาวโต [๔๗]เพราะ - โสมนสฺสาทีนํ เอว สัมปยุตธรรมมีโสมนัสเป็นต้นเท่านั้น
- ไม่เป็นปัจจัยทั่วไป ฯ
ผสฺสาทโย
หิ เกจิ สพฺพจิตฺตสาธารณา, เกจิ กุสลาทิสาธารณา, โมหาทโย จ สพฺพากุสลสาธารณาติ น เตหิ สกฺกา จิตฺตํ วิเสเสตุํ,
หิ
จริงอยู่ (เจตสิกา) แม้เจตสิกทั้งหลาย เกจิ บางพวก (ฉ) ๖ ผสฺสาทโยปิ
มีผัสสะเป็นต้น (เวทนาวชฺชิตา) เว้นเวทนาเจตสิก สพฺพจิตฺตสาธารณา
เป็นเจตสิกทั่วไปแก่จิตทั้งปวง (จ) ด้วย, (เจตสิกา)
เจตสิกทั้งหลาย เกจิ บางพวก (ฉ) ๖ วิตกฺกาทโย
มีวิตกเจตสิกเป็นต้น กุสลาทิสาธารณา
เป็นเจตสิกทั่วไปแก่จิตมีกุศลจิตเป็นต้น [๔๘], เจตสิกา เจตสิกทั้งหลาย (จตฺตาโร) ๔ ดวง โมหาทโย [๔๙]
มีโมหะเป็นต้น สพฺพากุสลสาธารณา เป็นเจตสิกทั่วไปแก่อกุศลจิตทั้งหมด จ
ด้วย อิติ = ตสฺมา เพราะเหตุนั้น อาจริเยน อันอาจารย์ น สกฺกา ไม่อาจ
จิตฺตํ = โลภมูลจิตฺตํ
ยังโลภมูลจิต วิเสเสตุํ เพื่อให้พิเศษ เตหิ เจตสิเกหิ
ด้วยเจตสิกทั้งหลายเหล่านั้น [๕๐]ฯ
โสมนสฺสาทโย
ปน กตฺถจิ จิตฺเต โหนฺติ, กตฺถจิ น โหนฺตีติ ปากโฏว ตํวเสน
จิตฺตสฺส วิเสโส
ปน
ส่วนว่า โสมนสฺสาทโย สมฺปยุตฺตธมฺมา สัมปยุตธรรมทั้งหลาย มีโสมนัสเป็นต้น โหนฺติ
ย่อมมี กตฺถจิ จิตฺเต ในจิตบางดวง, น โหนฺติ
ย่อมไม่มี กตฺถจิ จิตฺเตในจิตบางดวง อิติ = ตสฺมา โสมนสฺสาทีนํ สพฺพจิตฺตสาธารณตา เพราะความที่สัมปยุตธรรมมีโสมนัสเป็นต้นทั่วไปแก่จิตทั้งปวงนั้น
วิเสโส ความพิเศษ จิตฺตสฺส แห่งจิต
ปากโฏ เอว เป็นอันปรากฏนั่นเทียว (โหติ) ย่อมเป็น ตํวเสน =
เตสํ อสาธารณานํ
โสมนสฺสาทีนํ วเสน ด้วยอำนาจแห่งสัมปยุตธรรมมีโสมนัสเป็นต้นซึ่งไม่ทั่วไป
เหล่านั้น.
กสฺมา
ปเนเต กตฺถจิ โหนฺติ, กตฺถจิ น โหนฺตีติ?
(ปุจฺฉา)
ถาม อิติ ว่า กสฺมา ปน เพราะเหตุไรเล่า เอเต (โสมนสฺสาทโย
สมฺปยุตฺตธมฺมา) สัมปยุตธรรมมีโสมนัสเป็นต้นเหล่านี้ โหนฺติ ย่อมมี กตฺถจิ ในจิตบางดวง,
น โหนฺติ ย่อมไม่มี กตฺถจิ ในจิตบางดวง ?
การณสฺส
สนฺนิหิตาสนฺนิหิตภาวโตฯ
(วิสฺสชฺชนํ)
ตอบ อิติ ว่า สนฺนิหิตาสนฺนิหิตภาวโต = สณฺฐิตาสณฺฐิตภาวโต เพราะความที่ - การณสฺส
เหตุ - เป็นธรรมชาติตั้งอยู่และไม่ตั้งอยู่กับโสมนัสเป็นต้น [๕๑]
กิํ ปน
เนสํ การณนฺติ?
(ปุจฺฉา) ถาม อิติ
ว่า ปน แต่ว่า กึ อะไรเล่า การณํ เป็นเหตุ เนสํ (โสมนสฺสาทีนํ) แห่งสัมปยุตธรรมมีโสมนัสเป็นต้นเหล่านั้น
?
วุจฺจเต.
ปริหาโร คำเฉลย
มยา อันเรา วุจฺจเต จะกล่าว ฯ
หิ มีรายละเอียดว่า
อิฏฺฐารมฺมณํ อิฏฐารมณ์ สภาวโต = อารมฺมณปกติโต วา
โดยปกติของอารมณ์
ปริกปฺปโต =
อนิฏฺเฐปิ อิฏฺฐนฺติ ปวตฺตวิปรีตสญฺญาโต วา จ
หรือโดยความสำคัญผิดที่เป็นไปว่าน่าปรารถนาแม้ในอารมณ์ไม่น่าปรารถนา,
โสมนสฺสปฏิสนฺธิกตา จ ปฏิสนธิประกอบด้วยโสมนัสเวทนา[๕๒], อคมฺภีรสภาวตา จ และสภาวะที่ไม่ลึกซึ้ง การณํ เป็นเหตุ
โสมนสฺสสฺส แห่งโสมนัส อิธ = อิมสฺมึ อกุสลาธิกาเร
ในเรื่องอกุศลจิตนี้ [๕๓].
อิฏฺฐมชฺฌตฺตารมฺมณํ, อุเปกฺขาปฏิสนฺธิกตา, คมฺภีรสภาวตา จ อุเปกฺขาย,
อิฏฺฐมชฺฌตฺตารมฺมณํ[๕๔]
จ
อารมณ์คือสภาวะน่าปรารถนาปานกลาง ด้วย,อุเปกฺขาปฏิสนฺธิกตา จ ปฏิสนธิประกอบด้วยอุเบกขาเวทนา ด้วย, คมฺภีรสภาวตา จ สภาวะที่ลึกซึ้ง ด้วย การณํ เป็นเหตุ อุเปกฺขาย
แห่งอุเบกขา ฯ
ทิฏฺฐิวิปนฺนปุคฺคลเสวนา, สสฺสตุจฺเฉทาสยตา จ ทิฏฺฐิยา,
ทิฏฺฐิวิปนฺนปุคฺคลเสวนา
=
วินฏฺฐทิฏฺฐปุคคลเสวนา
การคบบุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ [๕๕]
สสฺสตุจฺเฉทาสยตา สัสสตวาทะ และอุจเฉทวาทะอันเป็นเจ้าเรือน [๕๖]
การณสฺส เป็นเหตุ ทิฏฺฐิยา แห่งทิฏฐิ ฯ
พลวอุตุโภชนาทโย
ปน ปจฺจยา อสงฺขาริกภาวสฺสาติฯ ตสฺมา อตฺตโน อนุรูปการณวเสน เนสํ อุปฺปชฺชนโต กตฺถจิ
จิตฺเตเยว สมฺภโวติ สกฺกา เอเตหิ จิตฺตสฺส วิเสโส ปญฺญาเปตุนฺติฯ
ปน
ส่วนว่า ปจฺจยา ปัจจัยทั้งหลาย พลวอุตุโภชนาทโย = สปฺปายอุตุ-โภชนาทโย
มีอากาศและอาหารเป็นต้นอันเหมาะสม การณํ เป็นเหตุ อสงฺขาริกภาวสฺส แห่งความเป็นอสังขาริก น
ตสฺมา อุปฺปชฺชนโต เพราะการเกิดขึ้น เนสํ =
โสมนสฺสาทีนํ แห่งโสมนัสเป็นต้นเหล่านั้น
อนุรูปการณวเสด้วยอำนาจแห่งเหตุอันเหมาะสม อตฺตโน แก่ตน นั้น สมฺภโว
ความเกิดขึ้น กตฺถจิ จิตฺเต เอว
ในโลภมูลจิตบางดวงเท่านั้น อิติ = เอวํ
ด้วยประการดังนี้ [๕๗]
อิติ = ตสฺมา เพราะเหตุนั้น วิเสโส ความพิเศษ โลภมูลสฺส
จิตฺตสฺส แห่งจิต อันมีโลภะเป็นมูล อาจริเยน อันอาจารย์ สกฺกา อาจ ปญฺญาเปตุํ =
นานปฺปการโต ชานาเปตุํ เพื่ออันให้รู้ได้โดยประการต่างๆ เอเตหิ โสมนสฺสาทีหิ ด้วยโสมนัสเป็นต้นเหล่านี้
อิติ ดังนี้แล ฯ
เอวญฺจ กตฺวา
เนสํ สติปิ โมหเหตุกภาเว โลภสหคตภาโวว นิคมเน วุตฺโตฯ
เอวญฺจ
กตฺวา
เพราะเหตุนี้ [๕๘]
โมหเหตุกภาเว ถึงแม้ความที่ - เนสํ โลภมูลจิตฺตานํ สติปิ
โลภมูลจิตเหล่านั้น - เป็นจิตมีโมหเหตุก็ตาม โลภสหคตภาโว ว ความเป็นจิตที่ระคนกับโลภะเท่านั้น
อาจริเยน วุตฺโต อันอาจารย์กล่าวแล้ว นิคมเน ในคำนิคม (คำสรุปความ).
อธิบายลำดับการเกิดขึ้นแห่งโลภมูลจิต
๘ ดวง
อิเมสํ
ปน อฏฺฐนฺนมฺปิ อยมุปฺปตฺติกฺกโม เวทิตพฺโพฯ
ปน ส่วน อุปฺปตฺติกฺกโม
ลำดับแห่งการเกิดขึ้น (โลภมูลจิตฺตานํ ของโลภมูลจิต) อิเมสํ อฏฺฐนฺนมฺปิ
แม้ทั้งหมด ๘ ดวง เหล่านี้ อยํ นี้
(ปณฺฑิเตน) อันบัณฑิต เวทิตพฺโพ พึงทราบ
ยทา หิ ‘‘นตฺถิ กาเมสุ อาทีนโว’’ตฺยาทินา นเยน มิจฺฉาทิฏฺฐิํ
ปุรกฺขตฺวา หฏฺฐตุฏฺโฐ กาเม วา ปริภุญฺชติ, ทิฏฺฐมงฺคลาทีนิ
วา สารโต ปจฺเจติ สภาวติกฺเขเนว อนุสฺสาหิเตน จิตฺเตน, ตทา
ปฐมํ อกุสลจิตฺตมุปฺปชฺชติฯ
หิ ขยายความว่า
ยทา เมื่อใด (ปุคฺคโล บุคคล) หฏฺฐตุฏฺโฐ ร่าเริงยินดี[๕๙]
ปุรกฺขิตฺวา กระทำไว้เป็นเบื้องหน้า มิจฺฉาทิฏฺฐึ
ซึ่งความเห็นผิดคืออุจเฉททิฏฐิและสัสสตทิฏฺฐิ นเยน โดยนัย อิติอาทินา
เป็นต้นว่า อาทีนโว โทษ กาเมสุ ในกามท. นตฺถิ ไม่มี ปริภุญฺชติ
บริโภค กาเม ซึ่งกามท. วา ก็ดี ปจฺเจติ ถือเอา ทิฏฺฐมงฺคลาทีนิ
(มงฺคลานิ) ซึ่งมงคลมีมงคลคือการเห็นเป็นต้น สารโต
โดยความเป็นสาระคือเหตุสร้างความเจริญ วา ก็ดี จิตฺเตน ด้วยจิต สภาวติกฺเขน
อันกล้าแข้งโดยสภาพ เอว นั่นเทียว (อตฺตนา วา อันตนเองก็ดี ปเรน
วา อันผู้อื่น ก็ดี) อนุสฺสาหิเตน ไม่กระตุ้นแล้ว,
ตทา เมื่อนั้น อกุสลจิตฺตํ
อกุศลจิต ปฐมํ ดวงที่ ๑ อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้น.
ยทา ปน
มนฺเทน สมุสฺสาหิเตน จิตฺเตน, ตทา ทุติยํฯ
ปน
ส่วนว่า ยทา เมื่อใด (ปุคฺคโล บุคคล) หฏฺฐตุฏฺโฐ
ร่าเริงยินดี ปุรกฺขิตฺวา กระทำไว้เป็นเบื้องหน้า มิจฺฉาทิฏฺฐึ
ซึ่งความเห็นผิดคืออุจเฉททิฏฐิและสัสสตทิฏฺฐิ นเยน โดยนัย อิติอาทินา
เป็นต้นว่า อาทีนโว โทษ กาเมสุ ในกามทั้งหลาย นตฺถิ ไม่มี ปริภุญฺชติ
แล้วบริโภค กาเม ซึ่งกามทั้งหลาย วา ก็ดี ปจฺเจติ ถือเอา ทิฏฺฐมงฺคลาทีนิ
มงฺคลานิ ซึ่งมงคลมีมงคลคือการเห็นเป็นต้น สารโต
โดยความเป็นสาระคือเหตุสร้างความเจริญ วา ก็ดี จิตฺเตน ด้วยจิต มนฺเทน
ที่อ่อน (อตฺตนา วา อันตนเองก็ดี ปเรน วา อันผู้อื่น ก็ดี) อุสฺสาหิเตน
กระตุ้นแล้ว , ตทา เมื่อนั้น อกุสลจิตฺตํ อกุศลจิต ทุติยํ ดวงที่
๒ อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้น
ยทา ปน
มิจฺฉาทิฏฺฐิํ อปุรกฺขตฺวา เกวลํ หฏฺฐตุฏฺโฐ เมถุนํ วา เสวติ, ปรสมฺปตฺติํ วา อภิชฺฌายติ, ปรภณฺฑํ วา หรติ
สภาวติกฺเขเนว อนุสฺสาหิเตน จิตฺเตน, ตทา ตติยํฯ
ปน
ส่วนว่า ยทา เมื่อใด ปุคฺคโล บุคคล อปุรกฺขิตฺวา
ไม่กระทำไว้ในเบื้องหน้า มิจฺฉาทิฏฺฐึ
ซึ่งมิจฺฉาทิฏฺฐิ อิติอาทินา นเยน โดยนัยเป็นต้นว่า อาทีนโว โทษ กาเมสุ
ในกามทั้งหลาย นตฺถิ ไม่มี หฏฺฐตุฏฺโฐ ร่าเริงยินดีแล้ว เกวลํ
อย่างเดียว เสวติ แล้วเสพ เมถุนํ
ซึ่งเมถุน วา ก็ดี, อภิชฺฌายติ = อภิมุขํ จินฺเตติ ย่อมคิดมุ่งไป ปรสมฺปตฺตึ
ซึ่งสมบัติผู้อื่น วา ก็ดี, หรติ ย่อมลักไป ปรภณฺฑํ ซึ่งสิ่งของของผู้อื่น วา ก็ดี จิตฺเตน
ด้วยจิต สภาวติกฺเขน เอว ด้วยจิตที่กล้าแข็งตามสภาพนั่นเทียว (อตฺตนา วา
อันตนเองก็ดี ปเรน วา อันผู้อื่น ก็ดี) อนุสฺสาหิเตนไม่กระตุ้นแล้วฯ ตทา ในกาลนั้น ตติยํ อกุสลจิตฺตํ อกุศลจิตดวงที่
๓ อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้น ฯ
ยทา ปน
มนฺเทน สมุสฺสาหิเตน จิตฺเตน, ตทา จตุตฺถํฯ
ปน
ส่วนว่า ยทา เมื่อใด ปุคฺคโล บุคคล อปุรกฺขิตฺวา
ไม่กระทำไว้ในเบื้องหน้า มิจฺฉาทิฏฺฐึ
ซึ่งมิจฺฉาทิฏฺฐิ อิติอาทินา นเยน โดยนัยเป็นต้นว่า อาทีนโว โทษ กาเมสุ
ในกามทั้งหลาย นตฺถิ ไม่มี หฏฺฐตุฏฺโฐ ร่าเริงยินดีแล้ว เกวลํ
อย่างเดียว เสวติ แล้วเสพ เมถุนํ
ซึ่งเมถุน วา ก็ดี, อภิชฺฌายติ = อภิมุขํ จินฺเตติ ย่อมคิดมุ่งไป ปรสมฺปตฺตึ
ซึ่งสมบัติผู้อื่น วา ก็ดี, หรติ ย่อมลักไป ปรภณฺฑํ ซึ่งสิ่งของของผู้อื่น วา ก็ดี จิตฺเตน
ด้วยจิต มนฺเทน ด้วยจิตอ่อน (อตฺตนา
วา อันตนเองก็ดี ปเรน วา อันผู้อื่น ก็ดี) อุสฺสาหิเตนกระตุ้นแล้วฯ ตทา ในกาลนั้น จตุตฺถํ อกุสลจิตฺตํ อกุศลจิตดวงที่
๔ อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิดขึ้น ฯ
ยทา ปน
กามานํ วา อสมฺปตฺติํ อาคมฺม, อญฺเญสํ วา โสมนสฺสเหตูนํ
อภาเวน จตูสุปิ วิกปฺเปสุ โสมนสฺสรหิตา โหนฺติ, ตทา เสสานิ
จตฺตาริ อุเปกฺขาสหคตานิ อุปฺปชฺชนฺตีติฯ
ปน
ส่วนว่า ยทา ในกาลใด ปุคฺคลา บุคคลทั้งหลาย อาคมฺม
อาศัยแล้ว อสมฺปตฺตึ
ซึ่งความไม่ถึงพร้อม กามานํ แห่งกามทั้งหลาย วา ก็ดี อภาเวน เพราะความไม่มี
โสมนสฺสเหตูนํ เหตุแห่งโสมนัส อญฺเญสํ เหล่าอื่น วา
ก็ดี โสมนสฺสรหิตา จึงเป็นผู้เว้นจากโสมนัส วิกปฺเปสุ
=
วาเรสุ ในวาระ จตูสุ ทั้ง ๔ โหนฺติ
ย่อมเป็น, ตทา ในกาลนั้น อุเปกฺขาสหคตานิ จิตที่สหรคตกับอุเบกขา จตฺตาริ ๔ ดวง เสสานิ ที่เหลือ อุปฺปชฺชนฺติ ย่อมเกิดขึ้น
ฯ
อฏฺฐปีติ
ปิ-สทฺโท สมฺปิณฺฑนตฺโถ, เตน วกฺขมานนเยน อกุสลกมฺมปเถสุ เนสํ
ลพฺภมานกมฺมปถานุรูปโต ปวตฺติเภทํ กาลเทสสนฺตานารมฺมณาทิเภเทน อเนกวิธตมฺปิ สงฺคณฺหาติฯ
ปิสทฺโท
ปิศัพท์
อฏฺฐปิ อิติ ปเท ในบทว่า อฏฺฐปิ สมฺปิณฺฑนตฺโถ
มีการประมวลเนื้อความที่ไม่ได้กล่าวมาเป็นอรรถ ฯ เตน ปิสทฺเทน ด้วยปิศัพท์นั้น
อนุรุทฺธาจาริโย พระอนุรุทธาจารย์ สงฺคณฺหาติ ย่อมรวบรวม อเนกวิธตฺตมฺปิ
แม้ซึ่งความที่ – (เตสํ โลภสหคตจิตฺตานํ โลภสหคตจิตเหล่านั้น) – มีหลายประการ ปวตฺติ-เภทกาลเทสสนฺตานารมฺมณาทิเภเทน
โดยประเภทแห่งความเป็นไปและโดยประเภทแห่งกาล เทศะ สันดาน และอารมณ์เป็นต้น ลพฺภมานกมฺมปถานุรูปโต
ตามสมควรแก่กัมมบถที่ได้ เนสํ
โลภสหคตจิตฺตานํ แก่โลภสหคตจิตเหล่านั้น อกุสลกมฺมปเถสุ
ในบรรดาอกุศลกรรมบถทั้งหลาย วกฺขมานนเยน โดยนัยที่ท่านจักกล่าวต่อไป ฯ
อภิธัมมัตถสังคหะ
อกุศลจิต
(โทสมูลจิต ๒ ดวง)
๕. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกเมกํ, สสงฺขาริกเมกนฺติ อิมานิ
เทฺวปิ ปฏิฆสมฺปยุตฺต - จิตฺตานิ นามฯ
จิตฺตานิ จิต เทฺว
อปิ แม้สองดวง ปฏิฆจิตฺตานิ นาม ที่ชื่อว่า ปฏิฆจิต
จิตที่ประกอบกับปฏิฆะ อิมานิ เหล่านี้ อิติ คือ
จิตฺตํ จิต โทมนสฺสสหคตํ
ที่เกิดพร้อมกับโทมนัสเวทนา ปฏิฆสมฺมปยุตฺตํ ประกอบร่วมกับปฏิฆะ อสงฺขาริกํ
ไม่มีการชักชวน เอกํ หนึ่งดวง ฯ
จิตฺตํ จิต โทมนสฺสสหคตํ
ที่เกิดพร้อมกับโทมนัสเวทนา ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ ประกอบร่วมกับปฏิฆะ สสงฺขาริกํ
มีการชักชวน เอกํ หนึ่งดวง ฯ
อภิธัมมัตถวิภาวินี
อธิบายโทสมูลจิต
๕. ทุฏฺฐุ มโน, ตํ วา เอตสฺสาติ
ทุมฺมโน, ตสฺส ภาโว โทมนสฺสํ, มานสิกทุกฺขเวทนาเยตํ
อธิวจนํ, เตน สหคตนฺติ โทมนสฺสสหคตํฯ
มโน ใจ ทุฏฺฐุ
=
อโสภณํ ไม่ดี อิติ เพราะเหตุนั้น ทุมโน
ชื่อว่า ทุมนะ ใจไม่ดี ฯ วา อีกนัยหนึ่ง ตํ ทุฏฺฐุ มโน
ใจที่ไม่ดีนั้น เอตสฺส ปุคฺคลสฺส ของบุคคลนั้น (อตฺถิ มีอยู่) อิติ
เพราะเหตุนั้น ทุมโน จึงชื่อว่า ทุมนะ บุคคลผู้มีใจไม่ดี ฯ ภาโว ความเป็น ตสฺส ทุมนสฺส แห่งบุคคลผู้มีใจไม่ดี
นั้น โทมนสฺสํ ชื่อว่า โทมนัส เหตุแห่งชื่อและความรู้ในบุคคลผู้มีใจไม่ดี ฯ
เอตํ โทมนสฺสํ อิติ วจนํ คำว่า โทมนัส นี้ อธิวจนํ เป็นชื่อ มานสิกทุกฺขเวทนาย
ของทุกขเวทนาที่มีในใจ โหติ ย่อมเป็นฯ จิตฺตํ จิต สหคตํ
=
สห เอกุปฺปาทาทิภาวํ คตํ
ถึงความเป็นธรรมชาติมีเกิดร่วมกันเป็นต้นพร้อมกัน เตน โทมนสฺเสน
กับโทมนัสนั้น อิติ เพราะเหตุนั้นโทมนสฺสสหคตํ ชื่อว่า
โทมนัสสหคตจิต.[๖๐]
อารมฺมเณ
ปฏิหญฺญตีติ ปฏิโฆ, โทโสฯ
จณฺฑิกฺกสภาวตาย เหส อารมฺมณํ ปฏิหนนฺโต วิย ปวตฺตติฯ
โย
ธมฺโม
ธรรมใด ปฏิหญฺญติ ย่อมกระทบ อารมฺมเณ = อารมฺมณํ ซึ่งอารมณ์ อิติ เพราะเหตุนั้น โส ธมฺโม
ธรรมนั้น ปฏิโฆ ชื่อว่า ปฏิฆะ ธรรมที่กระทบอารมณ์ โทโส ได้แก่ โทสะ
ฯ หิ จริงอย่างนั้น โทโส โทสะ ปวตฺตติ ย่อมเป็นไป วิย
ดุจดังว่า ปฏิหนนฺโต กระทบอยู่ อารมฺมณํ ซึ่งอารมณ์ จณฺฑิกฺกสภาวตาย
เพราะโทสะที่มีสภาพที่ดุร้าย[๖๑].
โทมนสฺสสหคตสฺส
เวทนาวเสน อเภเทปิ อสาธารณธมฺมวเสน จิตฺตสฺส อุปลกฺขณตฺถํ โทมนสฺสคฺคหณํ, ปฏิฆสมฺปยุตฺตภาโว ปน อุภินฺนํ เอกนฺตสหจาริตา ทสฺสนตฺถํ วุตฺโตติ ทฏฺฐพฺพํฯ
อเภเทปิ
แม้เมื่อความไม่ต่างกัน เวทนาวเสนโดยเนื่องด้วยเวทนา โทมนสฺสสหคตสฺส
แห่งโทสสหคตจิต (สนฺเต มีอยู่) โทมนสฺสคฺคหณํ = โทมนสฺสกถนํ การกล่าวคำว่า
โทมนสฺสํ โหติ ย่อมมี อุปลกฺขณตฺถํ เพื่อกำหนด จิตฺตสฺส = โทมนสฺสสหคตจิตฺตสฺส ซึ่งโทมนัสสหคตจิต (อญฺเญสํ
จิตฺตานํ) อสาธารณธมฺมวเสน
ด้วยอำนาจของธรรมที่ไม่ทั่วไป (แก่จิตเหล่าอื่น).
