วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

๒. อภิธัมมัตถสังคหะและวิภาวินี - อธิบายลักษณะทั่วไปของปรมัตถธรรม ๔

อภิธมฺมตฺถสงฺคโห จตุปรมตฺถธมฺโม
ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา,                       จตุธา ปรมตฺถโต
จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ,                       นิพฺพานมิติ สพฺพถาฯ

แสดงปรมัตถธรรม ๔
อภิธมฺมตฺถา อรรถในพระอภิธรรม ภควตา อันพระผู้มีพระภาค วุตฺตา ตรัสแล้ว สพฺพถา โดยประการทั้งปวง ปรมตฺถโต โดยปรมัตถ์ ตตฺถ ในอภิธรรมปิฎกนั้น จตุธา = จตูหากาเรหิ ฐิตา ดำรงอยู่โดย  ๔ ส่วน อิติ = เอวํ  อย่างนี้ คือ จิตฺตํ จิต, เจตสิกํ เจตสิก รูปํ รูป นิพฺพานํ พระนิพพาน.

********

อภิธมฺมตฺถวิภาวินี
ปรมตฺถธมฺมวณฺณนา
อธิบายลักษณะทั่วไปของปรมัตถธรรม ๔
. เอวํ ตาว ยถาธิปฺเปตปฺปโยชนนิมิตฺตํ รตนตฺตยปณามาทิกํ วิธาย อิทานิ เยสํ อภิธมฺมตฺถานํ สงฺคหณวเสน อิทํ ปกรณํ ปฏฺฐปียติ, เต ตาว สงฺเขปโต อุทฺทิสนฺโต อาห ‘‘ตตฺถ วุตฺตา’’ตฺยาทิฯ ตตฺถ ตสฺมิํ อภิธมฺเม สพฺพถา กุสลาทิวเสน, ขนฺธาทิวเสน จ วุตฺตา อภิธมฺมตฺถา ปรมตฺถโต สมฺมุติํ ฐเปตฺวา นิพฺพตฺติตปรมตฺถวเสน จิตฺตํ วิญฺญาณกฺขนฺโธ, เจตสิกํ เวทนาทิกฺขนฺธตฺตยํ, รูปํ ภูตุปาทายเภทภินฺโน รูปกฺขนฺโธ, นิพฺพานํ มคฺคผลานมารมฺมณภูโต อสงฺขตธมฺโมติ เอวํ จตุธา จตูหากาเรหิ ฐิตาติ โยชนาฯ
อาจริโย พระอนุรุทธาจารย์ วิธาย = กตฺวา ครั้นทำแล้ว รตนตฺตยปณามาทิกํ ซึ่งกิจมีการนอบน้อมพระรัตนตรัยเป็นต้น ยถาธิปฺเปตปฺปโยชนนิมิตฺตํ อันเป็นเหตุแห่งประโยชน์มีการห้ามอันตรายเป็นต้นตามที่ประสงค์ เอวํ อย่างนี้ ตาว ไว้เป็นประการเบื้องต้นแล้ว,   อิทํ ปกรณํ ปกรณ์นี้ อาจริเยน อันพระอนุรุทธาจารย์ ปฏฺฐปิยติ ย่อมตั้งไว้โดยประการต่างๆ[๑] สงฺคหณวเสน เนื่องด้วยการรวบรวม เยสํ อภิธมฺมตฺถานํ ซึ่งอรรถในพระอภิธรรมเหล่าใด, อิทานิ บัดนี้ อุทฺทิสนฺโต เมื่อยกหัวข้อแสดง[๒] เต อภิธมฺมตฺถา ซึ่งอรรถในพระอภิธรรมเหล่านั้น สงฺเขปโต โดยสังเขป ตาว ไว้เป็นเบื้องต้น อาห จึงกล่าว “ตตฺถ วุตฺตา” อิติอาทิ เป็นต้นว่า อรรถพระอภิธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วในอภิธรรมปิฎก ดังนี้ไว้. โยชนา ประกอบความ อิติ อภิธมฺมตฺถา ว่า อรรถในพระอภิธรรม ภควตา อันพระผู้มีพระภาค วุตฺตา ตรัสแล้ว กุสลาทิวเสน โดยเป็นกุศลเป็นต้น ด้วย, ขนฺธาทิวเสน จ และโดยเป็นขันธ์เป็นต้น[๓] ตตฺถ = ตสฺมิํ อภิธมฺเม ในอภิธรรมปิฎกนั้น จตุธา โดยสี่ประการ จตูหากาเรหิ ฐิตา คือ ดำรงอยู่แล้ว  ๔ อย่าง ปรมตฺถโต โดยปรมัตถ์ นิพฺพตฺติตปรมตฺถวเสน คือ โดยเนื่องด้วยปรมัตถ์ ที่ทรงแยกแสดง  ฐเปตฺวา เว้น สมฺมุติํ ซึ่งสมมุติ[๔] อิติ = เอวํ อย่างนี้คือ จิตฺตํ จิต วิญฺญาณกฺขนฺโธ คือ วิญญาณขันธ์, เจตสิกํ เจตสิก เวทนาทิกฺขนฺธตฺตยํ คือ นามขันธ์สามมีเวทนาเป็นต้น, รูปํ รูป รูปกฺขนฺโธ คือ รูปขันธ์ ภูตุปาทายเภทภินฺโน อันแตกเป็นรูปประเภทภูตรูปและอุปาทายรูป, นิพฺพานํ พระนิพพาน อสงฺขตธมฺโม คือ อสังขตธรรม อารมฺมณภูโต อันเป็นอารมณ์ มคฺคผลานํ ของมรรคและผล ดังนี้.