ปน แต่ ทฏฺฐพฺพํ บัณฑิตพึงทราบ อิติ อย่างนี้ว่า ปฏิฆสมฺปยุตฺตภาโว
ความเป็นจิตที่สัมปยุตกับปฏิฆะ วุตฺโต ถูกกล่าวไว้
เอกนฺตสหจาริตาทสฺสนตฺถํ
เพื่อแสดงความเป็นธรรมที่มีปกติเป็นไปร่วมกันโดยส่วนเดียว อุภินฺนํ (โทมนสฺสปฏิฆานํ)
ของโทมนัสและปฏิฆะทั้งสอง.[๖๒]
โทมนสฺสญฺเจตฺถ
อนิฏฺฐารมฺมณานุภวนลกฺขโณ เวทนากฺขนฺธปริยาปนฺโน เอโก ธมฺโม, ปฏิโฆ จณฺฑิกฺกสภาโว สงฺขารกฺขนฺธปริยาปนฺโน เอโก ธมฺโมติ อยเมเตสํ
วิเสโสฯ
จ ก็ อยํ
วิเสโส ความต่างกัน เอเตสํ โทมนสฺสปฏิฆานํ แห่งโทมนัสและปฏิฆะเหล่านี้ อิติ
คือ[๖๓]
เอตฺถ = เอเตสุ ทฺวีสุ โทมนสฺสปฏิเฆสุ
ในโทมนัสและปฏิฆะสองประการนี้ โทมนสฺสํ โทมนัส เอโก ธมฺโม คือ
ธรรมอย่างหนึ่ง อนิฏฺฐารมฺมณานุภวนลกฺขโณ มีการเสวยอนิฏฐารมณ์เป็นลักษณะ เวทนากฺขนฺธปริยาปนฺโน
เป็นธรรมนับรวมอยู่ในเวทนาขันธ์, ปฏิโฆ ปฏิฆะ เอโก ธมฺโม
คือ ธรรมอย่างหนึ่ง จณฺฑิกฺกสภาโว มีสภาวะแห่งความเป็นธรรมที่ก้าวร้าว สงฺขารกฺกขนฺธปริยาปนฺโน
เป็นธรรมนับรวมอยู่ในสังขารขันธ์
เอตฺถ จ
ยํ กิญฺจิ อนิฏฺฐารมฺมณํ, นววิธอาฆาตวตฺถูนิ จ โทมนสฺสสฺส
การณํ, ปฏิฆสฺส การณญฺจาติ ทฏฺฐพฺพํฯ
จ ก็ ทฏฺฐพฺพํ
ควรเห็น อิติ อย่างนี้ ว่า ยงฺกิญฺจิ อนิฏฺฐารมฺมณํ จ อนิฏฐารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วย นววิธอาฆาตวตฺถูนิ
จ อาฆาตวัตถุ ๙ ประการ ด้วย โทมนสฺสการณํ = โทมนสฺสสฺส การณํ จ เป็นเหตุแห่งโทมนัส ด้วย ปฏิฆการณํ = ปฏิฆสฺส การณํ จ เป็นเหตุแห่งปฏิฆะด้วย ฐิตสฺส
ซึ่งตั้งอยู่ เอตฺถ = เอตสฺมึ โทมนสฺสสหคตจิตฺเต
ในโทมนัสสสหคตจิตนี้ โหติ ย่อมเป็นฯ [๖๔]
ทฺวินฺนํ
ปน เนสํ จิตฺตานํ ปาณาติปาตาทีสุ ติกฺขมนฺทปฺปวตฺติกาเล อุปฺปตฺติ เวทิตพฺพาฯ
ปน
ส่วนว่า อุปฺปตฺติ การเกิดขึ้น ทฺวินฺนํ เนสํ จิตฺตานํ
แห่งจิตเหล่านั้น เวทิตพฺพา พึงทราบ ติกฺขมนฺทปฺปวตฺติกาเล
ในกาลเป็นที่เป็นไปกล้าแข็งและอ่อน ปาณาติปาตาทีสุ
ในอกุศลกรรมบถมีปาณาติบาตเป็นต้น ทฺวินฺนํ เนสํ จิตฺตานํ แห่งจิตสองดวงเหล่านั้น [๖๕]
เอตฺถาปิ
นิคมเน ปิ-สทฺทสฺส อตฺโถ วุตฺตนยานุสาเรน ทฏฺฐพฺโพฯ
ปณฺฑิเตน
ทฏฺฐพฺโพ พึงเห็น
อตฺโถ ความหมาย ปิสทฺทสฺส ของปิศัพท์ เอตฺถาปิ นิคมเน
แม้ที่คำจบความนี้ วุตฺตนยานุสาเรน
โดยเป็นไปตามซึ่งนัยดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ฯ[๖๖]
อภิธัมมัตถสังคหะ
อกุศลจิต
(โมหมูลจิต ๒ ดวง)
๖. อุเปกฺขาสหคตํ วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตเมกํ, อุเปกฺขาสหคตํ
อุทฺธจฺจสมฺปยุตฺตเมกนฺติ อิมานิ ทฺเวปิ โมมูห-จิตฺตานิ นามฯ
จิตฺตานิ จิต เทฺว
อปิ แม้สองดวง โมมูหจิตฺตานิ นาม ที่ชื่อว่า โมมูหจิต
จิตที่ลุ่มหลงเพราะโมหะ อิมานิ เหล่านี้ อิติ คือ
จิตฺตํ จิต อุเปกฺขาสหคตํ
ที่เกิดพร้อมกับอุเบกขาเวทนา วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตํ ประกอบร่วมกับวิจิกิจฉา เอกํ
หนึ่งดวง ฯ
จิตฺตํ จิต อุเปกฺขาสหคตํ
ที่เกิดพร้อมกับอุเบกขาเวทนา อุทฺธจฺจสมฺปยุตฺตํ ประกอบร่วมกับอุทธัจจะ เอกํ
หนึ่งดวง ฯ
อภิธัมมัตถวิภาวินี
อธิบายโมหมูลจิต
๖. สภาวํ วิจินนฺโต ตาย กิจฺฉติ กิลมตีติ วิจิกิจฺฉาฯ อถ วา จิกิจฺฉิตุํ
ทุกฺกรตาย วิคตา จิกิจฺฉา ญาณปฺปฏิกาโร อิมิสฺสาติ วิจิกิจฺฉา, ตาย สมฺปยุตฺตํ วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตํฯ
ปุคฺคโล บุคคล วิจินนฺโต
ผู้พิจารณา สภาวํ ซึ่งสภาวะกล่าวคืออาการมีการน้อมไปเป็นต้นที่มีอยู่จริงของธรรม
กิจฺฉติ = กิลมติ ย่อมลำบาก ตาย
ด้วยธรรมชาตินั้น อิติ เพราะเหตุนั้น (สา ธมฺมชาติ
ธรรมชาตินั้น) วิจิกิจฺฉา ชื่อว่า วิจิกิจฉา. อถวา อีกนัยหนึ่ง จิกิจฺฉา
การเยียวยา ญาณปฏิกาโร คือ การแก้ไขกล่าวคือญาณ[๖๗] วิคตา
หมดไปแล้ว (ไม่มี)[๖๘] อิมิสฺสา
แก่ธรรมชาตินี้ ทุกฺกรตาย เพราะเป็นธรรมชาติที่ทำได้ยาก จิกิจฺฉิตุํ
เพื่อรักษา อิติ เหตุนั้น สา ธมฺมชาติ ธรรมชาตินั้น วิจิกิจฺฉา
ชื่อว่า วิจิกิจฉา, จิตฺตํ สมฺปยุตฺตํ จิตที่ประกอบร่วมกับ ตาย วิจิกิจฉานั้น
วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตํ ชื่อว่า วิจิกิจฉาสัมปยุต.[๖๙]
อุทฺธตสฺส
ภาโว อุทฺธจฺจํฯ อุทฺธจฺจสฺส สพฺพากุสลสาธารณภาเวปิ อิธ สมฺปยุตฺตธมฺเมสุ ปธานํ
หุตฺวา ปวตฺตตีติ อิทเมว เตน วิเสเสตฺวา วุตฺตํฯ
ภาโว ภาวะ
อุทฺธตสฺส แห่งจิตที่ฟุ้งซ่าน อุทฺธจฺจํ ชื่อว่า อุทธัจจะ ฯ สพฺพากุสลสาธารณภาเวปิ
แม้เมื่อความที่ - อุทฺธจฺจสฺส อุทธัจจะ
- เป็นเจตสิกที่สาธารณะแก่อกุศลจิตทุกดวง (สติ มีอยู่), อุทฺธจฺจํ
อุทธัจจะ ปธาเน หุตฺวา
เป็นประธาน สมฺปยุตฺตธมฺเมสุ ในสัมปยุตธรรม ปวตฺตติ เป็นไป อิธ ในจิตดวงนี้
อิติ เพราะเหตุนั้น อิทํ เอว จิตดวงนี้เท่านั้น วุตฺตํ อาจารย์กล่าว
วิเสเสตฺวา ทำให้พิเศษ เตน
อุทฺธจฺเจน ด้วยอุทธัจจะนั้น[๗๐]
เอวญฺจ
กตฺวา ธมฺมุทฺเทสปาฬิยํ เสสากุสเลสุ อุทฺธจฺจํ เยวาปนกวเสน วุตฺตํ, อิธ ปน ‘‘อุทฺธจฺจํ อุปฺปชฺชตี’’ติ สรูเปเนว เทสิตํฯ
จ อนึ่ง กตฺวา
เพราะทรงกระทำ เอวํ ความประสงค์อย่างนี้ [๗๑],ธมฺมุทฺเทสปาลิยํ
ในพระบาลีธัมมุทเทส วุตฺตํ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส อุทฺธจฺจํ
อุทธัจจะ เสสากุสเลสุ ไว้ในอกุสลจิตที่เหลือ เยวาปนกวเสน
โดยเกี่ยวกับเป็นเยวาปนกธรรม ปน แต่ว่า อิธ ในอกุศลจิตดวงสุดท้ายนี้
เทสิตํ พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง อุทฺธจฺจํ อุทธัจจะ สรูเปน เอว
โดยสรูปะทีเดียว อิติ อย่างนี้ว่า อุทฺธจฺจํ
อุทฺธัจจะ อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิด[๗๒].
โหนฺติ เจตฺถ
–
‘‘สพฺพากุสลยุตฺตมฺปิ, อุทฺธจฺจํ อนฺตมานเส;
พลวํ อิติ ตํเยว, วุตฺตมุทฺธจฺจโยคโตฯ
‘‘เตเนว หิ มุนินฺเทน,
เยวาปนกนามโต;
วตฺวา เสเสสุ เอตฺเถว, ตํ สรูเปน เทสิต’’นฺติฯ
อุทฺธจฺจํ อุทธัจจะ สพฺพากุสลยุตฺตมฺปิ
แม้เป็นเจตสิกที่ประกอบในอกุศลจิตทุกดวง พลวํ เป็นธรรมที่มีกำลัง อนฺตมานเส
ในจิตดวงที่สุด อิติ เพราะเหตุนั้น พระอนุรุทธาจารย์ วุตฺตํ เรียก ตํเยว จิตดวงที่สุดนั้นเท่านั้นว่าอุทธัจจสัมปยุตจิต อุทฺธจฺจโยคโต โดยเป็นจิตที่ประกอบกับอุทธัจจะ
[๗๔]ฯ
หิ แท้ที่จริง มุนินฺเทน พระจอมมุนี วตฺวา ตรัส ตํ อุทธัจจะนั้นไว้ เสเสสุ ในอกุศลธรรมที่เหลือ เยวาปนกนามโต โดยชื่อว่าเยวาปนกะ เทสิตํ
แล้วทรงแสดง เอตฺเถว ในจิตดวงสุดท้ายนี้เท่านั้น เตเนว เพราะเหตุว่าเป็นประธานนั่นเอง
ฯ [๗๕]
อิมานิ ปน ทฺเว จิตฺตานิ มูลนฺตรวิรหโต อติสมฺมูฬฺหตาย, สํสปฺปนวิกฺขิปนวเสน ปวตฺตวิจิกิจฺฉุทฺธจฺจสมาโยเคน จญฺจลตาย จ สพฺพตฺถาปิ
รชฺชนทุสฺสนรหิตานิ อุเปกฺขาสหคตาเนว ปวตฺตนฺติ,
ปน แต่ อิมานิ เทฺว จิตฺตานิ
จิตสองดวงเหล่านี้ รชนทูสนวิรหิตานิ ที่เว้นจากความกำหนัดและความขัดเคือง สพฺพตฺถาปิ แม้ในอารมณ์ทั้งปวง อติสมฺมูฬฺหตาย
เพราะความเป็นจิตหลงงมงายอย่างยิ่ง มูลนฺตรวิรหโต
เนื่องจากเว้นจากอกุสลมูลอย่างอื่น
จญฺจลตาย จ เพราะเป็นจิตหวั่นไหวแม้อีกด้วย สํสปฺปนวิกฺขิปนวสปฺปวตฺตวิจิกิจฺฉุทฺธจฺจสมาโยเคน
เนื่องจากประกอบกับวิจิกิจฉาและอุทธัจจะที่เป็นไปโดยภาวะที่สับสนฟุ้งซ่าน อุเปกฺขาสหคตาเนว
หุตฺวา จึงเป็นจิตสหรคตด้วยอุเบกขาเท่านั้น ปวตฺตนฺติ เป็นไป ฯ[๗๖]
ตโตเยว
จ สภาวติกฺขตาย อุสฺสาเหตพฺพตาย อภาวโต สงฺขารเภโทปิ เนสํ นตฺถิฯ
จ อนึ่ง ตโตเยว เพราะเหตุนั้นนั่นแล สงฺขารเภโทปิ แม้ความต่างกันแห่งสังขาร นตฺถิ
ย่อมไม่มี เนสํ แก่จิตสองดวงเหล่านั้น อภาวโต
เพราะไม่มี สภาวติกฺขตาย จ
ความเป็นจิตกล้าแข็งตามสภาพ อุสฺสาเหตพฺพตาย จ
และความเป็นจิตที่ต้องกระตุ้น ฯ[๗๗]
โหนฺติ
เจตฺถ –
จ อนึ่ง เอตฺถ
ในเรื่องนี้ โหนฺติ มี คาถารวมความ ดังนี้ ฯ
โสเปกฺขํ สพฺพทา โน จ, ภินฺนํ สงฺขารเภทโตฯ
‘‘น หิ ตสฺส สภาเวน, ติกฺขตุสฺสาหนียตา;
อตฺถิ สํสปฺปมานสฺส, วิกฺขิปนฺตสฺส สพฺพทา’’ติฯ
(จิตฺตทฺวยํ จิตสองดวง) เอกเหตุกํ
ที่มีเหตุเดียว โสเปกฺขํ เป็นไปพร้อมกับอุเบกขาเวทนา มุฬฺหตฺตา เจว
เพราะความเป็นจิตที่ลุ่มหลง สํสปฺปวิกฺเขปา จ และเพราะความสับสนฟุ้งซ่าน
จ นอกจากนี้ โน ภินฺนํ จิตสองดวงนั้น ยังไม่แตกต่างกัน สงฺขารเภทโต
โดยความต่างกันแห่งสังขาร สพฺพทา ในกาลทั้งปวงฯ หิ จริงอยู่ ติกฺขตฺตา
ความกล้าแข็ง สภาเวน โดยสภาวะ อุสฺสาหนียตา ความเป็นจิตที่ถูกกระตุ้น
ตสฺส จิตฺตทฺวยสฺส ของจิตสองดวงนั้น สํสปฺปมานสฺส ซึ่งกำลังสับสน วิกฺขิปนฺตสฺส
ฟุ้งซ่าน น อตฺถิ ย่อมไม่มี สพฺพทา ทุกเมื่อ.[๗๘]
โมเหน มุยฺหนฺติ
อติสเยน มุยฺหนฺติ มูลนฺตรวิรหโตติ โมมูหานิฯ
ยานิ จิตฺตานิ
จิตเหล่าใด มุยฺหนฺติ ย่อมหลง โมเหน โดยโมหะ สมฺมุยฺหนฺติ
คือ ย่อมลุ่มหลง อติสเยน
เป็นอย่างยิ่ง มูลนฺตรวิรหโต เพราะปราศจากจากเหตุอื่น อิติ เพราะเหตุนั้น
ตานิ จิตฺตานิ จิตเหล่านั้น โมมูหานิ ชื่อว่า โมมูหะ จิตที่ลุ่มหลงงมงายอย่างยิ่งฯ[๗๙]
อธิบายสรุปอกุศลจิต
๑๒ ดวง
อิจฺเจวนฺติอาทิ
ยถาวุตฺตานํ ทฺวาทสากุสลจิตฺตานํ นิคมนํฯ
อิจฺเจวนฺติอาทิ
ประโยคมีคำเริ่มต้นว่า อิจฺเจวํ นิคมนํ[๘๐] เป็นที่จบลง ทฺวาทสากุสลจิตฺตานํ ของอกุศลจิต ๑๒ ดวง
ยถาวุตฺตานํ มีประการดังกล่าวแล้วฯ
ตตฺถ
อิติสทฺโท วจนวจนียสมุทายนิทสฺสนตฺโถฯ เอวํสทฺโท วจนวจนียปฏิปาฏิสนฺทสฺสนตฺโถ
ตตฺถ ในศัพท์ว่า
อิจฺเจวํ เป็นต้นนั้น อิติสทฺโท อิติศัพท์ วจนวจนียสมุทายนิทสฺสนตฺโถ[๘๑]มีความหมายว่า
ชี้ให้เห็นกลุ่มคำศัพท์และจิตที่ศัพท์นั้นกล่าวถึง. เอวํสทฺโท เอวํศัพท์ วจนวจนียปฏิปาฏิสนฺทสฺสนตฺโถ[๘๒]
มีความหมายว่าชี้ให้เห็นลำดับแห่งคำศัพท์และจิตที่ศัพท์นั้นกล่าวถึง ฯ
นิปาตสมุทาโย วา เอส วจนวจนียนิคมนารมฺเภ. อิจฺเจวํ
ยถาวุตฺตนเยน สพฺพถาปิ โสมนสฺสุเปกฺขาทิฏฺฐิสมฺปโยคาทินา ปฏิฆสมฺปโยคาทินา
วิจิกิจฺฉุทฺธจฺจโยเคนาติ สพฺเพนปิ สมฺปโยคาทินา อากาเรน ทฺวาทส
อกุสลจิตฺตานิ สมตฺตานิ ปรินิฏฺฐิตานิ
สงฺคเหตฺวา วา อตฺตานิ คหิตานิ วุตฺตานีติ อตฺโถ ฯ
วา
อีกอย่างหนึ่ง เอส [เอโส อิจฺเจวํสทฺโท] อิจฺเจวํศัพท์นี้
นิปาตสมุทาโย ที่เป็นกลุ่มนิบาต [๘๓]
[ปวตฺโต] เป็นไป [๘๔]
วจนวจนียนิคมนารมฺเภ [๘๕]
ในการแต่งคำสรุปจิตที่ศัพท์นั้นกล่าวถึง ฯ
อิติ อตฺโถ มีความหมายว่า
ทฺวาทส อกุสลจิตฺตานิ อกุศลจิต
๑๒ สมตฺตานิ [๘๖] = ปรินิฏฺฐิตานิ [๘๗] จบคือสำเร็จแล้ว วา หรือ สงฺคเหตฺวา ที่รวบรวมแล้ว อตฺตานิ
คหิตานิ ถือเอา[๘๘]
=
วุตฺตานิ คือกล่าวไว้ [๘๙]สพฺพถาปิ
แม้โดยประการทั้งสิ้น = สพฺเพนปิ สมฺปโยคาทินา
อากาเรน [๙๐]
คือ โดยอาการมีสัมปโยคะเป็นต้นแม้ทั้งหมด อิติ คือ โสมนสฺสุเปกฺขาทิฏฺฐิสมฺปโยคาทินา โดยอาการมีสัมปโยคะกับโสมนัสอุเบกขาและทิฏฐิเป็นต้น
ปฏิฆสมฺปโยคาทินา มีสัมปโยคะกับปฏิฆะเป็นต้น วิจิกิจฺฉุทฺธจฺจโยเคน [๙๑]
และสัมปโยคะกับวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ อิจฺเจวํ ด้วยประการอย่างนี้ = ยถาวุตฺตนเยน [๙๒] คือ โดยนัยตามที่กล่าวแล้ว.
ตตฺถ
กุสลปฏิปกฺขานิ อกุสลานิ มิตฺตปฏิปกฺโข
อมิตฺโต วิยฯ ปฏิปกฺขภาโว จ
กุสลากุสลานํ ยถากฺกมํ
ปหายกปหาตพฺพภาเวน เวทิตพฺโพ ฯ
ตตฺถ = ตสฺมึ
อกุสลจิตฺตานิ อิติ ปเท ในบทว่า อกุศลจิต นั้น (ปณฺฑิเตน บัณฑิต เวทิตพฺโพ
พึงทราบ อตฺโถ เนื้อความ อกุสลสทฺทสฺส ของคำว่า อกุสล เอวํ ดังต่อไปนี้)[๙๓]
(จิตฺตานิ จิต) กุสลปฏิปกฺขานิ ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกุศลจิต อกุสลานิ[๙๔] ชื่อว่าอกุศล วิย ดุจ มิตฺตปฏิปกฺโข
ชนผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อมิตร อมิตฺโต
ชื่อ อมิตร ฉะนั้น จ อนึ่ง[๙๕] ปณฺฑิเตน บัณฑิต เวทิตพฺโพ
พึงทราบ ปฏิปกฺขภาโว ความเป็นคู่ปรับกัน[๙๖] กุสลากุสลานํ แห่งกุศลและอกุศลปหายกปหาตพฺพภาเวน
โดยความเป็นผู้ละและเป็นธรรมที่ควรละ ยถากฺกมํ ตามลำดับ [๙๗]
ฯ
อฏฺฐธาติอาทิ สงฺคหคาถาฯ โลโภ จ โส สุปฺปติฏฺฐิตภาวสาธเนน มูลสทิสตฺตา มูลญฺจ ตํ เอเตสนฺติ โลภมูลานิ จิตฺตานิ
เวทนาทิเภทโต อฏฺฐธา สิยุํ ตถา โทสมูลานิ
สงฺขารเภทโต ทฺวิธา โมหมูลานิ
สุทฺโธ โมโหเยว มูลเมเตสนฺติ
โมหมูลสงฺขาตานิ จิตฺตานิ สมฺปโยคเภทโต
เทฺว เจติ อกุสลา ทฺวาทส สิยุนฺติ
อตฺโถ ฯ
อฏฺฐธาติอาทิ คาถา[๙๘]คาถามีคำเริ่มต้นว่า อฏฺฐธา
อยํ นี้ สงฺคหคาถา [๙๙]
เป็นคาถาแสดงความย่อ โหติ ย่อมเป็นฯ อิติ = อตฺโถ คำอธิบายความ [๑๐๐](สาธิปฺปาโย
พร้อมทั้งความประสงค์ อฏฺฐธาทิสงฺคหคาถาย แห่งคาถาสังคหะนั้น) อยํ นี้ว่า
โลโภ จ โลภะด้วย โส โลโภ โลภะนั้น มูลํ จ ชื่อว่าเป็นมูลด้วย
[๑๐๑]มูลสทิสตฺตา เพราะเป็นเช่นกับด้วยรากของต้นไม้[๑๐๒]
สุปฺปติฏฺฐิตภาวสาธเนน โดยให้เกิดความตั้งอยู่อย่างดีแห่งสัมปยุตธรรม, ตํ
โลภมูลํ[๑๐๓]โลภอันเป็นมูลนั้น
เอเตสํ จิตฺตานํ
ของจิตเหล่านี้ (อตฺถิ)
มีอยู่ อิติ เหตุนั้น เอตานิ
จิตฺตานิ จิตเหล่านี้ โลภมูลานิ[๑๐๔] ชื่อว่า
มีโลภะเป็นมูล สิยุ◦ พึงมี อฏฺฐธา
๘ เวทนาทิเภทโต โดยประเภทเวทนาเป็นต้น, จิตฺตานิ
โทสมูลานิ จิต ที่ชื่อว่าโทสมูล ตถา ก็มีวิเคราะห์เช่นนี้เหมือนกัน[๑๐๕]
สิยุํ พึงมี เทฺวธา ๒ อสงฺขารเภทโต โดยประเภทสังขาร,จ แม้ [๑๐๖] จิตฺตานิ จิต
โมหมูลานิ ที่ชื่อว่าโมหมูล โมหมูลสงฺขาตานิ คือที่เรียกว่า มีโมหะเป็นมูล[๑๐๗] อิติ
เพราะว่า โมโห เอว โมหะเท่านั้น สุทฺโธ อย่างเดียว[๑๐๘]
เป็นมูล เอเตสํ จิตฺตานํ ของจิตเหล่านี้ เทฺว สิยุํ [๑๐๙]
พึงมี ๒ สมฺปโยคเภทโต โดยประเภทสัมปโยคะ[๑๑๐],
อกุสลจิตฺตานิ อกุศลจิต
ทฺวาทส มี ๑๒ อิติ ด้วยการจำแนกเป็นประเภทนี้
[๑๑๑]ฯ
อกุสลวณฺณนา
นิฏฺฐิตา.
[๑] ภูมิ
คือ สถานที่เกิดของสัตว์หรือธรรม, ได้แก่
ฐานภูมิและอวัตถาภูมิฯ ภูมิในคำว่า
อวัตถาภูมิ มีความหมายว่า กำหนด. จริงอยู่
แม้ธรรมที่เป็นอวัตถา (สิ่งที่มากำหนด ในที่นี้หมายถึงตัณหา)
ก็ถูกถือเอาเหมือนกับว่าเป็นสถานที่เป็นไปแห่งธรรมที่ถูกกำหนด (ในที่นี้ได้แก่ จิต
๔ ประเภท), หมายความว่า ในที่นี้หมายเอาตัณหา ที่เรียกว่า
อวัตถา
ว่าเป็นภูมิของจิตว่ามีตัณหาชนิดไหน หรือไม่มีตัณหาเลย. ในภูมิสองประการเหล่านั้น
ภาวะที่กามาวจรธรรมเป็นต้น ถูกกามตัณหาเป็นต้นกำหนดแบ่ง ไว้ ชื่อว่า อวัตถาภูมิฯ
แต่สำหรับโลกุตรธรรม ได้แก่ ภาวะที่ไม่ถูกกามตัณหาเป็นต้นเหล่านั้นกำหนดแบ่งไว้
ฯ ในภูมิสองประการเหล่านั้น
ธรรมอันเป็นไป ๓ ภูมิ เป็นได้ทั้ง ๒ ภูมิ ,
แต่โลกุตรธรรม เป็นได้เฉพาะอวัตถาภูมิ. โลกุตรจิต
สงเคราะห์ได้ในอวัตถาภูมิ โดยอาศัยความไม่มีของตัณหาเป็นเครื่องกำหนด นั่นเอง.
[๒] ชาติ
คือ กลุ่มเป็นที่จัดกุศลธรรมเป็นต้น แม้ที่แตกต่างกัน ให้เป็นเหมือนกับว่า เป็นธรรมที่เหมือนกัน
ฯ ได้แก่ ธรรมที่มีอาการเหมือนกันฯ แต่ในคัมภีร์ไวยากรณ์ อธิบายว่า ชาติ ได้แก่
กลุ่มเป็นที่จัดธรรมที่มีความรู้และชื่อ อันไม่ต่างกัน หมายความว่า
ความเหมือนกัน". อธิบายพอได้ใจความว่า
กุสลธรรมเป็นต้น เป็นธรรมที่ถูกรู้ได้ว่าธรรมพวกนี้เป็นกุศล และ
มีชื่อว่ากุศลเหมือนกัน แต่มีอยู่มากมายหลายประเภทเช่นกามกุศล รูปาวจรกุศลเป็นต้น
หรือ ศรัทธา ปัญญาเป็นต้น ซึ่งนำมารวมไว้ในกลุ่มเดียวกัน โดยอาการเดียวกัน คือ
มีสภาพที่ทำลายธรรมอันบัณฑิตเกลียดเป็นต้น
ดังนั้นกลุ่มที่ใช้รวมธรรมดังกล่าวที่มีอาการเหมือนกันเรียกว่า ชาติ.
[๓] สัมปโยคะ
คือ การที่จิตประกอบเป็นอันเดียวกันหรือร่วมกับโสมนัสเวทนาเป็นต้น
ด้วยประการต่างๆมีการเกิดพร้อมกันเป็นต้น,
หรือเป็นภาวะที่ระคนกันเนื่องด้วยอาการมีการเกิดพร้อมกันเป็นต้นฯ
[๔] จิตที่ได้อุทเทสไว้นั้นยังจำแนกเป็นประเภทต่างๆ
คือ สังขาร, ฌาน, อารมมณ์ และ มรรค
อีกด้วย. ในกรณีนี้ท่านไม่รวมประเภทแห่งญาณ ในคำว่า ญาณสัมปยุต
เพราะจัดอยู่ในประเภทสัมปโยคแล้ว ดังท่านกล่าวไว้ว่า "ต่อไปนี้
จักแสดงจำแนกจิตโดยประเภทแห่งภูมิ ชาติ สัมปโยค สังขาร ฌาน อารมณ์ และมรรค ก่อน”
ควรทราบว่าในเภทนัยทั้งหมดนั้นเป็นคำกล่าวตามที่ควรจะได้เท่านั้น กล่าวคือ
กามาวจรจิต สามารถจำแนกโดยเภทนัยคือ ชาติ ภูมิ สัมปโยค และสังขาร. รูปาวจรจิต
ได้เภทนัย คือ ชาติ ภูมิ และฌาน, รูปาวจรจิตได้เภทนัย คือ
ชาติ ภูมิและอารมณ์, โลกุตตรจิต ได้เภทนัย คือ ชาติ ภูมิและมรรค.
[๕] ตาว
ศัพท์ เป็นไปในอรรถว่า ปฐม ก่อน, กม ลำดับ, วตฺตพฺพนฺตราเปกฺขน มองหาคำที่ควรกล่าวถัดไป,
อนุชานน อนุญาตฯ ข้อความว่า ตาว ศัพท์ ย่อมเป็นไปในอรรถแห่งศัพท์ว่า "ปฐมํ"
นี้ เป็นต้น แสดงว่า ในที่นี้ใช้ในอรรถว่า ปฐม ก่อน ฯ
[๖] วิธ
ศัพท์ มีความหมายว่า มาน มานะ, โกฏฐาส ส่วน ดังนั้นเพื่อปฏิเสธอรรถเหล่านั้น
จึงแสดงว่า วิธา คือ ปการา
ดังนี้ไว้ฯ อนึ่ง ปการ ศัพท์
มีความหมายว่า ตุลฺย เหมือนกัน ๑ เภท
ประเภท ๑ ฯ แต่ในที่นี้ เอาความหมายว่า ตุลฺย เหมือนกันฯ
[๗] ข้อความที่ท่านจะกล่าวต่อจากนี้ไปว่า
กาเมตีติ กาโม ฯปฯ อาทีสุ วิย คัมภีร์มณิสารมัญชูสา ท่านแนะนำไว้เป็นเบื้องต้นว่า การกำหนดแบ่งภูมิของจิต มี ๒ ประการ คือ
แบ่งภูมิด้วยเนื่องด้วยมุขยะ และอุปจาระ. การกำหนดภูมิโดยตรง มี ๔ ประการ คือ
ธรรมที่ยึดเหนี่ยว (อารมณ์) ๑, ธรรมที่เกิดร่วมกัน ๑, ธรรมที่ถูกยึดเหนี่ยว
(ตัณหา ซึ่งเป็นตัวรู้อารมณ์) ๑, และการให้วิบาก ๑.ดังนั้น คำว่า
จึงจัดกามาวจรจิตได้โดยมุขยะ (โดยตรง) และ อุปจาระ
(โดยอ้อมหรือโดยโวหาร).
ซึ่งจะได้ขยายความพอสังเขปสืบไป.พึงทราบว่า การกำหนดชื่อว่ากามาวจรของจิต ๕๔
นี้ ในคัมภีร์อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา แสดงไว้เพียงอย่างเดียวคือ โดยอารมณ์ ที่เรียกว่า
ทำให้เป็นอารมณ์ ส่วนที่เหลืออีก ๓ ไม่ได้แสดงว่า แต่ในปกรณ์อื่นๆ คือ
อภิธัมมาวตารฎีกาได้แสดงไว้่ ดังนั้น ในที่นี้งดการแสดงเช่นนั้นไว้.
[๘] วิเคราะห์นี้ว่า
สา เอตฺถ อวจรติ อารมฺมณกรณวเสนาติ กามาวจรํ กามตัณหานั้นเที่ยวไปในกามภพ
โดยกระทำให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่า กามาวจร ดังนี้ ชื่อว่า การกำหนดภูมิโดยตรง
เนื่องด้วยเป็นผู้ถูกยึดเหนี่ยว คือเป็นผู้รู้อารมณ์. เพราะเหตุนั้น ในอภิธัมมาวตารฏีกา
จึงกล่าวว่า กาม แม้ทั้งสองประการ คือ กิเลสกามและวัตถุกาม ย่อมเที่ยวไปในภูมินี้
โดยเกิดพร้อมกัน ตามควร เพราะฉะนั้น ภูมินี้ จึงชื่อว่า กามาวจรฯ อีกนัยหนึ่ง
จิตนี้ ย่อมเที่ยวไปในกาม แม้ทั้งสองประการ โดยกระทำให้เป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า กามาวจรฯ
[๙] วิเคราะห์ว่า
กาเม เยภุยฺเยน อวจรตีติ กามาวจรํ จิตนี้ ย่อมเที่ยวไปในวัตถุกามโดยมาก
ชื่อว่า กามาวจร ชื่อว่า การกำหนดภูมิเนื่องด้วยธรรมที่ยึดเหนี่ยว (อารมณ์).
หมายความว่า จิตชื่อว่า กามาวจรจิต เพราะเป็นจิตที่เนื่องในกามธาตุ
โดยเป็นอารมณ์ของกามตัณหา, และจิตนั้น
ย่อมเป็นอันหยั่งลงเที่ยวไปในกามภพโดยมาก เหตุที่เป็นธรรมที่เนื่องอยู่กับกามธาตุ.
ดังที่พระมูลฎีกาจารย์ (พระอานันทาจารย์) แสดงว่า “ชื่อว่ากามาวจรเป็นต้น
เพราะภาวะที่เป็นอารมณ์ของกามตัณหาเป็นต้น ดังนี้ ด้วยวิเคราะห์นี้ว่า กามตัณหา
ชื่อว่า กามฯ รูปตัณหาและอรูปตัณหา ก็ชื่อว่า รูป และ อรูป อย่างนั้นฯ
จิตเหล่านั้น ย่อมเที่ยวไปในประเทศใด ด้วยอำนาจทำให้เป็นอารมณ์, ประเทศเหล่านั้น ชื่อว่า กามาวจรเป็นต้น. บัณฑิต
พึงทราบคำที่ท่านกล่าวไว้ในนิกเขปกัณฑ์ว่า เอตฺถาวจรา เที่ยวไปในที่นี้
หมายเอาความเป็นอารมณ์ของกามตัณหา
ซึ่งมีโอกาสอันกำหนดไว้ด้วยอวีจิมหานรกและสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวัสวัตตี”. และพระอนุฏีกาจารย์ (พระธัมมปาลาจารย์) ก็กล่าวว่า “ก็โดยที่กามตัณหาเป็นธรรมถูกยึดเหนี่ยว
กามตัณหาจึงจัดเป็นธรรมที่เนื่องในกามธาตุ อันมีสภาพหยั่งลงเที่ยวไป
ในกามกล่าวคือกามภพ, ไม่เที่ยวไปในภูมิอื่น
เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า เอตฺถาวาจรา”.
คำว่า
อันกามตัณหาย่อมปรารถนา มีข้อโต้แย้งว่า ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว สุคติภพเท่านั้น จะพึงมีชื่อว่ากาม, ทุคติภพ ไม่ใช่, เพราะกามตัณหาไม่ปรารถนาฯ
ตอบ มิได้หรอก, เพราะถูกภวนิกันติราคะ ปรารถนาฯจริงอย่างนั้น
ในขณะที่เกิดความยินดีในอุปปัตติภพ, แม้ทุคติภพนั้น
ชื่อว่า ถูกความยินดีนั้นปรารถนาแล้ว
เพราะเป็นภพที่ถูกความยินดีนั้นน้อมเข้าไป โดยให้เป็นที่อยู่ของมันฯ อีกอย่างหนึ่ง
ทุคติภพนั้น ก็ยังถูกกิเลสกามนั้นปรารถนานั่นเองโดยอัชฌาสัยพื้นเพ
เพราะไม่พ้นสภาพนั้นไปได้ เนื่องจากกามราคะยังไม่ถูกอนาคามิมรรคละได้ฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสัตว์ถือเอาทุคติภพที่ไม่น่ายินดีว่า
น่ายินดี ด้วยอำนาจความสำคัญที่เคลื่อนจากความจริง,
แม้ทุคตินั้น ย่อมเป็นอันถูกกิเลสกามปรารถนาอยู่นั่นเองฯ ก็เพราะเหตุนั้นแล
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า "กามราคานุสัย นอนเนื่องในเวทนา ๒ ในกามธาตุ"
[๑๐] มีคำอธิบายว่า
"เปรียบเหมือนว่า ช้างศึก ได้ชื่อว่า สังคามาวจร เพราะเที่ยวไปในสงครามโดยมาก
แม้เที่ยวไปในเมือง เขายังเรียกว่า สังคามาวจร อยู่นั่นเอง
เพราะเที่ยวไปในสงครามโดยมาก ฉันใด, แม้จิตนี้ ก็เหมือนกัน
แม้เที่ยวไปในรูปภพและอรูปภพ ก็ยังเรียกว่า กามาวจร นั่นแหละ
เพราะท่องเที่ยวไปในกามภพโดยมาก ดังนี้แลฯ แม้รูปาวจรจิตและอรูปาวจรจิต ก็มีนัยนึ้
คือ ไม่เป็นไปเฉพาะรูปาวจรภูมิเท่านั้น แต่เป็นไปในกามาวจรภูมิ
และอรูปาวจรภูมิก็ได้ แต่เป็นไปในรูปาวจรภูมินั้นโดยมาก.
แม้อรูปาวจรจิตก็มีนัยนี้.
[๑๑] หมายความว่า
กามภพ ๑๑ ประเภทนี้นั่นเอง ชื่อว่า กามาวจร เพราะเป็นที่เป็นไปแห่งกาม ๒ ประเภทฯ
ถาม ก็ เพราะธรรมแม้เหล่าอื่นในกามภพนี้ก็มีสภาพเป็นไป มิใช่หรือ, การที่กามาวจร
ได้ชื่อมา ด้วยอำนาจเป็นที่เที่ยวไปแห่งกามเท่านั้น ได้อย่างไรฯ ตอบ ได้
เพราะกามภพ ๑๑ ภูมินี้ ถูกกำหนดไว้ด้วยกามทั้งสองประเภทนั้นฯ เปรียบเหมือนว่า
ประเทศที่นายพรานเที่ยวไป เรียกว่า สสัตถาวจร ประเทศที่นายพรานเที่ยวไป
เพราะถูกกำหนดหมายไว้ด้วยนายพรานเหล่านั้น แม้ว่าจะมีสัตว์สองเท้า สี่เท้าอื่น ๆ
จะเที่ยวไปอยู่ก็ตาม ฉันใด, ถึงกามภพนี้ ก็เหมือนกัน ยังเรียกว่า กามาวจร นั่นแหละ
เพราะกามภพนี้ถูกกำหนดหมายเอาด้วยกามนั้น แม้จะมีธรรมเหล่าอื่นมีรูปาวจรเป็นต้นอยู่ก็ตาม
ฯ
[๑๒] วิเคราะห์นี้แสดงการกำหนดแบ่งภูมิ
แม้ด้วยอุปจาระ (แสดงโดยโวหาร). กล่าวคือ ถึงระบุสถานที่เที่ยวไป
ด้วยวจนัตถะดังกล่าวมาก็จริง แต่กระนั้นจิตเป็นไปในกามาวจรภพนั้น ก็ชื่อว่า กามาวจร เหมือนประโยคตัวอย่างว่า
มญฺจา อุกฺกุฏฺฐึ กโรนฺติ เตียงโห่ร้อง.
จะเห็นว่า ท่านเรียกผู้อาศัยเตียงว่า เตียง ด้วยคำว่าที่อาศัย
แทนผู้อาศัยได้
เนื่องจากสามารถกำหนดความได้ด้วยการรู้ถึงความไม่ต่างกันระหว่างผู้ให้อาศัยและผู้มาอาศัย
ฉันใด, ในข้อนี้ ก็เหมือนฉันนั้น จิตถึงจะเป็นไปในกามาวจรภพนั้น ก็เรียกว่า
กามาวจร โดยนิสสยูปจาระ การเรียกชื่อว่า ผู้อาศัย ในธรรมเป็นที่อาศัย
เพราะจิตนั้นอาศัยคือ เป็นไปในกามภพนั้น.
[๑๓] อีกนัยหนึ่ง
อลํ = นตฺถิ ไม่มี ปโยชนํ
ประโยชน์ อตฺถวณฺณนาย ด้วยการขยายความ กามาวจรสทฺทสฺส
ของกามาวจรศัพท์ อติวิสารณิยา = อติวิตฺถารภูตาย
กถาย ด้วยคำที่พิสดารเกิน โสตุชนานํ
สำหรับนักศึกษา คนฺถภีรุกานํ ผู้กลัวคัมภีร์.
[๑๔] ฐานูปจาร
= ฐานิมฺหิ ฐานสฺส อุปจาโร การยกฐานะ คือ ที่อยู่
เข้าไว้แทนที่ ฐานี สิ่งที่อยู่. ในทีนี้ กามาวจร ชื่อว่า ฐานะ
เพราะเป็นภพที่เที่ยวไปของจิต แต่เรียกจิต ๕๔ ดวง ที่อาศัยอยู่ใน กามภพนั้นว่า
กามาวจร. เช่นนี้แหละที่เรียกว่า ยก ฐานะ คือ กามวจรภพ เข้าไว้ใน ฐานี คือ จิต ๖๔
ดวงนี้.
[๑๕] ความไม่มีอาสวะ
คือ ความไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ โลกุตตรธรรม ย่อมข้าม โดยความไม่มีอาสวะ
คือโดยความไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะทั้งหลายฯ อธิบายว่า
ไม่ใช่เพราะความไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานักขันธ์ฯ อันที่จริง แม้โลกุตตรธรรม
ย่อมเป็นอารมณ์แม้แก่อุปาทานักขันธ์ ในกาลที่พิจารณาเป็นต้นฯ หมายความว่า
แม้ในปัจจเวกขณญาณ พระโสดาบันเป็นต้น ครั้นบรรลุมรรคผลแล้ว
ก็จะมาพิจารณามรรคผลและนิพพานที่ตนได้แล้ว มรรคผลและนิพพานนั้น
ก็กลับมาเป็นอารมณ์ของกุศลจิตซึ่งนับว่าเป็นอุปาทานักขันธ์ได้อีกฯ อนึ่ง ในฏีกาอภิธัมมาวตาร
ท่านกล่าวความ(ที่โลกุตระ)เป็นธรรมที่ข้ามขึ้นแม้จากสัตตโลกและโอกาสโลก. ก็ในฏีกาอภิธัมมาวตารนั้นท่านกล่าวไว้ว่า โลก
มีความหมายว่า แตก และทำลาย. โลกนั้น มี ๓
ประการ คือ สังขารโลก สัตตโลก และ ภาชนโลกฯ จิตที่ข้ามจากโลกนั้น ชื่อว่า
โลกุตตรจิตฯ แท้ที่จริง มรรคทั้ง ๔
กำลังข้ามจากสังขารโลกคืออุปาทานักขันธ์ โดยความไม่มีอาสวะ, อนึ่ง ในสัตตโลก
โสดาปัตติมรรค ย่อมข้ามจากโลกที่ไม่ได้เป็นอริยะ ฯ สกทาคามิมรรค ข้ามจากโลกคือโสดาบัน,
อนาคามิมรรค ข้ามจากโลกคือสกทาคามี, อรหัตตมรรค ข้ามจากโลกคืออนาคามีฯ ส่วนในภาชนโลก ปฐมมรรค ข้ามจาก
โลกคืออบาย, สกทาคามิมรรค
ข้ามจากโลกคือกามส่วนหนึ่ง, อนาคามิมรรค ข้ามจากโลกคือกามทั้งสิ้น, อรหัตตมรรค
ข้ามจากรูปโลกและอรูปโลกฯ ด้วยประการดังนี้ มรรคจิตแม้ทั้ง ๔ ย่อมข้ามขึ้นจากโลก ๓
ประการ ดังนั้น ชื่อว่า โลกุตตระฯ
[๑๖] ได้แก่
โดยความไม่มีอาสวะ
[๑๗] กุศลจิต ๕๙ หมายถึงการจำแนกโลกุตรจิตเป็น ๘.
เอกนวุติยา กุศลจิต ๙๑ หมายถึง การจำแนกโลกุตรจิตเป็น ๔๐.
[๑๘] ท่านอาจารย์กล่าวว่า
วีถิจิตฺตวเสน โดยเป็นวิถีจิต หมายเอาคำท้วงว่า ภวังคจิตตุปบาทนั่นเอง
ย่อมเกิดในเบื้องต้นแห่งสัตว์ผู้ถือปฏิสนธิ มิใช่หรือ, มิใช่โลภสหคตจิตตุปปบาท ฯ
อธิบายว่า โลภสหคตจิตตุปปบาทเกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้ถือปฏิสนธิในเบื้องต้น
โดยเป็นวิถีจิต แต่ภวังคจิตตุปบาทเกิดขึ้นในเบื้องต้น โดยเป็นวิถีมุตตจิตฯ อนึ่ง
ที่ว่า โดยเป็นวิถีจิต หมายถึง
โดยเป็นวิถีจิตที่ประกอบด้วยภวนิกันติฯ
ถาม จิตพวกไหนเป็นจิตที่ประกอบด้วยภวนิกันติ นับแต่ปฏิสนธิ ? ตอบ จิตขณะที่ ๑๗ โดยกำหนดไว้ต่ำสุด,
แต่ควรทราบว่า โดยกำหนดไว้สูงสุดอาจเกินกว่า ขณะที่ ๑๗ นั้นก็ได้ ถาม ก็จะรู้คำว่า
โลภสหคตจิต เกิดขึ้นโดยความเนื่องกันแห่งวิถีจิต
ในเบื้องแรกของสัตว์ผู้ถือปฏิสนธิในภพทั้งหลาย ดังนี้ ได้อย่างไร ?
ตอบ
เพราะมีพระบาลี ในธรรมยมก ว่า "ในภังคักขณะแห่งอกุศลธรรมในปัญจโวการภพ
อกุศลธรรมทั้งหลายและอัพยากตธรรมของสัตว์เหล่านั้น ย่อมดับไป"
จึงรู้ได้อย่างนี้ว่า โลภสหคตจิต เกิดขึ้นเป็นลำดับที่ ๑๗ หลังปฏิสนธิจิตอย่างนี้
คือ ปฏิสนธิจิต ย่อมเกิดก่อน, อตีตภวังค์ ๑๒, ภวังคจลนะ ๑, ภวังคุปัจเฉทะ
เกิดขึ้นโดยลำดับแล้วย่อมดับไปในลำดับแห่งปฏิสนธิจิตนั้น, มโนทวาราวัชชนะ
ก็เกิดขึ้น ในลำดับแห่งภวังค์คุปัจเฉทะนั้น, โลภสหคตจิต จึงจะเกิดขึ้น ๗ ครั้ง
ในลำดับแห่งมโนทวาราวัชชนะนั้น ฯ
มูลฏีกา
อธิบายว่า "ด้วยพระบาลีว่า ในภังคักขณะแห่งอกุศลธรรม ในปัญจโวการภพ
อกุศลธรรมทั้งหลายและอัพยากตธรรมของสัตว์เหล่านั้น ย่อมดับไป " ดังนี้
ย่อมให้รู้ว่า "จิตที่สหรคตด้วยภวนิกันติ ย่อมเกิด เป็นลำดับที่ ๑๖ บ้าง
เกินกว่าลำดับที่ ๑๖ บ้าง หลังจากปฏิสนธิ, ไม่ต่ำกว่าลำดับที่ ๑๖ นั้น"
[๑๙] คือ
โมหมูลจิต ที่มีเหตุเดียวคือโมหเหตุ, ส่วนโลภมูลจิต ที่เรียกว่า โลภสหคตจิต และ
โทสมูลจิต ที่เรียกว่า โทมนัสสหคตจิต แม้ว่าจะมีเหตุต่างกัน คือ
โลภเหตุและโมหเหตุ, โทสมูลจิตมีเหตุ ๒ คือ โทสเหตุและโมหเหตุ
แต่ก็จัดว่าเป็นจิตมีเหตุ ๒ เท่ากัน จึงแสดงไว้ก่อน. การที่แสดงโลภมูลจิตก่อน
เพราะอาศัยการเกิดขึ้นเป็นลำดับแรกในภพของสัตว์ทั้งหลาย
[๒๐] คัมภีร์มณิสารมัญชุสากล่าวถึงเหตุผลในการแสดงข้อความนี้ไว้ว่า
ท่านพระฎีกาจารย์ หวังจะตอบปัญหา ๔ ข้อเหล่านี้ คือ
๑)
ควรแสดงกุศลจิตนั่นแหละเป็นลำดับแรก เพราะในบรรดาจิต ๔ ประเภท
ซึ่งแบ่งเป็นกามาวจรจิตเป็นต้น กามาวจรจิตมี ๔ ประเภท คือ กุศล อกุศล
วิบากและกิริยา, และ เนื่องจากปกรณ์นี้อาศัยปกรณ์ธัมมสังคณี
ท่านไม่แสดงเหมือนในธัมมสังคณีปกรณ์ที่ทรงแสดงกุศลจิตเป็นลำดับแรก
แต่แสดงอกุศลจิตและอเหตุกจิตนั่นเองก่อน ว่า โสมนสฺสสหคตํ ฯปฯ อฏฺฐารส
อเหตุกานิ เพื่ออะไร ? ๒)
ในบรรดาปาปจิตทั้งหลาย เพราะเหตุไร ท่านจึงแสดงโลภสหคตจิตไว้ก่อน ว่า
โสมนสฺสสหคตํ ฯปฯ โลภสหคตจิตฺตานิ นาม เป็นต้น, ๓) เพราะเหตุไร ท่านจึงได้แสดงโทมนัสสหคตจิตไว้ในลำดับแห่งโลภสหคตจิตนั้น, ๔) และเพราะเหตุไร
ท่านจึงแสดงเอกเหตุกจิตไว้ในลำดับแห่งโทมนัสสหคตจิตนั้น " ดังนี้
คำตอบของโจทย์
๔ ข้อนี้ เป็นอันพระฎีกาจารย์ท่านเฉลยไว้ในข้อความนั้นแล้ว. การอธิบายของคัมภีร์สังวรรณาแบบนี้
เป็นแนวทางหนึ่งของการสังวรรณนา เรียกว่า โจทกาโภคะและโจทนา คือ
ตั้งประโยคอธิบายโดยแสดงเป็นความคิดของอาจารย์ผู้ท้วงและการตั้งคำท้วง.
[๒๑] คัมภีร์มณิ.กล่าวว่า
เพราะศัพท์ในมโนคณาทิคณะ ถูกแสดงว่าเป็นนปุงสกลิงค์ [๒๑]
ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า สุนฺทรํ ไม่กล่าวว่า สุนฺทโรฯ ข้อนี้พ้องกับพระบาลีธัมมสังคณีว่า
"ยํ จิตฺตํ ตํ มโน จิต ชื่อว่า มโน, ยํ มโน ตํ จิตฺตํ
มโน ชื่อว่า จิตฯ และในอรรถกถาก็ว่า "สุขํ วโจ เอตสฺมินฺติ สุวโจ การว่ากล่าว
ได้ง่าย ในบุคคลนี้ มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า สุวโจ
ผู้มีการว่ากล่าวได้ง่าย, ทุกฺขํ วโจ เอตสฺมินฺติ ทุพฺพโจ
การว่ากล่าวได้โดยยาก มีอยู่ ในบุคคลนี้ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า ทุพฺพโจ
ผู้มีการว่ากล่าวได้โดยยากฯ อปฺปํ ราคาทิรโช ปญฺญามเย อกฺขิมฺหิ เอเตสนฺติ
อปฺปรชกฺขา ละอองคือราคะเป็นต้น ในตาคือปัญญา ของบุคคลนี้ น้อย เพราะเหตุนั้น
บุคคลนั้น ชื่อว่า มีละอองคือราคะเป็นต้นในตาคือปัญญาน้อย ฯ
ในศัพท์ที่เหลือก็มีนัยเช่นนี้”ฯ การที่คัมภีร์มณิ.กล่าวว่าเป็นนปุงสกลิงค์นี้
พบหลักฐานที่แสดงไว้เช่นนี้ คือ ในอภิธานัปปทีปิกาคาถาที่ ๑๕๑ ท่านแสดง มน
ศัพท์ว่าเป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์ แม้ในพาลาวตารและสัททนีติก็กล่าวไว้เช่นนั้นเหมือนกัน, ส่วนในปทรูปสิทธิแสดงไว้ในปุงลิงค์อย่างเดียว.
และการยกอุทาหรณ์ในพระบาลีและอรรถกถามาแสดงยืนยันการใช้เป็นนปุงสกลิงค์แห่งมโนคณาทิคณศัพท์ได้
โดยชี้ให้เห็นว่า ศัพท์ดังว่านั้น เป็นนปุงสกลิงค์ โดยมีวิเสสนบทเป็นเครื่องสังเกต
คือ ยํ, สุขํ, ทุกฺขํ,
อปฺปํ ซึ่งมีรูปเป็นนปุงสกลิงค์ฯ แต่คัมภีร์วิภาวินีอัตถโยชนาว่า คำว่า
สุนฺทรํ เป็น นปุงสกลิงค์ฯ คำว่า มโน เป็น ปุงลิงค์ฯ แท้ที่จริง มน ศัพท์ เป็นได้
๒ ลิงค์ คือ ปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์ฯ ถ้าว่า มโน จะเป็นปุงลิงค์. ถ้าว่า มนํ
จะเป็นนปุงสกลิงค์ฯ ท้วงว่า อาจารย์ควรกล่าวว่า สุนฺทโร โดยเล็งถึงบทว่า มโน,
เหตุไร จึงไม่กล่าวอย่างนั้น แต่กล่าวว่า สุนฺทรํ เล่า.
แก้ว่า
จริง ฯ ที่กล่าวว่า สุนฺทรํ มโน ดังนี้ไว้ เพื่อให้รู้ว่า บทว่า สุนฺทรํ
เป็นนปุงสกลิงค์ มีวิภัตติเดียวกับปุงลิงค์ว่า มโน ดังนี้ฯ เพราะท่านไม่ได้สร้างสัททุทธรณะ
(รูปแบบการแสดงคำศัพท์) สุนฺทรํ มโน
ดังนี้ เพื่อให้รู้เนื้อความอันเป็นนปุงสกลิงค์ ของบทว่า มโน
ด้วยบทที่มีวิภัตติเดียวกันว่า สุนฺทรํ.
แต่ได้สร้างไว้ เพื่อแสดงว่า ในบางแห่ง ยังมีบทที่มีวิภัตติเดียวกัน
โดยมิได้เป็นนปุงสกลิงค์ ในศัพท์ปุงลิงค์อันเป็นมโนคณศัพท์ฯ อีกนัยหนึ่ง
พึงทราบวิเคราะห์นี้ว่า ตํ วา เอตสฺส อตฺถิ ฯ โดยที่
ตํศัพท์เล็งเอาบทในรูปวิเคราะห์ว่า สุนฺทรํ มโนฯ เพราะ ตํศัพท์
ระบุทั้งวากยะทีเดียวว่า สุนฺทรํ มโน ฯ ท้วงอีกว่า ท่านอาจารย์น่าจะกล่าวว่า โส
โดยเล็งถึงบทว่า มโน, เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่กล่าวอย่างนั้น แล้วกล่าวบทว่า ตํ ?
แก้ว่า จริง, เมื่อว่า โส ดังนี้แล้ว, เพราะ โส ศัพท์ เป็นปุงลิงค์ ตํศัพท์
จะครอบคลุมเฉพาะบทว่า มโน เท่านั้น แต่ไม่ระบุถึงบทว่า สุนฺทรํ ฯ แต่เมื่อว่า ตํ,
เพราะเป็นนปุงสกลิงค์ ตํศัพท์ จึงระบุทั้งวากยะ ว่า สุนฺทรํ มโน ได้ ดังนั้น
ท่านจึงว่า ตํฯ
ดังนั้น
ด้วยคำว่า จิตฺตํ หมายถึง สุมนศัพท์ เป็นตุลฺยาธิกรณสมาส
สมาสที่มีวิภัตติของสองบทในวากยะเท่ากัน ฯ ด้วยคำว่า ตํสมงฺคิปุคฺคโล
หมายถึง สุมนศัพท์ เป็นพฺยธิกรณสมาส สมาสที่มีวิภัตติของสองบทในวากยะต่างกันฯ
[๒๒] อภิธาน คือ ศัพท์เป็นเหตุเรียกเนื้อความ, ในที่นี้ได้แก่ สุมน ศัพท์ฯ พุทฺธิ
คือ ความรู้ ได้แก่ ญาณเป็นเหตุให้รู้ว่า ใจนี้ เป็นใจงาม, หรือ
บุคคลนี้ เป็นผู้มีใจงาม ฯ
ภาว คือ
เหตุแห่งใจที่งามหรือบุคคลผู้มีใจที่งามนั้น ชื่อว่า โสมนสฺสํ
เพราะความเป็นเหตุเป็นไปแห่งชื่อและปัญญาเครื่องรู้ในใจที่งามหรือบุคคลผู้มีใจที่งามนั้น. ภาว ในที่นี้มีอรรถว่า เหตุ
ไมใช่อรรถว่า มี หรือ สิ่งที่มี หมายความว่า เป็นเหตุของอภิธาน คือ ชื่อ และ พุทธิ
คือ ความรู้. มีวิเคราะห์ว่า ภวนฺติ เอตสฺมาติ
ภาโว, อภิธานพุทฺธิโย เอตสฺมา
เหตุโต ภวนฺติ ปวตฺตนฺติ อิติ
ตสฺมา โส เหตุ
ภาโว นาม, สุขเวทนาสงฺขาตํ ทพฺพํ ฯ ภาวะ คือ เป็นเหตุเป็นไป,
ชื่อเรียกและความรู้ ย่อมมี คือ เป็นไป จากเหตุนี้ ดังนั้น เหตุนั้น ชื่อว่า ภาวะ,
ได้แก่ ทัพพะ (องค์ธรรม, เนื้อความ, สภาพ,) กล่าวคือ สุขเวทนาฯ
ภาวศัพท์ในความหมายนี้มีอยู่
๕ คือ นาม (ชื่อ) ทัพพะ (รูปธรรมหรือตัวองค์ธรรมนั้นๆ) กิริยา
(อาการมีการไปเป็นต้น) ชาติ (ประเภทของสิ่งที่เหมือนกัน) คุณ
(คุณธรรมหรือคุณสมบัติ) เช่น จิตฺโต
วัวชื่อจิตตะ (นาม), วิสาณี วัวมีเขา (ทัพพะ
ในที่นี้หมายเอา วิสาณ เขาวัว ซึ่งเป็นเหตุเกิดของความรู้และชื่อว่า วิสาณี
วัวตัวนี้มีเขา ),
คนฺตา วัวตัวที่ไป (กิริยา), โค วัว (ชาติ หมายถึง
สัตว์ที่มีลักษณะอย่างนี้ทั้งหมด), ธวโล วัวสีขาว (คุณ)ฯ
ในที่นี้หมายเอา
สุนฺทร ศัพท์ ซึ่งจัดเป็น คุณ กล่าวคือ ภาวะที่ดี แห่งสุขเวทนา ซึ่งเป็นปวัตติเหตุ
กล่าวคือ เป็นสิ่งหนึ่งในรูปวิเคราะห์ว่า สุมนสฺส ภาโวฯ ส่วนสุขเวทนา จัดเป็น
ทัพพะ เพราะเป็นองค์ธรรมของนิปผันนะหรือปวัตติ กล่าวคือ โสมนัส และเพราะเป็นที่อาศัยชองคุณคือสุนทระ
หรือความดีฯ
[๒๓] สหคตศัพท์
เห็นใช้ในอรรถทั้งหลายเหล่านี้ คือ ตัพภาวะ อรรถของบทที่ตนประกอบนั้น, โวกิณณะ การแทรกแซง, นิสสยะ ที่อาศัย, อารัมมณะ อารมณ์, สังสัฏฐะ ระคนหรือเจือ, เมื่อแสดงว่า สำหรับในบทว่า โสมนสฺสสหคตํ นี้เป็นไปในสังสัฏฐะ ระคน จึงกล่าวว่า สํสฏฺฐํ จิตที่ระคน ด้วยโสมนัสนั้น
ดังนี้ไว้ฯ สํสฏฺฐ ศัพท์ เห็นใช้ในความหมายหลายประการคือ สทิสะ เหมือน , อวัสสุตะ ไม่ตั่งมั่น, มิตตสันถวะ
สนิทสนมโดยเป็นมิตร, สหชาตะ เกิดพร้อมกัน, สำหรับในบทว่า สหคตํ นี้
ใช้ในความหมายว่า สหชาตะความเกิดพร้อมกัน. ในวิเคราะห์ส่วนที่สอง ควรทราบว่า สห
ศัพท์ มีความหมายว่าทำให้เท่ากัน, คต ศัพท์ มีความหมายว่า
ถึง. อีกนัยหนึ่ง เมื่อให้รู้ว่า สห ศัพท์
กล่าวอรรถว่ากับ, คต ศัพท์ กล่าวอรรถว่าถึง,บรรลุ ดังนี้. สรุปได้ว่า
ความแตกต่างกันในสองนัยนั้นมีดังนี้, นัยที่หนึ่ง เป็นบทเดียวกันว่า สหคตํ,
ส่วนนัยที่สอง เป็นบทว่า สห บทหนึ่ง และ บทว่า คตํ บทหนึ่งฯ จึงมีรูปวิเคราะห์ว่า
โสมนัสสสหคตจิต ได้แก่ จิตที่ถึงพร้อม คือ ระคน ด้วยโสมนัสเวทนา
โดยความเนื่องกันแห่งภาวะมีการเกิดขึ้นเป็นอันเดียวกันเป็นต้น, หรือ ได้แก่
จิตที่ถึงความเกิดขึ้นเป็นอันเดียวกันเป็นต้นเหมือนกับโสมนัสเวทนาฯ
[๒๔] วิเสสวิสย
คือ มีอรรถซึ่งเป็นที่ไป กล่าวคือ เป็นความหมายของศัพท์นั้น ที่แตกต่างกัน
[๒๕] ปกรณ์
คือ ตามท้องเรื่องเป็นที่กล่าวคำศัพท์นี้ ที่ปัจจุบันเรียกว่า บริบท
วิ.ปกริยติ เอตฺถาติ ปกรณํ,
อตฺโถ ปณฺฑิเตนเอตฺถ ฐาเน
ปกริยติ กถิยติ อิติ
ตสฺมา ตํ ฐานํ
ปกรณํฯ ปกรณ คือ สถานที่กล่าวเนื้อความ, เนื้อความ
อันบัณฑิต ย่อมกล่าว ในที่นี้ เพราะเหตุนั้น ที่นี้ ชื่อว่า ปกรณ์ฯ กร ธาตุ มี ป
เป็นบทหน้า เป็นไปในอรรถว่า กล่าว+ยุปัจจัย.
ด้วยอาทิศัพท์สงเคราะห์เอาสิ่งที่ควรพิจารณาประกอบในการแปลความหมายของบทอีก ๕ คือ
ลิงค์ ลิงค์ของศัพท์นั้นโอจิตยา ความเหมาะสม, เทสะ สถานที่ กาล และเวลา
ดังที่มาในคัมภีร์โมคคัลลานฎีกาปัญจิกา (คำอธิบายสูตรที่ ๑ ว่า อ อาทโย)
อตฺถา
ปกรณา ลิงฺคา,
โอจิตฺยา เทสกาลโต;
สทฺทตฺถา
วิภชียนฺเต, น สทฺทาเยว เกวลาติฯ
สทฺทตฺถา ศัพท์และอรรถ วิภชียนฺเต
ย่อมถูกจำแนก อตฺถา โดยเนื้อความ, ปกรณา โดยปกรณ์ ลิงฺคา
โดยลิงค์, โอจิตฺยา โดยความเหมาะสม, เทสกาลโต โดยกาลและโดยสถานที่, สทฺทาเยว
ศัพท์เท่านั้น น วิภชียนฺเต
ไม่พึงถูกจำแนก เกวลา อย่างเดียว ฯ (คำแปลจาก หนังสือปทรูปสิทธิมัญชรี เล่ม
๑ น. ๑๒๗ โดย พระคันธาสาราภิวงศ์)
[๒๖] อีกนัยหนึ่ง
วิเสสวิสยตา ความที่ สามญฺญวจนสฺสาปิ
สทฺทสฺส แห่งคำศัพท์แม้เหมือนกัน – เป็นคำพูดมีวิสัย (เนื้อความเป็นที่ตั้งของศัพท์)ที่ต่างกัน เหตุภูเตน
ด้วยธรรมอันเป็นเหตุ อตฺถปฺปกรณาทินา มีอรรถ (หน้าที่,กิจ) และปกรณ์
(ข้อเรื่อง, สถานที่) เป็นต้น โหติ ย่อมเป็น หิ ยสฺมา เหตุใด
อิติ ตสฺมา เพราะเหตุนั้น อิธ ทิฏฐิคตสมฺปยุตฺตํ อิติ ปเท ในบทว่า
ทิฏฐิคตสมฺปยุตฺตํ นี้ มิจฺฉาทสฺสนเมว
ความเห็นผิดเท่านั้น วุจฺจติ ถูกเรียก อิติ ว่า ทิฏฺฐิ นาม
ชื่อว่า ทิฏฐิ อกุสลสงฺขาตปฺปกรเณน
ด้วยข้อเรื่องกล่าวคืออกุศล, สมฺมาทสฺสนํ
ความเห็นถูก น (ทิฏฺฐิ นาม อิติ วุจฺจติ) ไม่ถูกเรียกว่า ชื่อว่า ทิฏฐิฯ
คำนี้หมายถึงคำถามของผู้ตั้งคำถามโดยไม่แลดูเนื้อเรื่องและฐานะว่า
คำที่ท่านกล่าวว่า มิจฺฉา ปสฺสติ เห็นผิด เป็นอันระบุเอาความเห็นผิดเท่านั้น
ไม่ใช่หรือ, ก็เพราะเหตุไรเล่า ในบทว่า ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ นี้
จึงได้เรียกเฉพาะมิจฉาทิฏฐิว่า ทิฏฐิ,
ถึงความเห็นถูกก็น่าจะเรียกว่า ทิฏฐิ ได้ เพราะใช้คำว่า ทิฏฐิ
เหมือนกันฯ
[๒๗] แปลและประกอบความตามนัยของอัตถโยชนา
โดยเอว ศัพท์ มีอรรถอวธารณะ.อีกนัยหนึ่ง ทิฏฺฐิคตํ ทิฏฐิคตะ เอว คือ
ทิฏฺฐิ ทิฏฐิ. โดยนัยนี้ เอว มีอรรถสัมภาวนะ คือ ยกความหมายของศัพท์หน้าให้เท่ากับความหมายของศัพท์หลัง.
[๒๘] นัยนี้
แปลตามโยชนาที่ให้ประโยคหลังเป็นประโยคผล ส่วน คมนมตฺตํ เป็นประโยคเหตุ, แต่
มณิ.ให้เป็นประโยคอธิบายความหมาย จึงแปลได้อีกนัยหนึ่งว่า คมนมตฺตํ แก้เป็น
ปวตฺติมตฺตํ แปลว่า เป็นเพียงความเป็นไป หมายความว่า ในทิฏฐิเหล่านี้
ไม่มีธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอัตตาเป็นต้น คือ
ที่เป็นอัตตาและอัตตนิยะเป็นต้น ที่สัตว์จะพึงถึง หรือ รู้ได้
[๒๙] การยึดถือซึ่งธรรมว่าเป็นอัตตาและเป็นอัตตนิยะเป็นต้น หมายความว่า การยึดถือว่าเป็นอัตตา ตัวตน, อัตตนิยะ ความมีอยู่ในตน, นิจจะ
ความเที่ยง, ธุวะ ความยั่งยืน, สัสสตะ ความมั่นคง, และอวิปริณามธรรม
ความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดาฯ ดังที่มาปฏิสัมภิทามรรคว่า จักขุเป็นของสูญจากตน
จากสิ่งมีในตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน.
ด้วยข้อความนี้แสดงว่า
นอกจากทิฏฐิ ๖๒ ที่มาในพรหมชาลสูตร คือ ความเห็นผิดที่เกิดขึ้นร่วมกับจิตดวงนี้แล้ว
ยังรวมไปอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ (การยึดถืออย่างผิดๆว่า
สิ่งที่ตนยึดไว้เท่านั้นจริงสิ่งอื่นว่างเปล่า) และสีลัพพตปรามาส
(การยึดถือในศีลและปฏิบัติของตนว่าความบริสุทธิ์จะมีได้ก็ด้วยศีลนี้,ด้วยวัตรนี้)
เพราะมิจฉาทิฏฐิมี ๒ คือ สีลัพพัตต-ปรามาสและอิทังสัจจาภินิเวสะ. ที่เป็นไปว่า “จะมีความหมดจดได้ด้วยสีล”
ชื่อว่า สีลัพพัตตปรามาส. เว้นสีลัพพัตต-ปรามาสเสีย มิจฉาทิฏฐิที่เป็นไปว่า
“ความคิดนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า” ชื่อว่า อิทังสัจจาภินิเวสะ ดังพระบาฬีธัมมสังคณีว่า
"เว้นสีลัพพตปรามาสกายคันถะเสีย มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งปวง ชื่อว่า
อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ.
[๓๐] คำว่า
ประการ หมายถึง ธรรมที่ถูกแยกออกโดยความเหมือนกัน
(ป + กร + อ) วิ. เย วิเสสา ปกโรนฺติ สามญฺญโต ภิชฺชนฺตีติ
เต วิเสสา ปการา.
ธรรมที่ต่างกันเหล่าใด ย่อมย่อมแยก คือ ย่อมถูกแบ่งออกโดยความเหมือนกัน
เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นนั้น ชื่อว่า ปการ
[๓๑] คำว่า
เพิ่มกำลัง ได้แก่ ช่วยอุปถัมภ์ คือกระตุ้นให้เกิดความอุตสาหะฯ
[๓๒] คำว่า
จิตที่กำลังท้อแท้ หมายถึง แก่จิตที่กำลังท้อแท้ เพราะกายไม่สดชื่นและการครอบงำแห่งถินมิทธะเป็นต้นฯ
[๓๓] คำว่า
ในกิจนั้นๆ ได้แก่ ในกิจมีปาณาติปาตเป็นต้นนั้นๆ ฯ
[๓๔] ในขณะที่จะทำอกุศลมีปาณาติปาตเป็นต้น
เมื่อจิตกำลังท้อแท้ด้วยเหตุดังที่ได้กล่าวแล้ว, ความพยายามมิชอบ
ที่เป็นไปในทวารสาม โดยเกี่ยวกับว่ากระตุ้นให้เกิดอุตสาหะในจิตที่กำลังท้อแท้
ในเวลาที่กระทำอกุศลกรรมมีปาณาติปาตเป็นต้น ชื่อว่า ความพยายามของตนฯ อาณัติ
การบังคับ ที่เป็นไปในกายและวจีทวาร ของผู้อื่น โดยเกี่ยวกับให้เกิดอุตสาหะเพื่อทำอกุศลกรรมมีปาณาติปาตเป็นต้น
แก่ผู้ที่ปราศจากความอุตสาหะในการกระทำอกุศลดังกล่าวแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า
นี่แน่ะท่าน ขึ้นชื่อว่า การกระทำกรรมมีการฆ่าสัตว์เป็นต้น
เป็นงานสำหรับวงศ์ตระกูลของท่าน และเป็นหน้าที่ของท่านผู้แกล้วกล้าอาจหาญ
และเรี่ยวแรงสมบูรณ์, ด้วยว่า การงานนั้นจักเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ท่าน ดังนี้
ชื่อว่า ความพยายามของผู้อื่นฯ
ส่วนในฝ่ายกุศลควรมีคำอธิบายนี้ คำว่า
ในกิจนั้นๆ ได้แก่ ในกิจมีทานเป็นต้นนั้นๆ. คำว่า จิตที่กำลังท้อแท้
ได้แก่
จิตที่กำลังท้อแท้ด้วยอุปกิเลสทั้งหลายมีมลทินคือความตระหนี่และความง่วงเหงาเป็นต้น
ฯ
คำว่า ความพยายามที่เป็นไปก่อนหน้า
นี้ ความพยายามชอบที่เป็นไปในทวารทั้งสาม
โดยเกี่ยวกับการดับความเศร้าหมองและให้เกิดความอุตสาหะแก่จิต
ในเวลาที่จะกระทำกุศลมีการให้ทานเป็นต้น
ในขณะที่จิตกำลังท้อแท้ด้วยอุปกิเลสดังได้กล่าวแล้ว ชื่อว่า ความพยายามของตน
ฯอาณัติที่เป็นไปในทางกายทวารและวจีทวาร ของผู้อื่น
เกี่ยวกับว่าให้เกิดความอุตสาหะเพื่อทำกุศลโดยนัยอาทิว่า แน่ะคุณโยม
ธรรมดาว่าการทำกุศลเป็นแนวทางที่บัณฑิตมักคุ้นฯ
แม้คุณก็ควรดำเนินไปตามแนวทางนั้น,เพราะฉะนั้น
จงให้ทานรักษาศีลเถิด,เพราะข้อนั้นจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่คุณ ดังนี้
ชื่อว่า ความพยายามของผู้อื่น ฯ
[๓๕] ในคำว่า
อสงฺขารํ นี้ อ อักษร มีอรรถคือวิรห ปราศจากฯ ด้วยบทว่า ตเทว นี้
แสดงว่า บทว่า อสงฺขาริกํ เป็นบทที่มีลง ณิก ปัจจัยที่เป็นไปในสกัตถตัทธิต
คือ ตัทธิตป้จจัยที่ใช้ในความหมายของตนตามเดิมฯ
[๓๖] ในคำว่า
สสงฺขาริกํ ถ้าวิเคราะห์โดยอสปทวิคคหะ (วิเคราะห์โดยไม่ใช้บทของตนคือเป็นอาขยาตไม่ใช่กิตก์)
ว่า สห สงฺขาเรน วตฺตตีติ สสงฺขารํ ชื่อว่า สสังขาร เพราะเป็นไปกับด้วยสังขาร
เพราะสห ศัพท์ กล่าวเนื้อความคือการกระทำร่วมกัน. อนึ่ง ความหมายดังกล่าว
ไม่ได้หมายถึงปุพพปโยค เนื่องจากปุพพปโยคเป็นไปในจิตสันดานอื่น จิตดวงหลังจึงไม่มีปุพพปโยคนั้น
ฯ แต่หมายถึงความแกล้วกล้าที่เป็นไปในจิตสันดานครั้งหลัง
จิตที่เกิดครั้งหลังจึงมีความแกล้วกล้าแล้ว เพราะฉะนั้น ความแกล้วกล้านั่นแหละ
ซึ่งเป็นผล ก็ได้ชื่อว่า สังขาร โดยการณูปจาระ
(คำพูดที่กล่าวถึงเหตุแต่หมายถึงผล), ปุพพปโยค ที่เป็นเหตุ ไม่ได้ชื่อว่า สังขาร
ในคำว่า สสังขาริก นี้ฯ
[๓๗] นัยนี้
ตถา มีอรรถ ตโต เพราะเหตุนั้น ส่วน จ มีอรรถอวธารณะ, อีกนัยหนึ่ง ตถา ศัพท์
มีอรรถว่า ปการ แปลว่า ประการ, จ ศัพท์ มีอรรถอุปัญญาสะ
ต่อจากข้อความที่แล้ว แปลว่า อนึ่ง จึงประกอบความว่า ยถา เยน ปกาเรน ติกฺขภาโวว
อิธ สงฺขาโร นาม, น ปุพฺพปฺปโยโค, ตถา
เตน ปกาเรนาติ อตฺโถฯ ความแกล้วกล้าเท่านั้น ได้ชื่อว่า สังขาร โดยประการใด,
ไม่ใช่ปุพพปโยคะ, อาจารย์ทั้งหลาย ย่อมกล่าว (ซึ่งคาถาต่อไปนี้)
โดยประการนั้น.
[๓๘] อิทมตฺถิตา
แปลว่า สังขารที่มีในจิตนี้. วิเคราะห์ว่า อิมสฺมึ ปจฺฉิมจิตฺเต อตฺถิ วิชฺชตีติ
อิทมตฺถิ, ปุพฺพปฺปโยคสงฺขาโต สงฺขาโรฯ
อิทมตฺถิโน ภาโว อิทมตฺถิตาฯ
สังขารกล่าวคือปุพพปโยค ชื่อว่า อิทมตฺถิ เพราะเป็นสภาพมีในจิตดวงหลังนี้,
ความเป็นแห่งอิทมัตถิ ชื่อว่า อิทมัตถิตาฯ
[๓๙] คือ
โดยนัยที่กล่าวแล้วว่า สงฺขาโร ยสฺส นตฺถิ ตํ อสงฺขารํ ตเทว อสงฺขาริกํ
สังขารของจิตใด ย่อมไม่มี จิตนั้น ชื่อว่า อสังขาร, อสังขารนั่นเแหละ ท่านเรียกว่า
อสังขาริก.
[๔๐] วิปปยุต ได้แก่
ไม่มีการประกอบกันด้วยประการทั้งหลายมีการเกิดขึ้นร่วมกันเป็นต้นฯ วิ ศัพท์
มีอรรถว่า ไม่มี ฯ
[๔๑] สํ
อุปสัค ในบทนี้ มีอรรถว่า สุฏฺฐุ ดี ฯ แต่ในโยชนา ไขศัพท์ว่า สณฺฐิติ เป็น ปวตฺตนํ
ความเป็นไป ดังนั้น การแปลว่า ตั้งอยู่ด้วยดี จึงเป็นการแปลแบบสัททัตถนัย
ส่วนการแปลว่า ปวตฺตนํ ความเป็นไป เป็นการแปลแบบอธิปปายัตถนัย คือ
เอาเนื้อความที่ประสงค์ ซึ่งในที่นี้ได้แก่ ความเป็นไป ฯ แต่ในที่นี้
แปลตามนัยของคัมภีร์มณิสารมัญชูสา
[๔๒] แยกบทสมาสออกมาแล้วแปลตามนัยของคัมภีร์มณิสารมัญชูสา
ฯ
[๔๓] ถ้าเอาตามนัยของมณิสารมัญชูสา
ต้องแปลว่า ยา เวทนา เวทนาใด เวทยมานาปิ = อนุภาวมานาปิ เมื่อเสวย อารมฺมณรสํ รสของอารมณ์
มชฺฌตฺตาการสณฺฐิติยา = มชฺฌตฺตากาเร สุฏฺฐุ ฐานโต โดยการตั้งอยู่ ด้วยดี ในอาการคือสภาพที่เป็นกลาง อิกฺขติ =
อนุภวติ ชื่อว่า ย่อมเสวย อุปปตฺติโต =
ยุตฺติโต โดยความเหมาะสม อิติ =
ตสฺมา เพราะเหตุนั้น สา เวทนา
เวทนานั้น อุเปกฺขา นาม ชื่อว่า อุเบกขา ฯ
[๔๔] อิกฺข
ศัพท์ ในคัมภีร์อรรถกถาอัฏฐสาลินี ไขออกเป็น ปสฺสติ ย่อมเห็น
แต่ในโยชนาและมณิสารมัญชูสา ยืนยันว่า ถ้ามี อุป เป็นบทหน้า ให้มีความหมายว่า
อนุภวน การเสวยหรือครอบงำ ดังนั้น ในที่นี้ จึงแปลตามนัยของโยชนาและมณิสารมัญชูสา
แต่ถ้าจะยึดตามมติของอรรถกถาเป็นใหญ่ ต้องแปลว่า เห็น
[๔๕] อีกนัยหนึ่ง
แปลว่า สุขทุกฺขานํ อุเปตา = สมีเป ปวตฺตา เป็นไป ในที่ใกล้ แห่งสุขเวทนาและทุกขเวทนาทั้งหลาย. อีกนัยหนึ่ง
เมื่อให้บทว่า อุเปตา มีความหมายว่า สมนฺนาคตา บทว่า สุขทุกฺขานํ มีความเท่ากับ สุขทุกฺเขหิ ดังนั้น
จึงแปลว่า สุขทุกฺขานํ อุเปตา = สุขทุกฺเขหิ
สมนฺนาคตา เป็นไปร่วมกันกับสุขเวทนาและทุกขเวทนา
หมายความว่า อุเบกขาที่ไม่มีโทษรวมอยู่ในสุข
และที่เป็นไปในฝ่ายมีโทษรวมอยู่ในทุกข์ ฯ อีกนัยหนึ่ง อุเบกขาเวทนารวมอยู่ในสุข
ดังพระบาลีสังยุตนิกาย สคาถวรรค ที่ว่า "พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนา ๒ อย่าง คือ
สุขเวทนาและทุกขเวทนา ท่านผู้เจริญ
พระผู้มีพระภาคตรัสอุเบกขาไว้ในสุขอันสงบและประณีต"
[๔๖] ปน
ศัพท์ ในที่นี้ใช้อรรถวจนาลังการ ประดับประโยคให้งดงาม ซึ่งไม่มีความหมายอะไร
ไม่ต้องแปลก็ได้
[๔๗] วิธีการแสดงเช่นนี้เรียกว่า
อสาธารณนัย นัยที่ไม่ทั่วไป หมายความว่า กล่าวสิ่งที่เจาะจงไม่เกี่ยวกับสิ่งอื่น
กล่าวคือ เมื่อพูดเฉพาะคำว่า โลภมูลจิต ก็จะไม่ทราบว่า ได้แก่ โลภมูลจิตดวงไหน
ในบรรดาโลภมูลจิต ๘ ดวงนั้น. อนึ่ง แม้หากว่า ผัสสะ เป็นต้นก็ดี วิตกเป็นต้นก็ดี
โมหะเป็นต้นก็ดี จะประกอบได้ในโลภมูลจิตได้ก็ตาม แต่เพราะธรรมเหล่านี้
ยังสามารถเกิดได้ในอกุศลจิตดวงอื่นได้เช่นกัน ดังนั้น เมื่อกล่าวเจาะจงลงไปว่า
โสมนัสสหคต ทิฏฐิคตสัมปยุต อสังขาริก เป็นอันบอกได้ว่า เป็นจิตดวงใด
การกล่าวเช่นนี้เรียกว่า อสาธารณนัย เพราะเจาะจงเอาเหตุที่ไม่ทั่วไปแก่จิตดวงอื่น.
[๔๘] อาทิ
ศัพท์ ถือเอาอกุศลจิตและอัพยากตจิต ด้วย แต่พึงทราบว่า ปกิณณกเจตสิก ๖
ดวงมีวิตกเป็นต้นนี้ สาธารณะแก่จิตทุกประเภทมีกุศลจิตเป็นต้นตามควร คือบางส่วน
แต่ก็ไม่เป็นสาธารณะแก่กุศลจิตเป็นต้นทุกดวง เช่น วิตกเจตสิก ประกอบได้ในจิต ๕๕
ดวง ใน ๕๕ ดวงนี้ แบ่งออกเป็น อกุศลจิต ๑๒ ดวง อเหตุกจิต ๘ ดวง
(เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ดวง) มหากุศลจิต ๘ ดวง, มหาวิปากจิต
๘ มหากริยาจิต ๘ ดวง, ปฐมฌานกุศลจิต ๑ ดวง, ปฐมฌานวิปากจิต ๑ ดวง, ปฐมฌานกิริยาจิต ๑ ดวง, โลกุตรปฐมฌานจิต ๘ ดวงฯเป็นต้น
[๔๙] ด้วยอาทิ
ศัพท์ ถือเอา โมจตุกกะเจตสิกที่เหลืออีก ๓ ดวง คือ อหิริกะ อโนตตัปปะและอุทธัจจะ ฯ
[๕๐] อีกนัยหนึ่ง
ว่า เตหิ = ยถาวุตฺเตหิ ติวิเธหิ สมฺปยุตฺตธมฺเมหิ ด้วยสัมปยุตธรรม ๓ กลุ่มเหล่านั้น ดังกล่าว
[๕๑] ในมณิสารมัญชูสา
อธิบายเพิ่มเติมว่า วิชฺชมานาวิชฺชมานภาวโต เพราะความที่เหตุเป็นสิ่งที่มีอยู่และไม่มี
ฯ ส่วนในโยชนา อธิบายว่า สนฺนิหิต ได้แก่ สนฺนิธาน แปลว่า ฝังลง ดังนั้น สณฺฐิต
จึงได้ความหมายว่า โสมนัสแวทนาเป็นต้นมีการฝังตัวเข้าไปอยู่กับเหตุต่างๆ
ของความเป็นโสมนัสสหคตจิตเป็นต้น ที่ท่านจะแสดงต่อไปนั้นฯ นอกจากนี้ ท่านยังยกข้อความในคัมภีร์โมคคัลลานปัญจิกามามาอธิบายว่า
สนฺนิหิต ได้แก่ สมฺปตฺต ถึงพร้อมหรือสมบูรณ์นั่นเอง ฯ ดังนั้น สนฺนิหิต ศัพท์ ในที่นี้ ได้ความหมาย ๔
ประการ ตามนัยที่มาในมณิสารมัญชูสาและอัตถโยชนา ดังนี้ คือ ๑) สณฺฐิติ
ความที่เหตุตั้งอยู่พร้อมกับสัมปยุตธรรมมีโสมนัสเป็นต้น, ๒) วิชฺชมาน
ความมีอยู่ของเหตุที่ทำให้เป็นโสมนสสหคตจิต ๓) สนฺนิธาน
การฝังตัวลงของเหตุดังกล่าวกับโสมนัสเวทนาเป็นต้น ๔) สมฺปตฺตการณ
ความสมบูรณ์ของเหตุที่ทำให้เป็นโสมนัสสหคตจิต
[๕๒] ในที่นี้แปลตามมติของมณิสารมัญชุสา
ที่ระบุว่า องค์ธรรมศัพท์นี้ได้แก่ ปฏิสนธิจิต ไม่ใช่บุคคล ซึ่งต่างจากมติ
ของอัตถโยชนาที่แปลว่า ความเป็นบุคคลผู้มีปฏิสนธิประกอบด้วยโสมนัสเวทนา พึงทราบว่า
ในอัตถโยชนาเป็นการกล่าวผลแต่หมายเอาเหตุ กล่าวคือ
กล่าวถึงบุคคลที่เป็นผลแต่หมายเอาเหตุคือปฏิสนธิจิต อันเป็นเหตุให้บุคคลได้ชื่อว่า
บุคคลผู้มีปฏิสนธิประกอบด้วยโสมนัสเวทนา เพราะ ภาว ศัพท์
หมายถึงเหตุของความรู้และชื่อว่า โสมนสฺสปฏิสนฺธิกตา แม้ในคำว่า อคมฺภีรสภาวตา
เป็นต้น และ อุเปกฺขาปฏิสนธิกตาเป็นต้นข้างหน้าก็มีนัยนี้เหมือนกัน
[๕๓] อีกนัยหนึ่ง
อิธ เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถนิทธารณะ ว่า อิธ = อิเมสุ โสมนสฺสาทีสุ บรรดาสัมปยุตธรรมมีโสมนัสเป็นต้นเหล่านี้
[๕๔] อิฏฺฐมชฺฌตฺตารมฺมณํ
เป็นกัมมธารยสมาส วิ.ว่า มชฺเฌ ฐิโต อตฺตา สภาโว ยสฺส ตํ มชฺฌตฺตํ, อิฏฺฐาอนิฏฐารมฺมณานํ มชฺเฌ ฐิตสภาวนฺติ อตฺโถ, อิฏฺฐญฺจ ตํ มชฺฌตฺตญฺจาติ อิฏฺฐมชฺฌตฺตํ, ตเมว อารมฺมณํ
อารมณ์คือสภาพน่ายินดีซึ่งเป็นภาวะที่ตั้งอยู่ระหว่างอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์
(น่าปรารถนาปานกลางหรือดีอย่างธรรมดา ไม่ใช่อติอิฏฐารมณ์ น่าปรารถนาหรือดียิ่ง), แม้อนิฏฐมัชฌัตตารมณ์
ก็พึงเห็นโดยนัยตรงข้าม
[๕๕] ทิฏฺฐิวิปนฺน
เป็นพหุพพีหิสมาสที่วางวิเสสนะไว้หลังก็ได้ ไว้หน้าก็ได้
ซึ่งเป็นข้อเลือกอย่างหนึ่งในบรรดาการวางวิเสสนะของพหุพพีหิสมาส ๕
ประการดังในกัจจายนสาระแสดงไว้ว่า ๑) วางวิเสสนะไว้หน้าวิเสสยะ เช่น เอวํวณฺโณ
บุรุษผู้มีวรรณะอย่างนี้, ๒) วางบทสัตตมีวิภัตติไว้หน้า เช่น
อุรสิโลโม พราหมณ์ผู้มีขนที่อก, ๓) วางบทสัตตมีวิภัตติไว้ท้าย
เช่น ฉตฺตปาณิ อุบาสกผู้มีร่มในมือ ๔) วางบทที่ลง ต ปัจจัย ที่เรียกว่า นิฏฐปัจจัย
(ปัจจัยแสดงอดีตกาล) ไว้หน้า เช่น ชิตินฺทริโย สมณะผู้มีอินทรีย์อันชนะแล้ว ๕)
วางบทที่ลงนิฏฐปัจจัยไว้หน้าหรือท้าย ก็ได้ เช่น อคฺยาหิโต หรือ อาหิตคฺคิ พราหมณ์
ผู้มีไฟอันนำมาแล้ว กล่าวคือ จะพบรูปนี้ได้ทั้งสอง แต่ความหมายเดียวกัน ฯ ดังนั้น
บทว่า ทิฏฐิวิปนฺน อาจแสดงว่า วิปนฺนทิฏฺฐิ ก็ได้ ดังในพระบาลี สุตตนิบาต วสลสูตร ว่า วิปนฺนทิฏฐิ มายาวี
ซึ่งความหมายได้แก่ ผู้มีทิฏฐิวิบัติ หรือ ความเห็นผิด ซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกับ ทิฏฐิสมฺปนฺน
ผู้มีทิฏฐิถึงพร้อมหรือสมบูรณ์ ฯ อนึ่ง ในโยชนา อธิบายว่า มาจาก ปท ธาตุ ที่มี วิ
เป็นเป็นบทหน้า ใช้ในความหมายว่า วินาส เสียหาย ดังนั้น คำว่า ทิฏฐิ ในที่นี้
ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ เท่านั้น เพราะผู้มีสัมมาทิฏฐิที่เสียหายแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีความเห็นผิด วิธีการแสดงเช่นนี้เรียกว่า
อัตถาปัตตินัย หรือ อวุตตสิทธินัย หมายถึง
นัยที่สามารถเข้าถึงความหมายได้โดยไม่ต้องกล่าว หมายความว่า เมื่อกล่าวคำว่า
ทิฏฐิสมฺปนฺโน ผู้มีความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ซึ่งหมายถึง พระโสดาบันเป็นต้น ดังนั้น
จึงทราบได้ว่า ผู้เป็นตรงข้ามกับทิฏฺฐิสมฺปนฺนบุคคล ได้แก่ ทิฏฐิวิปนฺนบุคคล
ดังในปฏิสัมภิทามรรค ทิฏฐิกถา ว่า บุคคล ๓
จำพวกมีทิฏฐิวิบัติ บุคคล ๓ จำพวกมีทิฏฐิสมบัติ.บุคคล ๓
จำพวกเหล่าไหนมีทิฏฐิวิบัติ เดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์,บุคคลผู้มีทิฏฐิผิด
๑ บุคคล ๓
จำพวกเหล่านั้นมีทิฏฐิวิบัติ.บุคคล ๓ จำพวกเหล่าไหนมีทิฏฐิสมบัติ พระตถาคต ๑
สาวกพระตถาคต ๑ บุคคลผู้มีทิฏฐิชอบ ๑
บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้มีทิฏฐิสมบัติ.
[๕๖] แปลตามนัยของมณิสารมัญชูสา
[๕๗] หรือจะเอา
อิติ ใช้ในอรรถว่า ตสฺมา ศัพท์ ว่า อิติ
ตสฺมา เพราะเหตนั้น และเอา อุปฺปชฺชนโต เป็นเหตุ ใน สมฺภโว ก็ต้องแปลดังนี้ว่า อิติ
= ตสฺมา เพราะเหตุนั้น สมฺภโว การเกิดขึ้น กตฺถจิ
จิตฺเตเยว ในโลภมูลจิตบางดวง ได้เท่านั้น อุปฺปชฺชนโต
เพราะการเกิดขึ้น เนสํ แห่งโสมนัสเป็นต้น ฯลฯ อตฺตโน แห่งตน
[๕๘] เอวญฺจ
กตฺวา เป็นกลุ่มนิบาตมีความหมายว่า เอวํ อตฺเถน เพราะเหตุนี้. อีกนัยหนึ่ง เอวํ
อธิปฺปายํ กตฺวา เพราะทำอธิบายอย่างนี้.
[๕๙] บทนี้เป็นทวันทสมาส.
อีกนัยหนึ่ง มีความหมายว่า อธิกโสมนสฺสํ โสมนัสที่มีกำลังมากกว่าปกติ. บทที่ใช้เนื้อความเหมือนกันถึงสองบทเข้าสมาสกัน
แสดงถึงความพิเศษยิ่ง เรียกว่า อติสยนัย.
[๖๐] คำว่า
ทุมนะ มีความหมาย ๒ คือ ใจไม่ดี
เพราะเป็นใจไม่ดี ๑ บุคคลผู้มีใจไม่ดี ๑ ฯ
ภาวะแห่งใจไม่ดีหรือบุคคลที่มีใจไม่ดีนั้น ชื่อว่า โทมนัส ฯ คำว่า โทมนสฺสํ นี้ใช้กับทุกขเวทนาที่มีในใจ.
ข้อความนี้อธิบายโดยสรุปว่า [๖๐]
ทุ อุปสัค ในคำว่า นี้ ทุมน มีความหมายว่า ทุฏฺฐุ กล่าวคือ อโสภณ
ไม่ดี. คำว่า ทุฏฺฐุ มาจาก ฐา ธาตุ
ในตั้งอยู่ มี ทุ อุปสัคเป็นบทหน้าฯ การตั้งอยู่ ในที่นี้ คือ เป็นไป ดังนั้น
ทุฏฺฐุ จึงได้แก่ ธรรมที่ไม่ดี เพราะเป็นธรรมเป็นไปโดยภาวะที่ไม่ดี เมื่อใช้เป็นวิเสสนะของ มโน จึงได้แก่
จิตที่ไม่ดี ฯ คำว่า ทุมน จึงได้ความหมายว่า ใจไม่ดี หรือ ผู้มีใจไม่ดี
เนื่องมาจากประกอบด้วยเวทนาไม่ดี หรืออีกนัยหนึ่ง ได้แก่ ถูกโทสะทำร้าย
โดยนัยที่มาในอรรถกถาอัฏฐสาลินีว่า ใจไม่ดี คือ ถูกโทสะทำร้าย หรือ
ใจที่น่ารังเกียจ เพราะประกอบด้วยเวทนา ชนิดที่ไม่ดี. คำว่า โทมนสฺสํ
เป็นภาวตัทธิต ลง ณฺย ปัจจัยใช้แทนภาวะ กล่าว คือ เหตุความเป็นไปแห่งชื่อและความรู้ใน
ทุมนศัพท์ นั้น. คำว่า อธิวจนํ ใช้ในความหมายว่า ชื่อ เพราะเรื่องราวต่างๆ
ถูกกล่าวด้วยคำนี้โดยยกให้เป็นใหญ่หรือให้เป็นหัวข้อ
[๖๑] หมายความว่า
ความดุร้ายเป็นลักษณะของโทสะ. จริงอย่างนั้น โทสะเป็นธรรมชาติดุร้ายจึงได้ชื่อว่า
ปฏิฆะ เพราะเป็นไปคล้ายกับกระทบอารมณ์
ทั้งที่ไม่มีสภาวะที่กระทบโดยตรงเหมือนอย่างรูปธรรม
ดังนั้นสภาวะที่คล้ายกับกระทบอารมณ์จึงเป็นลักษณะของโทสะ ที่ได้โวหารว่า ปฏิฆะ
จัดเป็นสทิสูปจารโวหาร โวหารที่กล่าวพาดพิงถึงสิ่งที่เหมือน.
สรุปคำอธิบาย
โทมนัสสหคตจิต หมายถึง จิตที่ถึงภาวะมีเกิดขึ้นพร้อมกันเป็นต้นพร้อมกับโทมนัสเวทนาฯ
หรือเป็นจิตที่ระคน คือเกิดร่วมกันกับโทมนัสเวทนา
โดยภาวะมีเกิดขึ้นพร้อมกันเป็นต้นฯ
คำว่า สหคต มีความหมาย ๒ นัย คือ
ก.
มาจาก ๒ ศัพท์ คือ สห พร้อมกัน + คต = ปตฺต ถึง
ข. เป็นศัพท์เดียว
มีความหมายว่า สํสฏฺฐํ ที่มีความหมายว่า สหชาต เกิดพร้อมกัน
แต่ทั้งสองบทมีวิเสสนะคือ
เอกุปฺปาทิ เหมือนกัน เนื่องจากมีสภาวะเป็นเจตสิก
๒) ประโยคว่า จณฺฑิกฺกสภาวตาย
เป็นต้นนี้เป็นทัฬหีกรณวากยะ เพราะนำสภาวะของโทสะมาสนับสนุนข้อความที่ว่า โทสะ
ชื่อว่า ปฏิฆะได้ โดยความหมายว่า กระทบอารมณ์ ฯ โดยทั่วไป คำว่า ปฏิฆ
จะใช้เฉพาะโอฬาริกรูปที่มีกิจคือการกระทบ ที่เรียกว่า สัปปฏิฆธรรม ธรรมที่กระทบได้
ไม่ใช้กับนามธรรม แต่ในที่นี้ โทสะ แม้เป็นนามธรรม ได้ชื่อว่า ปฏิฆะ
เนื่องจากมีความเป็นไปเหมือนกับว่ากระทบอารมณ์ เพราะความเป็นไปดังกล่าว เป็นลักษณะของโทสะที่มีสภาวะก้าวร้าวนั้น
ฯ
[๖๒] ความหมายโดยสรุปของข้อความนี้ คือ
แม้เมื่อจิตที่สหรคตด้วยโทมนัส
ไม่ต่างกันด้วยเวทนา
แต่กล่าวถึงโทมนัสไว้
โดยประสงค์จะกำหนดโทสมูลจิตนี้ให้ต่างจากธรรมอื่นด้วยอำนาจธรรมที่ไม่ทั่วไปกล่าวคือโทมนัสเวทนาฯ
แต่ควรทราบว่า ความเป็นปฏิสัมปยุตจิตถูกกล่าวไว้ให้รู้ว่า
โทมนัสและปฏิฆะเป็นธรรมที่มีปกติเป็นไปในโทมนัสสหคตจิตนี้ร่วมกันแน่นอน ฯ
อุปลกฺขณ
แปลว่า กำหนด ในที่นี้หมายถึง วิเสสน ทำให้แตกต่างฯ
เพราะโดยมากใช้ในความหมายว่ากล่าวไว้พอเป็นตัวอย่างให้กำหนดธรรมอย่างอื่น
ที่เรียกว่า อุปลักขณนัย ฯ
[๖๓] อีกนัยหนึ่ง
แปลตามมณิสารมัญชูสา ดังนี้ เอตฺถ = เอเตสุ ทฺวีสุ
โทมนสฺสปฏิเฆสุ ในโทมนัสและปฏิฆะสองประการนี้ ........ อิติ เพราะเหตุนั้น โทมนสฺสสฺส
อนิฏฺฐารมฺมณานุภวนลกฺขณตา, เวทนากฺขนฺธปริยาปนฺนตา จ
อ.ความที่โทมนัสมีการเสวยอนิฏฐารมณ์เป็นลักษณะ ด้วย
ความที่โทมนัสเป็นธรรมนับรวมเข้าในเวทนาขันธ์ ด้วย , ปฏิฆสฺส
จณฺฑิกฺกสภาวตา, สงฺขารกฺขนฺธปริยาปนฺนตา จ , ความที่ปฏิฆะเป็นลักษณะของโทสะที่มีความก้าวร้าวเป็นลักษณะด้วย,
อ. ความที่ปฏิฆะเป็นธรรมนับรวมเข้าในสังขารขันธ์ ด้วย อยํ
นี้ วิเสโส เป็นความต่างกัน เอเตสํ โทมนสฺสปฏิฆานํ
แห่งโทมนัสและปฏิฆะเหล่านั้น โหติ ย่อมเป็น ฯ
ในข้อความนี้
มีความหมายโดยสรุปว่า
ก็โทมนัสและปฏิฆะต่างกันอย่างนี้คือ
บรรดาโทมนัสและปฏิฆะนี้ โทมนัส
ได้แก่ ธรรมอย่างหนึ่ง
นับเนื่องในเวทนาขันธ์
มีการเสวยอนิฏฐารมณ์เป็นลักษณะ ปฏิฆะได้แก่ ธรรมอย่างหนึ่ง นับเนื่องในสังขารขันธ์ มีความก้าวร้าวเป็นสภาพ ฯ
จ นิบาตเป็นวากยารัมภโชตกะ
แสดงว่าประโยคนี้เป็นการเริ่มอธิบายต่อจากประโยคข้างหน้าที่ดูเหมือนคลุมเครือว่า
โทมนัสและปฏิฆะมีความเป็นไปร่วมกันในโทมนัสสสหคตจิตแน่นอน
ดังนั้นอาจเกิดความสงสัยว่า เนื่องจากธรรมทั้งสองเป็นไปร่วมกันจึงเข้าใจยาก
ดังนั้น จึงอยากทราบว่า ความแตกต่างกันของโทมนัสและปฏิฆะนั้นเป็นอย่างไร
?"
ท่านจึงเริ่มกล่าวประโยคนี้เพื่ออธิบายลักษณะที่แตกต่างกัน ฯ.
[๖๔] แปลตามนัยของมณิสารมัญชูสา
ฯ หรือแปลตามนัยของอัตถโยชนาว่า บทว่า เอตฺถ โทมนสฺสปฏิเฆสุ เป็นนิทธารณะ
ส่วนบทว่า โทมนสฺส และปฏิฆ ในบทว่า โทมนสฺสการณํ เป็นต้นนั้น เป็นนิทธารนียะ. เก็บใจความว่า
อนึ่ง ควรเห็นอย่างนี้ว่า อนิฏฐารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งและอาฆาตวัตถุ ๙ ประการ
เป็นเหตุของโทมนัสและปฏิฆะที่ตั้งอยู่ในโทมนัสสหคตจิต. ประโยคนี้เป็นวากยารัมภะเช่นกัน
เพราะอธิบายข้อความที่น่าสงสัยจากประโยคก่อนว่า ปฏิฆะและโทมนัสมีความต่างกัน
ดังนั้น จึงควรมีเหตุต่างกันด้วยฯ
อารมณ์ทุกประเภทจับตั้งแต่รูปารมณ์เป็นต้น
ที่เป็นอนิฏฐารมณ์ ทั้งโดยปริกัปหรือโดยสภาวะฯ
อาฆาตวัตถุ คือ เหตุของอาฆาต ๙ ประการมีนัยว่า คนนี้ทำความพินาศให้เรา
คนนี้ทำความพินาศให้แก่คนที่เรารักเราชอบใจ, คนนี้ทำประโยชน์ให้แก่คนที่เราไม่รัก
เราไม่ชอบใจ ทั้งในปัจจุบัน, อดีตและอนาคต จัดเป็นเหตุของโทมนัสและปฏิฆะ ฯ
คำว่า อาฆาตวัตถุ
มีคำจำกัดความตามอัตถโยชนาว่า เหตุ เรียกว่า วัตถุ เพราะเป็นที่ให้อนิฏฐผล ฯ ความโกรธมีกำลัง เรียกว่า อาฆาต ฯ เหตุของความอาฆาต ชื่อว่า อาฆาตวัตถุฯ
อีกนัยหนึ่ง
ตามคัมภีร์มณิสารมัญชูสาว่า
วัตถุ คือ เหตุแห่งอาฆาต ชื่อว่า
อาฆาตวตถุ ฯ อาฆาตนั่นเอง
เป็นเหตุให้อาฆาต เพราะอาฆาตที่เกิดก่อนเป็นเหตุแห่งอาฆาตที่เกิดภายหลังฯ หรือ เพราะเป็นเหตุแห่งอนิฏฐผล
[๖๕] นัยนี้แปลตามอัตถโยชนา
แต่ในมณิสารมัญชูสา ให้แปลบทว่า ปาณาติปาตาทีสุ นิปฺผาเทตพฺเพสุ เป็นลักขณวันตะและให้เพิ่มบทว่า
สนฺเตสุ เป็นลักขณกิริยา. โดยนัยนี้ แปลว่า ปาณาติปาตาทีสุ
ครั้นเมื่ออกุสลกรรมบถมีปาณาติบาตเป็นต้น นิปฺผาเทตพฺเพสุ
อันบุคคลพึงให้สำเร็จ สนฺเตสุ มีอยู่ ปณฺฑิเตน เวทิตพฺพา
บัณฑิตพึงทราบ อุปฺปตฺติ ความเกิดขึ้น ทฺวินนํ เนสํ จิตฺตานํ
แห่งจิตทั้งสองดวงนี้ ติกฺขมนฺทปวตฺติกาเล
ในกาลที่จิตสองดวงนี้เป็นไปกล้าและเฉื่อยชา. สรุปว่า ในขณะที่มีอกุศลกรรมบถมีปาณาติบาตเป็นต้นที่บุคคลพึงให้สำเร็จ
การเกิดขึ้นของจิตสองดวงนี้จะพึงทราบได้ในคราวที่มีความเป็นไปกล้าแข็งและเฉื่อยชา.สำหรับการเกิดขึ้นของโทมนัสสหคตจิตทั้งสองดวงจะทราบได้ในขณะที่เป็นไปในอกุศลกรรมบถมีปาณาติบาตเป็นต้น
โดยเป็นความกล้าและเฉื่อยชา. ประโยคนี้จัดเป็นวิเสสวากยะเพราะในประโยคแรกกล่าวจิตสองดวงนี้ไว้โดยเสมอกันว่ามีเหตุให้เกิดเหมือนกันแต่ในประโยคนี้แสดงความพิเศษกว่าเนื้อความในประโยคแรกโดยชี้ให้เห็นความต่างกันของความเกิดขึ้น.โทมนัสสหคตจิตสองดวงนี้เป็นไปในกรรมบถมีปาณาติบาตเป็นต้น
ดังนั้น จะทราบความเกิดขึ้นของจิตสองดวงนี้ได้ ก็ในขณะที่บุคคลทำอกุสลกรรมบถนั้น
โดยเป็นไปด้วยอำนาจความกล้าแข็งและเฉื่อยชา. ในเรื่องนี้ มีแนวทางอธิบายได้ว่า
เมื่อใด บุคคล ทำอกุศลกรรมทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น
ด้วยจิตที่แข็งกล้าตามสภาพนั่นแหละ ไม่มีใครกระตุ้นชักชวน , เมื่อนั้น จิตดวงที่ ๑
ย่อมเกิดขึ้น ฯแต่เมื่อใด บุคคล ทำด้วยจิตที่เฉื่อยชา ถูกกระตุ้นชักชวน ,
เมื่อนั้น จิตดวงที่ ๒ ย่อมเกิดขึ้นฯ
ปาณาติปาต หมายถึง การทำให้ชีวิตสัตว์ตกไปเร็ว หรือเป็นการก้าวล่วงชีวิตของสัตว์ให้ตกไป.
ปาณาติปาต เป็นกรรมบถข้อหนึ่งที่โทสะสามารถให้สำเร็จได้ นอกจากนี้ อทินนาทาน
มุสาวาท เปสุญญวาท (ปิสุณาวาท) ผรุสวาท สัมผัปปลาปะและพยาบาท
ก็ยังถูกโทสะนี้ให้สำเร็จได้เช่นกัน แต่กรรมบถที่เหลือ คือ กาเมสุมิจฉาจาร อภิชฌา
และมิจฉาทิฏฐิ ไม่เป็นความเป็นไปของโทมนัสสหคตจิตสองดวงนี้
เนื่องจากโทสะไม่สามารถทำให้สำเร็จได้
[๖๖] แม้ความหมายของปิศัพท์นี้ที่คาถาจบความว่า
อิมานิ เทฺวปิ จิตแม้ทั้งสอง เหล่านี้
มีความเป็นไปเหมือนกับ ปิศัพท์ที่กล่าวมาแล้วในโลภมูลจิตนั่นเอง. คำว่า อิมานิ
เทฺวปิ ปฏิฆสมฺปยุตฺตจิตฺตานิ นามฯ จิตแม้ทั้งสอง เหล่านี้ คือ ... ก็ชื่อว่า
ปฏิฆสัมปยุตตจิต
ประมวลเอาความเป็นไปโดยกรรมบถที่สมควรแก่ตนและความที่โทมนัสสหคตจิตมีมากมายหลายประการโดยเกี่ยวกับกาลเป็นต้นไว้ด้วย
เหมือนอย่างที่ได้กล่าวไว้ในโลภมูลจิต ๘ ดวงนั้น ที่ว่า
โดยนัยที่ท่านอาจารย์จักกล่าวไว้ในปริจเฉทที่ ๕ เป็นต้นฯ
[๖๗] ศัพท์นี้
เป็นอวธารณบุพพบทหรือสัมภาวนบุพพบทว่า ญาณนั่นเองเป็นการรักษา, ผู้รักษา, เครื่องใช้รักษา เพราะถือว่า ปฏิการ
ได้แก่ ญาณที่เป็นผู้รักษาเป็นต้นอยู่แล้ว เมื่อเพิ่ม ญาณ เข้ามาอีก เท่ากับว่า
ญาณ มีความหมายเท่ากับปฏิการ
[๖๘] ข้อความในวงเล็บ
มีประเด็นชวนให้คิดอยู่ ๒ ประการคือ ๑) ถ้าให้อิมิสฺสา นี้เป็นสัมปทานะในวิคตา
ดังที่โยชนาแสดงไว้ บทว่า วิคต ต้องหมายถึง ความไม่มี
ดังในอรรถกถาธัมมสังคณีแสดงไว้ว่า วิคตาติ วิภวํ คตา ถึงความไม่มี ชื่อว่า วิคต, และในอรรถกถาปัฏฐาน วิคตปัจจัยวัณณนา แสดงว่า อิติ นตฺถิปจฺจยสฺส จ
อิมสฺส จ พยฺญชนมตฺเตเยว นานตฺตํ น อตฺเถติ ฯ เมื่อเป็นเช่นนี้
จึงจะเชื่อมความโดยเป็นสัมปทานการกะได้สนิทว่า การเยียวยาแก้ไขคือญาณไม่มีแล้ว
แก่ความสงสัยนี้ฯ ๒) ถ้าเอาอรรถของ วิ อุปสัค ที่หมายถึง วิคต ที่แปลว่า ปราศจาก
หรือ หลีกออกจาก บทว่า อิมิสฺสา นี้ต้องเป็น อปาทาน แต่ใช้ในรูปจตุตถี เพราะ วิคต
เป็น อปทานาเปกขะ มองหาอปทานเสมอฯ อนึ่ง
ในคัมภีร์อื่นเช่น ธัมมสังคณีมูลฏีกา อภิธัมมาวตาร อัฏฐสาลินีอัตถโยชนา ระบุว่า
วิคตา วิจิกิจฺฉาย ไปปราศแล้ว จากการเยียวยาฯ
[๖๙] เก็บใจความ วิจิกิจฉา ได้แก่
ธรรมชาติทำให้บุคคลตัดสินสภาวธรรมยากลำบาก หรือธรรมชาติไม่มีการรักษา คือ
แก้ไขด้วยปัญญาไม่ได้ เพราะยากที่จะรักษา ฯ
จิตที่ประกอบด้วยวิจิกิจฉานั้น
ชื่อว่า วิจิกิจฉาสัมปยุต ฯ
สรุปคำอธิบายวิจิกิจฉา มีความหมาย ๒ นัย คือ
๑)
ธรรมชาติเป็นเหตุให้บุคคลผู้ใคร่ครวญสภาวธรรมเกิดความยุ่งยาก แยกเป็นสองศัพท์ คือ
วิจิ (วิจินนฺต ผู้ใคร่ครวญ) + กิต กิลมเน ลำบาก + อ ปัจจัยในกรณสาธนะ
อาจแสดงรูปวิเคราะห์ได้อีกนัยหนึ่งว่า วิจินนฺตสฺส กิจฺฉา วิจิกิจฺฉา
สิ่งที่เป็นเหตุให้ลำบากแห่งบุคคลผู้ใคร่ครวญสภาพธรรม
คำว่า สภาว มีความหมายดังนี้
ก. อาการที่มีอยู่จริงเช่น
การน้อมไปสู่อารมณ์, ความแปรปรวน, กระทบเป็นต้นของธรรมทั้งหลาย
ข.
ธรรมชาติที่เป็นไปพร้อมกับความมีอยู่โดยปรมัตถ์ ได้แก่
สังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งสิ้น
ค. ภาวะที่มีอยู่ คือ สามัญญลักษณะ และ
ภาวะที่เป็นของตน ได้แก่ วิเสสลักษณะ
เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยให้บุคคลแสดงหรือกำหนดธรรมที่ควรกำหนดได้
๒) ธรรมชาติที่ไม่มีการรักษา
คือแก้ไขด้วยปัญญา เพราะรักษาได้ยาก
คำว่า การรักษา
ในที่นี้เป็นการใช้ปัญญาแก้ไข ท่านเปรียบการแก้ไขความลังเลสงสัยด้วยปัญญาโดยนัยแห่งคำศัพท์
๓ นัย คือ
- เปรียบได้กับแพทย์ผู้รักษาโรค
- เปรียบกับยาที่ใช้รักษาโรค
- เปรียบได้กับการรักษาด้วยยา
ข้อสังเกตประการหนึ่ง การที่แสดงไขว่า
เพราะยากจะรักษา หมายความว่า มิใช่ว่าจะรักษาไม่ได้เลย เพียงแต่ไม่สามารถใช้ปัญญาชั้นโลกิยะอย่างธรรมดารักษาโรคกล่าวคือความลังเลในพระรัตนตรัยเป็นต้นที่ควรเชื่อ
แต่ต้องใช้ปัญญาชั้นโลกุตระกล่าวคือโสตาปัตติมรรคญาณ จึงจะสามารถรักษาได้เด็ดขาด
[๗๐] เก็บใจความ ภาวะแห่งจิตที่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอุทธัจจะ ฯ แม้เมื่ออุทธัจจะเป็นเจตสิกทั่วไปแก่อกุศลจิตทั้งปวง
อุทธัจจะย่อมเป็นประธานเป็นไปในสัมปยุตธรรมทั้งหลาย ในจิตนี้
เพราะฉะนั้น จิตนี้เท่านั้น ท่านอาจารย์กล่าวให้แปลกออกไปด้วยอุทธัจจะนั้น
ฯ
สรุปคำอธิบาย ภาวะ ในที่นี้ ต่างจากภาวะ ในบทว่า
สภาวํ ข้างต้น ฯ ภาวะในที่นี้ ได้แก่ เหตุความเป็นไปของชื่อและความรู้ของจิตหรือบุคคลผู้ฟุ้งซ่านฯ
แม้ว่า อุทธัจจะมีในอกุศลจิตทุกดวง
แต่ในอกุศลจิตทุกดวงนั้นอุทธัจจะจะเป็นประธานเหมือนกันหมดก็หามิได้
จะเป็นประธานได้ก็เฉพาะอกุศลจิตดวงสุดท้ายนี้เท่านั้น
ดังนั้นพระอนุรุทธาจารย์จึงระบุจิตดวงนี้ไว้ให้พิเศษกว่าอกุศลจิตดวงอื่นด้วยอุทธัจจะที่เป็นประธานในสัมปยุตตธรรม
๑๔ เว้นอุทธัจจะ (กล่าวคือ อัญญสมานา ๑๑ (เว้นปีติและฉันทะ) โมจตุกก ๓
เว้นอุทธัจจะ)
เพราะเป็นสภาพที่มีกำลัง
[๗๑] แปลตามนัยของอัตถโยชนา,
แต่ถ้าแปลตามนัยของมณิฯ ท่านให้เอา เอวญฺจ กตฺวา เป็นกลุ่มนิบาตที่มีความหมายว่า
เพราะเหตุนี้ ดังนั้น จึงแปลได้ว่า เอวญฺจ กตฺวา = ปธานตฺตา
เพราะความที่ - อุทฺธจฺจสฺส เอว อุทธัจจะเท่านั้น - เป็นประธาน อนฺตมานเส
เอว ในจิตดวงสุดท้ายเท่านั้น
[๗๒] เก็บใจความ เพราะพระผู้มีพระภาคทรงดำริถึงความเป็นประธานของอุทธัจจะในจิตดวงนี้
ดังนั้น ในพระบาลีธัมมุทเทส (พระบาลีว่าด้วยหัวข้อของธรรม) จึงทรงแสดง
อุทธัจจะไว้ในอกุศลที่เหลือโดยเป็นเยวาปนกธรรม ฯ
ส่วนในจิตดวงสุดท้ายนี้
ทรงแสดงไว้โดยเจาะจงถึงภาวะที่มีอยู่ว่า
อุทธัจจะย่อมเกิดขึ้น ฯ
สรุปคำอธิบาย ความเป็นประธานของอุทธัจจะในจิตดวงนี้
เพราะในจิตดวงอื่นแม้จะมีอุทธัจจะอยู่ด้วย แต่เนื่องจากมีธรรมอย่างอื่นกล่าวคือ
ในโลภมูลจิตมีโลภะเป็นประธาน, ในโทสมูลจิตมีโทสะเป็นประธาน,
ในวิกิจฉาสัมปยุตตจิตมีวิจิกิจฉาเป็นประธาน ดังนั้น จึงไม่มีกำลัง แต่ในจิตดวงนี้
ไม่มีธรรมมีโลภะเป็นต้นอย่างอื่นเกิดร่วมด้วย อุทธัจจะเมื่อได้โอกาสเช่นนี้จึงมีกำลัง.
พระสุมังคลาจารย์ยกข้อความในพระบาลีธัมมุทเทสมาสาธกโดยนัยว่า ในพระบาลีธัมมุทเทส
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทธัจจะไว้ในอกุศลจิตดวงอื่นโดยชื่อว่า เยวาปนกะ แต่ในอกุศลจิตดวงนี้
ทรงแสดงไว้โดยสรูปะ คือ ระบุชื่อว่าอุทธัจจะทีเดียว.
คำว่า ธัมมุทเทส มาจาก ธมฺม
สภาวธรรมมีผัสสะเป็นต้น + อุทฺเทส ศัพท์ที่ยกขึ้นแสดง คำว่า ธัมมุทเทส จึงเป็นกลุ่มศัพท์
ซึ่งพระผู้มีพระภาคได้ใช้ยกสภาวธรรมมีผัสสะเป็นต้นขึ้นแสดงเป็นหัวข้อ โดยนัยว่า
ผสฺโส โหติ , เวทนา โหติ เป็นต้น
คำว่า พระบาลี มาจาก ปา รกฺขเณ
รักษา + ลิ หมายถึง
คัมภีร์ที่รักษาเนื้อความสูงสุดกล่าวคือพระพุทธวจนะ,หรือเป็นคัมภีร์ที่รักษาผู้ศึกษาไม่ให้ได้รับทุกข์ที่เป็นไปในอบายเป็นต้นฯ
คำว่า พระบาลีธัมมุทเทส
จึงหมายความว่า พระบาลีว่าด้วยธัมมุทเทส กล่าวคือ หัวข้อธรรมที่ยกขึ้นแสดงก่อน ฯ
ธัมมุทเทสนี้ อยู่ในพระบาลีอภิธัมมปิฎกธัมมสังคณีปกรณ์ ดังนั้นจึงเป็นพระบาลีโดยธัมมสังคณีปกรณ์นั้น
คำว่า สรูปะ สภาวะของตน, สภาวะที่มีอยู่,สิ่งที่ถูกประกาศ
เป็นชื่อหนึ่งของสภาวธรรม มาจาก สนฺโต + รูป ปกาสนกิริยายํ ประกาศหรือแสดง ในที่นี้หมายถึง
ธรรมที่ถูกแสดงไว้โดยระบุถึงตัวสภาวะที่ตนมีอยู่
เพราะเป็นธรรมที่เป็นองค์ประกอบของจิต
คำว่า เยวาปนก มาจาก เย วา ปน
+ อิติ นามํ + เก สทฺเท ออกเสียง หมายถึง สัมปยุตธรรมที่ทรงแสดงไว้ด้วยพระบาลีว่า
เย วาปน เป็นต้นในจิตดวงที่กำลังตรัสถึง ฯ เยวาปนกธรรมนี้ มีลักษณะ ๓ ประการ คือ
๑) ไม่อาจสงเคราะห์เข้าในกลุ่มธรรมที่พระองค์แสดงไว้ในธัมมุทเทสนั้นได้
๒) เกิดได้ไม่แน่นอน
๓) มีกำลังน้อย
เยวาปนกธรรมนี้ ไม่ใช่ว่า
จะไม่มีในจิต แต่เป็นธรรมที่ไม่ถูกยกขึ้นแสดงไว้ในพระบาลี โดยนัยว่า
ไม่อาจสงเคราะห์เข้าเป็นกลุ่มๆเหมือนกับธรรมที่แสดงโดยสรูปะนั้นได้เป็นต้น ดังนั้น
เพื่อจะสงเคราะห์ธรรมเหล่านี้ให้เป็นกลุ่มหนึ่งต่างหากจึงทรงแสดงไว้โดยพระบาลีว่า
เย วา ปน ตสฺมึ สมเย อญฺเญปิ อตฺถิ ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา อิเม ธมฺมา อกุสลา.
[๗๓] เพิ่มข้อความให้เต็มตามนัยของโยชนาว่า
เอตฺถ = เอตสฺมึ อุทฺธจฺจสฺส
สรูเปน กถนาธิกาเร ในเรื่องที่ตรัสถึงอุทธัจจะ นี้ โหนฺติ มี สงฺคหคาถา
คาถารวบรวม วุตฺตตฺถสฺส เนื้อความที่กล่าวไว้ สพฺพากุสล ... เทสิตํ อิติ ว่า สพฺพากุสลสาธารณภาเวปิ ...
เทสิตํ ฯ
[๗๔]แปลตามนัยของโยชนา
แต่ มณิฯ ให้แปลว่า ตํเยว = อนฺตมานสํ เอว
จิตดวงสุดท้ายนั้นเท่านั้น อาจริเยน วุตฺตํ ถูกอาจารย์กล่าวไว้ อุทฺธจฺจโยคโต
=อุทฺธจฺจสมฺปยุตฺตภาเวน
โดยความเป็นจิตที่สัมปยุตกับอุทธัจจะ
[๗๕] เพิ่มข้อความให้เต็มตามนัยของโยชนาว่า
อุทฺธจฺจํ อุทธัจจะ สพฺพากุสลยุตฺตมฺปิ
แม้เป็นเจตสิกที่ประกอบในอกุศลจิตทุกดวง พลวํ เป็นธรรมที่มีกำลัง อนฺตมานเส
ในจิตดวงที่สุด อิติ ตสฺมา เพราะเหตุนั้น อนุรุทฺธาจริเยน พระอนุรุทธาจารย์
วุตฺตํ เรียก ตํเยว อนฺตมานสํ
จิตดวงที่สุดนั้นเท่านั้น อุทฺธจฺจ สมฺปยุตฺตํ อิติ ว่า
อุทธัจจสัมปยุตจิต อุทฺธจฺจโยคโต = อุทฺธจฺจโยเคน เพราะประกอบกับอุทธัจจะ ฯ หิ = สจฺจํ แท้ที่จริง มุนินฺเทน พระจอมมุนี
วตฺวา ตรัส ตํ อุทฺธจฺจํ
อุทธัจจะนั้นไว้ เสเสสุ อกุสเลสุ ในอกุศลธรรมที่เหลือ เยวาปนกนามโต
โดยชื่อว่าเยวาปนกะ เทสิตํ แล้วทรงแสดง เอตฺเถว = อนฺตมานเส ในจิตดวงที่สุด นี้เท่านั้น เตเนว =
ปธานการเณเนว
เพราะเหตุว่าเป็นประธานนั่นเอง ฯ
เก็บใจความ คำอธิบายที่ท่านแสดงไว้ทั้งหมดนั้น
สามารถสรุปได้ว่า ถึงแม้อุทธัจจะ จะประกอบกับอกุศลจิตทุกดวง แต่กระนั้น ในจิตดวงสุดท้ายก็มีกำลัง
เพราะเหตุนั้น พระอนุรุทธาจารย์เรียกจิตดวงนั้นนั่นแลว่า อุทธัจจสัมปยุต เพราะอุทธัจจะประกอบฯ
จริงอย่างนั้น พระจอมมุนีตรัสอุทธัจจะนั้นไว้ในอกุศลที่เหลือ โดยชื่อว่า เยวาปนกะ
แล้วทรงแสดงโดยสรูปะในจิตดวงสุดท้ายนี้เท่านั้น
เพราะเหตุที่อุทธัจจะเป็นประธานนั่นเองฯ
สรุปคำอธิบาย แม้ว่า
อุทธัจจะเป็นสัพพากุสลสาธารณเจตสิก ก็ตาม แต่ไม่สามารถมีกำลังในจิตที่เหลือส่วนในจิตดวงนี้
ความมีกำลังของอุทธัจจะ เพราะไม่มีธรรมมีโลภะเป็นต้นอย่างอื่นเกิดร่วมด้วย
สมดังที่พระผู้มีพระภาคจอมมุนี (มุนินฺท = ทรงเป็นผู้ถึงอิสสริยะเหนือผู้อื่น
- มุนิ พระผู้รู้ + อิทิ ปรมิสฺสริเย ความเป็นใหญ่ยิ่ง)
ทรงแสดงอุทธัจจะไว้ในอกุศลจิตดวงอื่นโดยชื่อว่า เยวาปนกะ, แต่ในอกุศลจิตดวงนี้ ทรงแสดงไว้โดยสรูปะ.
[๗๖]เพิ่มข้อความให้เต็มตามนัยของโยชนาว่า
อิมานิ ปน เทฺว จิตฺตานิ
แต่จิตสองดวงเหล่านี้ รชนทูสนวิรหิตานิ ที่เว้นจากความกำหนัดและความขัดเคือง สพฺพตฺถาปิ แม้ในอารมณ์ทั้งปวง อติสมฺมูฬฺหตาย
เพราะความเป็นจิตหลงงมงายอย่างยิ่ง มูลนฺตรวิรหโต = อญฺญมูลวิรหโต
เนื่องจากเว้นจากอกุสลมูลอย่างอื่น โมหมูลโต
จากโมหมูล จญฺจลตาย จ
และเพราะเป็นจิตหวั่นไหว สํสปฺปนวิกฺขิปนวสปฺปวตฺตวิจิกิจฺฉุทฺธจฺจสมาโยเคน
เนื่องจากประกอบพร้อมด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะที่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งความสับสนและความฟุ้งซ่าน
อุเปกฺขาสหคตาเนว หุตฺวา ปวตฺตนฺติ
จึงเป็นไปโดยเป็นจิตสหรคตด้วยอุเบกขาเท่านั้น
เก็บใจความ
อนึ่ง จิตทั้ง ๒ นี้ เป็นอุเบกขาสหคตจิตเท่านั้น
เป็นไป เพราะเหตุ ๒ ประการคือ
๑) ปราศจากความกำหนัดและความขัดเคือง แม้ในอารมณ์ทั้งปวง
เพราะความเป็นจิตหลงงมงายอย่างยิ่ง
เนื่องจากเว้นจากมูลอื่น
๒)
เป็นจิตหวั่นไหว
เพราะประกอบกับวิจิกิจฉาและอุทธัจจะที่เป็นไปโดยสภาพที่สับสนฟุ้งซ่าน ฯ
สรุปอธิบาย
เพราะจิตสองดวงนี้แม้มีอารมณ์ได้ทั้ง
๓ ที่เป็นอิฏฐะ, อนิฏฐะและอิฏฐมัชฌัตตะทั้งปวง
แต่ก็ปราศจากความยินดีและขัดเคืองในอารมณ์ดังกล่าว ดังนั้น
จึงเป็นอุเบกขาสหคตจิตได้อย่างเดียวเท่านั้น
ไม่สามารถเป็นโสมนัสสหคตจิตหรือโทมนัสสหคตจิต
เหมือนอย่างโลภมูลจิตที่มีอารมณ์ทั้งสอง คือ อิฏฐะและอิฏฐมัชฌัตตะ
และโทสมูลจิตที่มีอารมณ์คืออนิฏฐะฯ
ทูสนรชนวิรหิต
เว้นจากความกำหนัดขัดเคือง เพราะภาวะที่ลุ่มหลงอย่างยิ่ง
อติสมฺมูฬฺหตา
ภาวะที่ลุ่มหลงอย่างยิ่ง เพราะไม่มีมูลอย่างอื่น
มูลนฺตรวิรหิต
ไม่มีมูลอย่างอื่นจากโมหมูลกล่าวคือโลภมูลและโทสมูล
จญฺจลตา
ภาวะที่หวั่นไหว
เพราะประกอบด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะที่เป็นไปโดยภาวะที่สับสนฟุ้งซ่าน
สํสปฺปน
[๗๖]
ภาวะที่แล่นไปโดยรอบเพราะไม่สามารถหยั่งลงในอารมณ์ได้ กล่าวคือ
สับสนเป็นลักษณะของวิจิกิจฉา
วิกฺขิปน ภาวะที่ซัดส่ายไปในอารมณ์ต่างๆ กล่าวคือ
ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะของอุทธัจจะ
[๗๗] เพิ่มข้อความให้เต็มตามโยชนาว่า จ อนึ่ง ตโตเยว = ตสฺมา
เอว อติสมฺมุฬฺหจญฺจลภาวโต เพราะเหตุคือภาวะที่ตนลุ่มหลงอย่างยิ่งและหวั่นไหวนั้นนั่นแหละ สงฺขารเภโทปิ แม้ความต่างกันแห่งสังขาร นตฺถิ
ย่อมไม่มี เนสํ ทฺวินฺนํ
จิตฺตานํ แก่จิตสองดวงเหล่านั้น อภาวโต เพราะไม่มี สภาวติกฺขตาย
จ ความเป็นจิตกล้าแข็งตามสภาพ อุสฺสาเหตพฺพตาย
จ และความเป็นจิตที่ต้องกระตุ้น ฯ
เก็บใจความ
เพราะเหตุคือภาวะที่ตนลุ่มหลงอย่างยิ่งและหวั่นไหวนั้นนั่นแหละแม้ความต่างกันแห่งสังขารก็ไม่มีแก่จิตทั้ง
๒ ดวงนั้น
เพราะไม่มีความกล้าเองตามสภาพและผู้ช่วยกระตุ้นเตือน ฯ
สรุปคำอธิบาย
จิตสองดวงนั้น
จะต่างกันในเรื่องของเวทนาอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้
แต่ยังไม่ต่างกันในเรื่องของสังขารอีกด้วย กล่าวคือ ไม่มีการจำแนกโดยเป็นอสังขาริก
จิตที่กล้าแข็งตามสภาพ และ สสังขาริก จิตที่ต้องมีการกระตุ้นให้อุตสาหะฯ ภาวะที่ลุ่มหลงอย่างยิ่ง
และภาวะที่หวั่นไหวดังกล่าวไปแล้วนั้น นอกจากจะเป็นเหตุของอุเบกขาแล้ว
ยังเป็นเหตุของความเป็นธรรมชาติไม่มีสังขารอีกด้วย
เนื่องจากจิตที่หวั่นไหวเพราะกำลังฟุ้งซ่านสับสน ไม่จำเป็นต้องมีภาวะที่ต้องกล้าแข็งหรือต้องกระตุ้นในกิจใดๆเลย.
[๗๘] เพิ่มข้อความให้เต็มตามนัยของโยชนาว่า
จ อนึ่ง เอตฺถ ฐาเน ในเรื่องนี้ โหนฺติ มี อิติ สงฺคหคาถา
คาถารวมความ ดังนี้ ฯ จิตฺตทฺวยํ
จิตสองดวง เอกเหตุกํ เป็นจิตมีเหตุเดียว จิตฺตทฺวยํ จิตสองดวง โสเปกฺขํ
เป็นไปพร้อมกับอุเบกขาเวทนา มุฬฺหตฺตา เจว เพราะความเป็นจิตที่ลุ่มหลง สํสปฺปวิกฺเขปา
จ และเพราะความพลุ่งพล่านฟุ้งซ่าน โน จ ภินฺนํ นอกจากนี้ จิตสองดวงนั้น
ยังไม่แตกต่างกัน สงฺขารเภทโต โดยความต่างกันแห่งสังขาร สพฺพทา
ในกาลทั้งปวง ฯ หิ สจฺจํ จริงอยู่ ติกฺขตา ความกล้าแข็ง สภาเวน
โดยสภาวะ อุสฺสาหนียตา
ความเป็นจิตที่ถูกกระตุ้น ตสฺส จิตฺตทฺวยสฺส ของจิตสองดวงนั้น สํสปฺปมานสฺส
ซึ่งกำลังกระสับกระส่าย วิกฺขิปนฺตสฺส ฟุ้งซ่าน น อตฺถิ ย่อมไม่มี สพฺพทา
ทุกเมื่อ ฯ เก็บใจความ
ก็ในคำที่กล่าวมาแล้วนั้น
สรุปความได้ ดังนี้ :-
จิตทั้ง ๒ ดวง เป็นเอกเหตุกะ
สหรคตด้วยอุเบกขา เพราะความเป็นจิตงมงาย และกระสับกระส่ายฟุ้งซ่าน
ทั้งไม่แตกต่างกันโดยความต่างแห่งสังขารในกาลทุกเมื่อ ฯ จริงอยู่
ภาวะแห่งจิตที่เข้มแข็งตามสภาพและที่ถูกกระตุ้นเตือน ไม่มีแก่จิตทั้ง ๒ ดวงนั้น ที่กระสับกระส่าย ฟุ้งซ่านอยู่ในกาลทุกเมื่อ ฯ
สรุปคำอธิบาย
จ
นิบาตในที่นี้ มีอรรถประมวลมาหรือผนวกมา ให้แปลว่า แม้ หมายความว่า
นอกจากจะไม่มีการจำแนกโดยเวทนาแล้ว ยังไม่มีการจำแนกโดยสังขารอีกด้วย ฯ
คำว่า
สํสปฺปวิกฺขิป เป็นปริยาย คำที่ใช้แทน จญฺจลตา โดยลักษณะที่เป็นเหตุ อีกนัยหนึ่ง
สํสปฺปวิกฺขิป เป็นเหตุของ จญฺจลตา อีกทีหนึ่ง เพราะเข้าลักษณะว่า เหตุของเหตุ
สามารถใช้เป็นเหตุได้ ดังนั้น คำว่า สํสปฺปวิกฺขิป
จึงเป็นเหตุของความไม่มีของสังขารฯ ส่วนภาวะที่ปราศจากความยินดีและไม่พอใจในอารมณ์
จัดเป็นเหตุใกล้ของความเป็นจิตที่เป็นไปด้วยอุเบกขาฯ
[๗๙] จิตที่ชื่อว่าโมมูหะ เพราะเหตุว่า
ลุ่มหลงด้วยโมหะ
คืองมงายอย่างเหลือเกิน เพราะปราศจากมูลอื่น.
สรุปคำอธิบาย จิตที่ลุ่มหลงด้วยโมหะ คือ จิตที่ลุ่มหลงอย่างยิ่ง ดังนั้น
จิตที่ลุ่มหลงเพราะโมหะ มิใช่เป็นเพียงความลุ่มหลงเท่านั้น
แต่เป็นความลุ่มหลงอย่างยิ่ง
สํ อุปสัค ในบทว่า สมฺมุยฺหนฺติ
ท่านวางไว้ เพื่อทำให้ มุห ธาตุ ที่มีความหมายว่า เวจิตฺต ความหมุนไปของจิต
ให้มีความหมายว่า มุจฺฉ ลุ่มหลง
พระสุมังคลาจารย์จะแสดงให้ทราบว่า
เพราะเหตุที่ปราศจากเหตุอื่นกล่าวคือโลภะและโทสะ มีเพียงแต่โมหะเท่านั้น
จิตดวงนี้จึงลุ่มหลงด้วยโมหะหรือลุ่มหลงอย่างยิ่ง ดังนั้น
แม้จิตอื่นเช่นโลภมูลจิตเป็นต้นจะมีโมหะอยู่เช่นกัน ควรจะได้ชื่อว่า
จิตที่ลุ่มหลงอย่างยิ่งเช่นกัน แต่เพราะยังมีโลภหรือโทสมูลอยู่ด้วย
จึงทำให้จิตสองประเภทดังกล่าวไม่ได้ชื่อว่า โมมูหจิต จิตที่ลุ่มหลงอย่างยิ่ง ฯ
โมมูห มาจาก โมห +มุห จิตที่หลงด้วยโมหะ
เพราะจิตที่ลุ่มหลงด้วยโมหะ เป็นจิตที่หลงอย่างยิ่ง พระอนุรุทธาจารย์
จึงตั้งชื่อจิตดวงนี้ว่า โมมูหจิตฯ
๑ นิคมนํ แปลตรงศัพท์ว่า หยุด หรือไม่ไป
โดยสำเร็จจาก นิ + คมุ คติมฺหิ ไป นิ
อุปสัคใช้กลับเนื้อความของธาตุ จึงแปลว่า ไม่ไป. แต่ใช้ในความหมายว่า คำเป็นที่จบหรือรวมความ
ดังคัมภีร์มณิสารมัญชูสาว่า “นิคมนนฺติอปฺปนาฯ สา หิ
ยถาวุตฺตานิ ทฺวาทสากุสลจิตฺตานิ
นิคมิยนฺติ อปฺปิยนฺติ เอกโต ปเวสิยนฺติ
วา สมฺปิณฺฑิยนฺติ เอตฺถาติ นิคมนนฺติ วุจฺจติฯ คำว่า นิคมน หมายความว่า
คำเป็นที่ถึงที่สุด ฯ ก็ คำเป็นที่ถึงที่สุด นั้น เรียกว่า คำนิคม
เพราะอาจารย์ทำอกุศลจิต๑๒ดวงที่ได้กล่าวมาแล้ว ให้หยุด ให้ถึง (ที่สุด) ณ ที่นี้.
อีกนัยหนึ่ง ให้อกุศลจิต ๑๒ ดวงที่กล่าวมาแล้ว เข้าไป ได้แก่ รวบรวม
ให้อยู่ในคำนี้ด้วยกัน.
อีกนัยหนึ่ง แปลว่า คำย้ำความ
ดังคัมภีร์อัตถโยชนาว่า นิคมิยนฺติ ปุน
กถียนฺติ เอตฺถ วจเน จิตฺตานีติ นิคมนํฯ
คำนิคม คือ คำที่กล่าวจิต(ทั้ง ๑๒
ดวง) ซ้ำอีก. ในที่นี้แปลว่า
สรุปหรือคำรวมความตามนัยของคัมภีร์มณิสารมัญชูสาฯ พึงทราบว่า
คำนิคมที่ท่านกล่าวถึงนี้ ได้แก่ ข้อความในอภิธัมมัตถสังคหะว่า อิจฺเจวํ
สพฺพถาปิ ทฺวาทส อกุสลจิตฺตานิ สมตฺตานิ ฯ ข้าพเจ้ารวบรวมกล่าวอกุศลจิตทั้ง
๑๒ ไว้โดยประการทั้งปวง อย่างนี้ด้วยประการดังนี้
อีกนัยหนึ่ง
อาศัยนัยแห่งอัตถโยชนาตอนท้ายของอกุสลวัณณนา ที่แสดงว่า นิ มีอรรถว่า นิฏฺฐานํ
หรือ ปริโยสานํ จบ + คมุ ถึง ดังนั้น นิคมจึงแปลว่า คำเป็นที่ให้คำพูดถึงการจบลงฯ
[๘๑] วจน
และ วจนีย ศัพท์ ในบทว่า
วจนวจนียสมุทายนิทสฺสนตฺโถ นี้ ในมณิ.แสดงว่า
โสมนสฺสสหคตทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตอสงฺขาริกาทีนํ วจนานํ ตพฺพจนียานญฺจ ทฺวาทสนฺนํ
อกุสลจิตฺตานํ สมูหสฺส นิทสฺสนตฺโถ ฯ มีความหมายว่า
ชี้แสดงกลุ่มคำศัพท์มีโสมนสฺสหคต, ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺต, อสงฺขาริก เป็นต้น
และอกุศลจิต ๑๒ ที่คำว่า โสมนสฺสหคตเป็นต้นจะต้องกล่าวถึงฯ ดังนั้น คำว่า วจน
ได้แก่ คำว่า โสมฺนสฺสสหคต, ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺต, อสงฺขาริก เป็นต้นฯ วจนีย ได้แก่ อกุศลจิต
๑๒ ดวงที่คำว่าโสมนสฺสหคต เป็นต้นนั้นจะต้องกล่าวถึง ฯ ในอัตถ.ให้คำนิยามว่า
วุจฺจติ อตฺโถ เอเตน สทฺเทนาติ วจนํ, วจีตพฺโพ สทฺเทนาติ วจนีโยฯ
คำศัพท์ที่ใช้กล่าวถึงเนื้อความ เรียกว่า วจน, เนื้อความพึงกล่าวด้วยคำศัพท์
เรียกว่า วจนียฯ ประโยคนี้ จึงแสดงความหมายว่า อิติ
ศัพท์ชี้ให้เห็นกลุ่มคำศัพท์และจิตที่ได้กล่าวมาแล้วฯ
[๘๒] ในบทว่า
วจนวจนียปฏิปาฏิสนฺทสฺสนตฺโถ นี้ มณิ. ให้คำอธิบายว่า
โสมนสฺสสหคตทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตอสงฺขาริกวจนํ ปฐมํ, ตพฺพจนียญฺจ จิตฺตํ ปฐมํ,
โสมนสฺสสหคตทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตสสงฺขาริกวจนํ ทุติยํ, ตพฺพจนียญฺจ จิตฺตํ ทุติยนฺติ
เอวมาทิกาย ยถาวุตฺตวจนวจนียานํ ปฏิปาฏิยา สุฏฺฐุ ทสฺสนตฺโถฯ เอวํศัพท์
มีความหมายว่าชี้แสดงด้วยดี (ชี้ชัด)
โดยลำดับแห่งคำศัพท์และจิตดังได้กล่าวมาแล้วอย่างนี้ว่า คำว่า โสมนสฺสสหคต,
ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺต, อสงฺขาริก เป็นกลุ่มที่ ๑, จิตที่คำศัพท์นั้นกล่าวถึงเป็นจิตดวงที่
๑, คำว่า โสมนสฺสสหคต, ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺต, สสงฺขาริก เป็นกลุ่มที่ ๒,
จิตที่คำศัพท์นั้นกล่าวถึงเป็นจิตดวงที่ ๒ ดังนี้เป็นต้นฯ
ประโยคนี้จึงแสดงความหมายว่า เอวํศัพท์ แสดงลำดับแห่งคำศัพท์และจิตทั้ง ๑๒
ดวงเหล่านั้นให้เห็นชัด
[๘๓] อิจฺเจวํ
ตัดบทเป็น อิติ เอวํ ฯ ศัพท์นี้ มณิ.และโยชนา ระบุว่า พระสุมังคลาจารย์มองเป็น ๒
นัย คือ
นัยที่ ๑) เป็นนิบาตเดี่ยว
ซึ่งตัดบทเป็น อิติ + เอวํ โดย อิติ นิบาต มีอรรถนิทัสสนะ คือ แสดงให้เห็น แปลว่า
ชี้ ฯ ส่วน เอวํ ศัพท์ มีอรรถนิทัสสนะเหมือนกัน แต่ให้ใช้ในความหมายว่า สนฺทสฺสน
(สุฏฺฐุ ทสฺสนํ) แปลว่า แสดงด้วยดี หรือ ชี้ชัดฯ หมายความว่า
แม้จะมีอรรถเดียวกันก็จริง แต่ใช้ในฐานะต่างกัน ดังที่ท่านแสดงมาแล้วนั้น.
นี้เป็นนัยที่ ๑.
นัยที่ ๒ เป็นนิบาตหมู่ หมายถึง
นิบาตหลายตัวรวมกันเป็น ๑ ศัพท์มีความหมายเดียวฯ เนื้อความของนิบาตหมู่นี้
จะกล่าวข้างหน้า ฯ
[๘๔] เพิ่มเข้ามาตามนัยของมณิ.
ปวตฺโต มีอธิบายว่า ตทตฺถโชตโก เป็นตัวส่องเนื้อความดังกล่าว
[๘๕] อีกนัยหนึ่ง
แปลตามอัตถ.ว่า เอส = เอโส อิจฺเจวนฺติ นิปาตสมุทาโย
วจนวจนียนิคมนารมฺเภ = วจนวจนียานํ ปุน กถนกรเณ วตฺตติฯ นิบาตหมู่นั้น เป็นไปในการเริ่ม คือ ทำการกล่าว
ย้ำคำตามที่กล่าวไว้แล้วฯ อนึ่ง บทว่า
อารมฺภ ที่ใช้ในความหมายนี้ ในโยช. ว่า อารมฺภนํ กรณํ อารมฺโภ การกระทำ ชื่อว่า
อารัมภะ ฯ ดังนั้น อาจแปลตามนัยของโยช. ว่า ทำการกล่าวย้ำ ... ไว้แล้วฯ
อิจฺเจวํ
ศัพท์นี้ มณิ.ท่านแนะคำแปลไว้เป็นสองนัย คือ
๑)
เริ่มสรุปทั้งคำศัพท์และจิตที่ถูกกล่าวถึงฯ
เพราะทั้งศัพท์และจิตที่ถูกกล่าวถึง ไม่เป็นไปแยกจากกัน ดังนั้น
เมื่อสรุปศัพท์ จิตก็เป็นอันถูกสรุปไปด้วย ฯ
๒)
เริ่มสรุปจิตที่ถูกคำศัพท์เป็นต้นว่า เกิดพร้อมกับโสมนัสเป็นต้นนั้น กล่าวถึงฯ
โดยนัยนี้ จึงพ้องกับข้อความที่พระสุมังคลาจารย์กล่าวไว้ว่า ประโยคว่า อิจฺเจวํ
เป็นต้นเป็นคำสรุป ฯ เพราะท่านประสงค์เอาเฉพาะจิตเท่านั้น มิได้หมายเอา
คำศัพท์เหล่านั้น ซึ่งเป็นวิเสสนะฯ
ในที่นี้เลือกเอาคำแปลตามนัยที่ ๒
เพราะเห็นว่า ตรงความประสงค์ของพระฏีกาจารย์
[๘๖] สมตฺตานิ
ศัพท์ ในมณิ.แสดงว่า สมตฺตานิ มี ๒ นัย คือ
นัยที่
๑) เป็นอนิปผันนปาฏิปทิก ศัพท์ที่ไม่สำเร็จมาจากธาตุและปัจจัย กล่าวคือ
ไม่สามารถตั้งรูปวิเคราะห์ได้ ที่มีความหมายว่า ปรินิฏฺฐิต
จบลงหรือสำเร็จทั้งหมดแล้วฯ พึงเห็นว่า สมตฺต ศัพท์มีอรรถ๒ ประการ คือ นิฏฺฐิต จบ
และ อขิล ทั้งสิ้น (ธา. ๑๐๖๘)ฯ
การที่พระอาจารย์สุมังคละระบุว่า สมตฺตานิ คือ ปรินิฏฺฐานิ แสดงว่า สมตฺต
ศัพท์ ในที่นี้ มีอรรถว่า นิฏฺฐิต ไม่ประสงค์อรรถว่า พหุล มากฯ
นัยที่๒) เป็นนิปผันนปาฏิปทิกบท ศัพท์ที่สำเร็จจากธาตุและปัจจัย
โดยมาจาก อช ธาตุ ในความไป มี สํ เป็นบทหน้า , สํ เป็นอุปสัคกลับความของธาตุ
ดังนั้น จึงแปลว่า ไม่ไป หมายถึง จบ, สำเร็จ คือ ถึงที่สุดแล้วฯ
แต่โยชนา
กล่าวว่า สํ =
นิฏฺฐํ + อช = คมุ ถึง ฯ
สํ กล่าวอรรถที่สุด ดังนั้น จึงแปลตรงตัวว่า ถึงที่สุด
[๘๗] ปรินิฏฺฐิต
ศัพท์นี้ โยชนา กล่าวว่า เป็นการแสดงคำไขความ สมตฺต ศัพท์ มาจาก ปริ สมนฺตโต
อวสาเนน ติฏฺฐนฺตีติ ปรินิฏฺฐิตานิฯ ตั้งอยู่เพราะจบลงโดยทั้งหมดฯ
[๘๘] ความตรงนี้เป็นการแสดงความหมายของ
สมตฺตานิ อีกนัยหนึ่ง โดยมาจาก สํ = สงฺคห รวมรวม + อตฺต = คหิต ถือเอา ฯ โยชนา อธิบายว่า บทว่า
สงฺคเหตฺวา แปลว่า รวบรวม
เป็นการไขความอรรถของ สํอุปสัค, คหิต เป็นการไขความ อตฺต ศัพท์
ด้วยการอธิบายโดยอรรถของธาตุฯ
[๘๙] วุตฺตานิ
เป็นบทไขความของ คหิตานิ ด้วยคำอธิบายศัพท์ฯ
หมายความว่า การกล่าว ชื่อว่า การถือเอา ฯ
[๙๐] อาการ
หมายถึง ประเภทแห่งธรรมที่เหมือนกัน มีวิ.
อากรณํ สามญฺญสฺส เภทกํ อากาโร (โยชนา) จึงสามารถแปลว่า โดยประเภท
มีประเภทแห่งสัมปโยคฯลฯ ..... ก็ได้
[๙๑] วิจิกิจฺฉุทฺธจฺจโยเคน
[วิจิกิจฺฉา + อุทฺธจฺจ + โยค] “โยค” เป็นคำที่อยู่หลังกลุ่มคำที่เป็นทวันท- สมาส
เวลาแปลจะต้องนำมาประกอบกับศัพท์ข้างหน้าทุกศัพท์ เป็น วิจิกิจฺฉาโยค, อุทฺธจฺจโยค
ว่า คือการประกอบกับวิจิกิจฉา ด้วย การประกอบกับอุทธัจจะ ด้วย
[๙๒] การที่แสดงไขบทว่า
อิจฺเจวํ เป็น ยถาวุตฺตนเยน เพราะ อิจฺเจวํ ที่เป็นหมู่นิบาต นี้ลงตติยาวิภัตติ
เอกวจนะ ใช้ในอรรถกรณะ และเชื่อมความกับบทว่า สมตฺตานิ แปลว่า
จบลงแล้วด้วยนัยดังกล่าวแล้ว ฯ หมายความว่า นัยดังกล่าวมาแล้วทั้งหมด
เป็นคำที่ช่วยทำให้อกุศลจิต ๑๒ สำเร็จลงโดยสมบูรณ์ ฯ
[๙๓] เพิ่มมาตามนัยของมณิ.
[๙๔] อ
อักษรมีอรรถ ๑๐ ประการ คือ ปฏิเสธกิริยา เช่น อกตฺวา ไม่ทำ, วุทธิ เช่น อเสกขา
ธมฺมา ธรรมที่เจริญกว่าเสกขธรรม, ตัพภาวะ
เช่น อนวชฺชมริฏฐํ ยาอริฏฐะไม่มีโทษ, อัญญัตถะ เช่น อพฺยากตา ธมฺมา
ธรรมที่มีสภาวะเป็นอย่างอื่นจากธรรมที่ตรัสไว้โดยเป็นกุศลและอกุศล, สุญญะ เช่น
อภาโว ความว่างเปล่า, สทิส อมุสฺโส อมนุษย์ เหมือนมนุษย์, วิรุทธะ เช่น อกุสลา
ธมฺมา ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับกุศล, ครหะ เช่น อราชา พระราชาซึ่งน่าตำหนิ, วิรหะ เช่น อปุตฺตกํ สาปเตยฺยํ ทรัพย์สมบัติ
ไร้ทายาท, อัปปกะ เช่น อนุทรา กญฺญา นางสาวเอวบาง, พึงทราบว่า อ อักษรในบทว่า อกุสลานิ นี้มีอรรถว่า วิรุทธะ ตรงข้าม
กล่าวคือ เป็นปฏิปักษ์กัน ฯ ดังนั้น คำว่า อกุสล
ถ้าแปลให้ตรงตามที่ประสงค์ต้องแปลว่า ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับกุสล
ไม่ควรแปลในอรรถของอัญญัตถะว่า ธรรมที่อื่นจากกุศล หรือในอรรถของอภาวะว่า
ธรรมที่ไม่เป็นกุศล จะทำให้ความหมายของคำนี้ผิดไปไกลจากที่พระผู้มีพระภาคประสงค์
ฯ
[๙๕] จ
นิบาต ใช้ในอรรถวากยารัมภะ เพราะแสดงเนื้อความสืบต่อจากประโยคหน้าที่กล่าวดูเหมือนคลุมเครือว่า
เพราะท่านอาจารย์ได้กล่าวว่า เป็นปฏิปักษ์ เหมือนศัตรูที่จ้องทำลายต่อกันและกัน
จึงอาจเกิดสงสัยได้ว่า แม้กุศลและอกุศลย่อมทำลายกันและกัน จึงได้กล่าวประโยคนี้
เพื่อแก้ไขความสงสัยข้อนั้น ฯ
[๙๖] ข้อความว่า
อมิตฺโต เป็นต้น นี้เป็นตัวอย่างในทางโลก ที่เปรียบเทียบให้เห็นอรรถวิรุทธะของ
อกุสล ศัพท์ฯ ชนผู้ไม่เป็นมิตรแก่กันและกัน ชื่อว่า เป็นปฏิปักษ์
ศัตรูผู้จองเวรกัน หรือเป็นคู่ปรับกัน ย่อมทำกันและกันให้พินาศไป ฯ แต่พึงทราบว่า
การเป็นปฏิปักษ์กันของกุศลและอกุศล ต่างจากอุทาหรณ์ทางโลก
เพราะความเป็นปฏิปักษ์นั้น เป็นไปโดยที่กุศลเป็นปหายกะ ผู้ละ,
ส่วนอกุศลเป็นธรรมที่ถูกละโดยส่วนเดียวฯ
ดังข้อสรุปในมณิสารมัญชูสาว่า พึงทราบ บาปธรรมเป็นปฏิปักษ์ แก่กุศล
โดยกุศลเป็นผู้ละ,
และโดยอกุศลเป็นธรรมที่ถูกละ อย่างเดียวฯ มิใช่โดยการทำลายต่อกันและกัน เพราะ กุศล ไม่พึงถูกอกุศลละ, แต่
กุศลเท่านั้น ซึ่งความเพียรให้สำเร็จแล้ว ย่อมละ อกุศลทั้งหลาย
ซึ่งติดตามสัตว์ทั้งหลายอยู่ตลอดไป โดยเกี่ยวกับตทังคปหาน,
วิกขัมภนปหานและสมุจเฉทปหาน เพราะกุศลมีกำลังมาก ด้วยประการดังนี้. เมื่อถือเอาความโดยประการอื่นที่ว่า
แม้กุศลยังเป็นฝ่ายถูกอกุศลละได้
สัตว์ทั้งหลาย ก็จะเต็มอบายนั่นเอง เพราะมูลแห่งกุศลถูกอกุศลทำลายอยู่ฝ่ายเดียว.
[๙๗] ยถากฺมํ
ตามลำดับ นี้เป็นศัพท์แสดงความคล้อยตามลำดับแห่งการแสดงของบททั้งสอง
โดยแสดงให้ทราบว่า กุศล ซึ่งเรียงไว้ข้างหน้า เช่นเดียวกับ ปหายก กุศลจึงเป็นปหายกะ คือผู้ละ, ส่วนอกุศล
ซึ่งเรียงไว้ข้างหลังเช่นเดียวกับ ปหาตพฺพ อกุศลจึงเป็น ปหาตพฺพ ธรรมที่ควรถูกละ ฯ
[๙๘] อฏฺฐธาติอาทิ
นี้ อัตถโยชนา เพิ่มปาฐเสสะว่า อฏฺฐธาติอาทิวจนํ ดังนั้น อาจแปลตามนัยของโยชนาว่า
คำเป็นต้นว่า อฏฺฐธา ดังนี้ก็ได้ฯ อย่างไรก็ดี อาทิศัพท์ เป็น ๓ ลิงค์
และเมื่อเข้าเป็นพหุพพีหิสมาส ต้องมีลิงค์ตามปธานบท ก็บทนี้หมายถึงคาถาสังคหะ
และปธานบท ควรเป็น คาถา ดังนั้น ปาฐเสสะควรเป็น คาถา
เพื่อให้สอดคล้องกับบทที่ปรากฏในอภิธัมมัตถสังคหะ
[๙๙] สงฺคหคาถา
มีการสำเร็จรูปและวิเคราะห์ตามโยชนาว่า
วุตฺตตฺถานํ สงฺคหณํ
สงฺคโห ฯ คิยติ กถิยตีติ
คาถา ยา สทฺทชาติ ฯ เค สทฺเท
สมาทีหิ ถมาติ ถ
กฺวจิ ธาตูติอาทินา เอการสฺส
อา ฯ สงฺคเหน
วุตฺตตฺถานํ สงฺขิปเนน วุตฺตา คาถา
สงฺคหคาถา ฯ
การย่อความที่กล่าวไว้ ชื่อว่า
สังคหะฯ เสียง ที่ถูกเปล่งออกมา
ชื่อว่า คาถาฯ มาจาก เค สทฺเท เค
ธาตุในการออกเสียง, ลง ถ ปัจจัย ด้วยสูตรว่า สมาทีหิ ถมา ,อาเทส เอ เป็น อา ด้วย
กฺวจ ธาตุฯ สูตรฯ สำเร็จรูปเป็น คาถาฯ
คาถาที่ถูกกล่าวไว้ โดยย่อความที่กล่าวมาแล้วนั้น ชื่อว่า สงฺคหคาถา ฯ
มณิสารมัญชูสาอธิบายอีกนัยหนึ่งว่า
สงฺคหคาถา
วิตฺถาเรน วุตฺตจิตฺตานํ สุขคหณตฺถํ อิมาย คาถาย สงฺขิปิตฺวาวุตฺตตฺตา, น
อปฺปนาคาถา "อิจฺเจวนฺ"ติอาทินา วุตฺตจิตฺตานํ อปฺปิตตฺตา, น
อตฺถนฺตรคาถา อปุพฺพสฺส อตฺถสฺส อวุตฺตตฺตาฯ
วจนตฺโถ ปเนตฺถ เอวํ เวทิตพฺโพฯ
วิตฺถาเรน วุตฺตจิตฺตานิ สุขคหณตฺถํ
สงฺคยฺหนฺติ สงฺขิปิยนฺติ เอตฺถาติ
สงฺคโหฯ ปริพฺยตฺเตน อายเตน วา สเรน คียติ กถียตีติ คาถา, อตฺเถ คนฺเธติ สูเจติ ปกาเสตีติ วา คาถา นิรุตฺตินเยนฯ สงฺคหภูตา คาถา สงฺคหคาถา, อุทฺทานคาถาติ อตฺโถฯ
คาถาเริ่มต้นว่า อฏฺฐธา เป็นคาถารวมความ เพราะอาจารย์ย่อกล่าวจิตที่แสดง
โดยพิสดาร ไว้ด้วยคาถานี้
เพื่อกำหนดความเหล่านั้นได้ง่ายฯ ไม่เป็นคาถาจบความ เพราะอาจารย์ทำจิตที่ท่านแสดงไว้ให้จบลงด้วยคำว่า
อิจฺเจวํ เป็นต้นฯ ไม่เป็นอัตถันตรคาถา (คาถาแสดงเนื้อความเป็นพิเศษคือเนื้อความของคาถานี้เป็นอีกอย่างหนึ่งต่างหากจากเนื้อความหลักซึ่งจะต้องไม่เคยกล่าวมาก่อน)
เพราะอาจารย์ไม่ได้กล่าวเนื้อความซึ่งไม่เคยกล่าวฯ
ส่วนความหมายของศัพท์
ในคำว่า สงฺคหคาถา ควรทำความเข้าใจอย่างนี้ฯ ชื่อว่า สังคหะ เพราะว่า
จิตที่กล่าวไว้ โดยพิสดาร ถูกย่อ ไว้ในคำพูดนี้ เพื่อกำหนดได้ง่ายฯ ชื่อว่า คาถา เพราะว่า เป็นคำพูดที่กล่าวไว้
ด้วยเสียงที่พิเศษหรือร้อยเรียงไว้, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า คาถา เพราะว่า
เป็นคำพูดแสดงซึ่งเนื้อความทั้งหลายฯ
มีการสำเร็จเป็นรูปคำว่า คาถาโดยนิรุตตินัย (คือ การอาเทสอักษร
ในที่นี้ได้แก่ แปลง ก ที่ กถ ธาตุ เป็น ค แล้วทีฆะ อ เป็น อา หรือ แปลง นฺธ ที่ คนฺธ ธาตุ เป็น ถ แล้วทีฆะ อ เป็น อา คาถา )ฯ คาถาคือคำเป็นที่ย่อความ ชื่อว่า สังคหคาถา ฯ
มีความหมายว่า คาถาแสดงหัวข้อธรรมฯ
[๑๐๐]
ปาฐเสสะนี้เพิ่มเข้ามา เพื่อแสดงว่า อิติ ศัพท์ มีอรรถว่านิทัสสนะ แปลว่า
อย่างนี้ฯ (ตามนัยของมณิ) หรืออีกนัยหนึ่ง ให้ อิติ นี้เป็นอาการัตถะ
แสดงความหมายของคาถาสังคหะนั้นว่า จิต อันเป็นอกุศล พึงมี ๑๒ ดวง โดยประเภทมีความเป็นจิต
๘ ดวงเป็นต้น อย่างนี้คือ จิต มีโลภะเป็นมูลคือ มี ๘ ดวง ด้วย
จิตมีโทสะเป็นมูล มี ๒ ดวง ด้วย จิตมีโมหะเป็นมูล มี ๒ ดวง ด้วย
[๑๐๑] การที่พระสุมังคลาจารย์วิเคราะห์ว่า
โลโภ จ ... โส มูลญฺจ นี้เพียงแต่แสดงให้เห็นว่า ระหว่าง โลโภ และ มูลํ
นั้นมีอรรถที่เท่ากัน และให้แปล โลภมูลํ ว่า โลภะเป็นมูล
เพราะเป็นบทที่มีเนื้อความเสมอกันและกัน แต่ไม่ต้องการแสดงว่า โลภมูลานิ
เป็นกัมมธารยสมาส แต่แสดงรูปวิเคราะห์แบบกัมมธารยสมาสไว้ เพื่อนำบทว่า โลภมูลํ
มาเป็นประโยชน์แก่การใช้เป็นคุณบทของพหุพพีหิสมาสข้างหน้าว่า ตํ โลภมูลํ เอเตสนฺติ
โลภมูลานิ ฯ ความข้อนี้สมกับที่มณิ.อธิบายว่า
โลโภ จ โส ฯปฯ มูลญฺจาติ เอเตน ปททฺวยสฺส ตุลฺยาธิกรณภาโว, โลภสฺส จ
"มูลมิว มูลนฺ"ติ อตฺเถน
คุโณปจารวเสน มูลภาโว ทสฺสิโต,
น กมฺมธารยสมาโสฯ ท่านแสดง ความมีอรรถเสมอกัน
ของบททั้งสอง (คือ โลโภ และ มูลํ) ด้วยบท ว่า โลโภ จ โส ... มูลญฺจ
ฯ ไม่แสดงว่าเป็นกัมมธารยสมาสด้วยบทนี้
แม้ในโยชนา
ท่านก็ให้ความเห็นเหมือนกันว่า ด้วยคำว่า โลโภ จ .. มูลญฺจ นี้ ท่านแสดงว่า บทว่า
โลภมูลํ เป็นกัมมธารยสมาสฯ พึงทราบว่าแม้ในโยชนาท่านแสดงไว้อย่างนี้ก็
ไม่ได้หมายความว่า บทว่า โลภมูลานิ นี้เป็นกัมมธารยสมาส แต่อย่างใดฯ
[๑๐๒] การแปลแบบนี้พึงทราบว่า
เป็นการแปลแบบโวหารัตถะ (ชื่อเรียกที่รู้จักโดยทั่วไป) เพราะท่านวิเคราะห์
มูลศัพท์ ไว้ถึงสองนัย คือ
๑) มูลยติ เอเตนาติ มูลํ , รุกฺโข
เอเตน มูเลน มูลยติ ปติฏฺฐาติ อิติ ตสฺมา ตํ มูลํ มูลํ นามฯ
ต้นไม้ตั้งอยู่ได้ด้วยอวัยวะนี้ เหตุนั้น อวัยวะนี้ ชื่อว่า มูล
(อวัยวะเป็นเครื่องช่วยให้ต้นไม้ตั้งอยู่ได้ ได้แก่ ราก) ,
มูล (ที่เป็นรากนั้น) นั้น ชื่อว่า มูล ฯ
๒) มูลมิว มูลํ เป็นดังมูลนั้น
ชื่อว่า มูลฯ
มูเลน สทิโส มูลสทิโส , มูลสทิสสฺส
ภาโว มูลสทิสตฺตํฯ เป็นเหมือนกับราก ชื่อว่า มูลสทิสํฯ คุณคือความเหมือนกับต้นไม้ ชื่อว่า
มูลสทิสสตฺตํ ฯ
จะเห็นได้ว่า นัยที่ ๑ แสดงมูลว่า
ได้แก่ อวัยวะที่ช่วยทำให้ต้นไม้ตั้งอยู่ได้ ซึ่งได้แก่ รากของต้นไม้นั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ การแปลแบบโวหารัตถะ จึงได้แก่ รากไม้
เพราะรากไม้เป็นสิ่งที่เป็นฐานตั้งอยู่แห่งต้นไม้แต่ไม่ได้หมายถึงอวัยวะอย่างอื่นที่สามารถทำให้ต้นไม้ตั้งอยู่ได้เหมือนกันฯ
แต่ถ้าแปลแบบสัททัตถะ ต้องแปลว่า สิ่งช่วยให้ต้นไม้ยืนอยู่ได้ฯ
ส่วนนัยที่ ๒
แสดงคุณคือความเหมือนกับรากไม้นั้น ดังนั้น คำว่า มูลในที่นี้ไม่ได้ประสงค์เอา
มูลที่แปลว่ารากไม้ แต่ให้หมายเอาเหตุมีโลภะเหตุเป็นต้น ดังนั้น
ในที่นี้จึงแปลบทว่า มูลํ ในคำว่า มูลญฺจ นั้น
แบบ โวหารัตถะว่า มูล เพราะ มูลในที่นี้หมายรู้กันโดยทั่วไปว่า มูล คือ
เหตุที่ทำจิตและเจตสิกตั้งมั่น ฯ ถ้าแปลแบบอธิปปายัตถะ ต้องแปลว่า เหตุฯ แต่ถ้าแปลแบบสัททัตถะ
ต้องแปลว่า เหมือนกับรากไม้
พึงทราบว่า การใช้คำว่า มูลํ
ที่มีความหมายว่า เหมือนกับรากไม้ นี้เป็นการใช้คำพูดแบบคุณูปจารนัย
เพราะกล่าวถึงคุณคือความเหมือน แต่หมายถึงคุณี คือ เหตุ ๖
ที่มีความเหมือนกับรากไม้นั้น ดังมณิสารมัญชูสาอธิบายว่า โลภสฺส จ "มูลมิว มูลนฺ"ติ อตฺเถน คุโณปจารวเสน มูลภาโว ทสฺสิโต ฯ และแสดง ความเป็นมูล
แห่งโลภะโดยเกี่ยวกับเป็นโวหารว่าคุณ เพราะอรรถ ว่า มูลํ อิว มูลํ
เป็นดุจมูล ชื่อว่า มูล ,
[๑๐๓] คำว่า
โลภมูลํ นี้เพิ่มเข้ามาตามนัยของมณิ. ที่ระบุว่า ตํสทฺเทน "โลโภ
มูล"นฺติ ปททฺวยสฺส ปจฺจามฏฺฐตฺตา
เพราะระบุ บททั้งสอง คือ บทว่าโลภ และ มูลํ ด้วยตํศัพท์ฯ
[๑๐๔] ในที่นี้แปลเป็นพหุพพีหิสมาสตามนัยของมณิสาร.
เพราะรูปวิเคราะห์ของโมหมูลจิตข้างหน้าเป็นพหุพพีหิสมาสฯ ส่วนในโยชนาแสดงว่า
บทนี้เป็นอัสสัตถิตัทธิต ดังนั้น ถ้าแปลตามนัยของโยชนา จึงต้องแปลว่า
โลภะอันเป็นมูลนั้น มีอยู่ แก่จิตเหล่านี้ เหตุนั้น จิตเหล่านั้น ชื่อว่า
มีโลภะเป็นมูลฯ แต่ความหมายก็คงเหมือนกัน
ฯ
[๑๐๕] ในโยชนา
แสดงว่า ต ด้วยตถานิบาตนั้น เป็นอันท่านอาจารย์ชี้แนะว่า โทสมูลจิต
ก็มีรูปวิเคราะห์แบบโลภมูลจิตทุกประการ และมี ๒ ประเภท ดังนั้น
ในที่นี้จึงแปลไว้เช่นนี้ ให้ตรงกับความหมายที่ประสงค์ ฯ แต่ในมณิ.
แสดงอีกนัยหนึ่งว่า ตถาติ อิมินา "สิยุนฺ"ติ กฺริยาปทํ
อากฑฺฒติฯ อถวา ตถาติ ยถา
โลภมูลานิ เวทนาทิเภทโต อฏฺฐธา
สิยุํ, เอวํ โทสมูลานิ
สงฺขารเภทโต ทฺวิธา สิยุนฺติ อตฺโถฯ ตถาศัพท์ ดึงเอาบทว่า สิยุํ มา , หรือ
มีความหมายว่า โลภมูลจิตมี ๘ โดยประเภทเวทนา อย่างไร แม้โทสมูลจิต มี ๒
โดยประเภทสังขารอย่างนั้นฯ ดังนั้น ถ้าแปลตามนัยของมณิ. ก็ต้องแปลว่า โทสมูลจิต
ก็พึงมี ๒ โดยประเภทสังขารฯ ในที่นี้เอาตามโยชนา.
[๑๐๖] จ
นิบาต ใช้ในอรรถสัมปิณฑนัตถะ ดังนั้น จึงประมวลเนื้อความที่กล่าวไว้ในโทสมูลจิตมากล่าวอีกว่าใช่ว่า
โทสะมี ๒ โดยประเภทสังขารอย่างเดียวก็หามิได้ แม้โมหมูลจิต ก็มี ๒เหมือนกัน
ตามประเภทสัมปโยคะฯ (โยชนา)
[๑๐๗] บทนี้เป็นบทไขความบทว่า
โมหมูลานิ ฯ
[๑๐๘] สุทฺธ
ศัพท์ ในที่นี้ แปลว่า ล้วนๆ กล่าวคือ มีโมหะอย่างเดียวเป็นมูล ไม่ปะปนกับมูลสองที่เหลือ
[๑๐๙] ท่านใช้คำว่า
เทฺว แสดงว่า โมหมูลจิต ๒ ดวงนั้น ไม่มีการจำแนกเป็น ๒
ประเภททั้งที่ก่อนหน้านี้ใช้ อฏฺฐธา ทฺวิธา เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ไม่เป็นอันต้องภัคคิรีติโทษ
(โทษที่กล่าวศัพท์และความหมายหักลำดับ) ที่ผิดลักษณะการรจนา. และที่กล่าวเช่นนี้
เพราะรักษาคณะฉันท์
[๑๑๐] คือ
การประกอบกับวิจิกิจฉาและอุทธัจจะฯ
[๑๑๑] ด้วย
อิติ นิบาตที่มีอรรถอาการะนี้ มีความหมายว่า จิตซึ่งเป็นอกุศล พึงมี ๑๒ เท่านั้น
โดยอาการคือโดยประเภทมีความเป็นจิต ๘ เป็นต้น แห่งโลภมูลจิตเป็นต้นนี้,
หมายความว่า ไม่น้อยกว่าและมากกว่านั้น. อรรถอาการะ ในที่นี้ มีความหมายว่า
จำแนกประเภท คล้ายๆ กับ สรูปะ แต่ไม่ใช่มีอรรถว่า อาการะ ที่แปลว่า ว่า...ดังนี้
ซึ่งเข้ากับกิริยา.
[๑๑๒]โยชนาให้รูปวิเคราะห์ว่า
วณฺณิยนฺติ วิตฺถาริยนฺติ เอตาย สทฺทชาติยาติ วณฺณนาฯ วณฺณ วิตฺถาเร สัททชาติที่ใช้อธิบายขยายความ
ชื่อว่า วัณณนาฯ มาจากวณฺณธาตุ ในอรรถว่า ขยายความหรืออธิบายความให้กว้างขวางฯ
มณิสารเพิ่มเติมว่า ความจริงไม่ใช่ว่าท่านกล่าวเฉพาะการอธิบายศัพท์ว่า
อกุศลจิต เท่านั้น แต่หมายถึง
การอธิบายไปถึงตัวอกุศลจิตด้วย เพราะศัพท์และอรรถไม่แยกกัน ดังนี้ว่า อกุสลานิ
จิตฺตานิ วณฺณียนฺติ เอตายาติ อกุสลวณฺณนาฯ วจเนสุ หิ วณฺณิเตสุ ตพฺพจนียาปิ วณฺณิตาเยว
โหนฺติ ตทวินาภาวโตฯ
จิตทั้งหลาย อันเป็นอกุศล ถูกอธิบาย ด้วยศัพท์นี้ เพราะเหตุนั้น ศัพท์นั้น ชื่อว่า อกุสลวัณณนา
ศัพท์ที่ใช้อธิบายความอกุศลจิตฯ อนึ่ง เมื่อคำศัพท์ ถูกอธิบายแม้จิตที่คำศัพท์นั้นพึงกล่าว
ย่อมเป็นอันถูกอธิบาย เพราะไม่แยกจากกันฯ
อีกนัยหนึ่ง คำว่า อกุศลวณฺณนา
นี้หมายถึงการแสดงอกุศลจิตนั่นแหละ ดังอธิบายนี้ว่า อถวา อกุสลานํ นิทฺเทโส
อกุสลนิทฺเทโสฯ ตสฺส วณฺณนา อกุสลวณฺณนา อีกนัยหนึ่ง
การแสดง ซึ่งอกุศลจิตทั้งหลาย ชื่อว่า อกุสลนิทเทส การแสดงอกุศลจิตฯ การอธิบาย ซึ่งอกุสลนิทเทสนั้น ชื่อว่า
การอธิบายอกุศลนิทเทส ฯ
[๑๑๓] นิฏฺฐิตา
มาจาก นิ กล่าวอรรถจบลง+ ฐา คตินิวตฺติมฺหิ หยุดการไป วิ. อวสาเนน ติฏฺฐตีติ นิฏฺฐิตา นิฏฺฐิตา คือ ตั้งอยู่โดยการจบลง ฯ
แต่มณิสาร. แสดงว่า นิฏฺฐํ = ปริโยสานํ จบ+ อิ = ปตฺต ถึง+ ต แล้วให้ความหมายที่น่าสนใจดังนี้
การอธิบายอกุศลจิตถึงการจบลง เพราะได้อธิบาย เนื้อความที่เข้าใจยากโดยประการทั้งปวงแล้วเนื่องจากการปรารภเพื่ออธิบายจบลง
โดยเนื้อความที่เข้าใจยาก ซึ่งควรอธิบาย ใดๆไม่เหลือแล้ว .
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น