ตตฺถ -
ตตฺถ = ตสฺส ทุติยคาถายํ ในคาถาที่ ๒ วิคฺคโห วิเคราะห์ ปณฺฑิเตน อันบัณฑิต กาตพฺโพ พีงกระทำ เอวํ อย่างนี้.

ปรโม อุตฺตโม อวิปรีโต อตฺโถ, ปรมสฺส วา อุตฺตมสฺส ญาณสฺส อตฺโถ โคจโรติ ปรมตฺโถ
อตฺโถ  = สภาโว สภาพ ปรโม อันยิ่ง อุตฺตโม คือ สูงสุด อวิปรีโต ได้แก่ ไม่แปรผัน[๕], วา อีกอย่างหนึ่ง  อตฺโถ อัตถะ โคจโร คือ เป็นที่เป็นไป ญาณสฺส ของญาณ ปรมสฺส อันยิ่ง อุตฺตมสฺส คือ สูงสุด อิติ ชื่อ ปรมตฺโถ ปรมัตถ์.[๖]
ลักษณะทั่วไปของจิต
จินฺเตตีติ จิตฺตํ, อารมฺมณํ วิชานาตีติ อตฺโถฯ ยถาห ‘‘วิสยวิชานนลกฺขณํ จิตฺต’’นฺติฯ สติปิ หิ นิสฺสย-สมนนฺตราทิปจฺจเย น วินา อารมฺมเณน จิตฺตมุปฺปชฺชตีติ ตสฺส ตํลกฺขณตา วุตฺตา, เอเตน นิรารมฺมณวาทิมตํ ปฏิกฺขิตฺตํ โหติฯ
ยํ ธมฺมชาตํ ธรรมชาติใด จินฺเตติ ย่อมคิด อิติ เพราะเหตุนั้น ตํ ธมฺมชาตํ ธรรมชาตินั้น จิตฺตํ คือ จิต. อตฺโถ ความหมาย อิติ คือ วิชานาติ ย่อมรู้โดยพิเศษ[๗] อารมฺมณํ ซึ่งอารมณ์. อฏฺฐกถาจริโย พระอรรถกถาจารย์ อาห กล่าวแล้ว ยถา = ยถากิํ ไว้อย่างไร, อฏฺฐกถาจริโย พระอรรถกถาจารย์ อาห กล่าวแล้ว วจนํ ซึ่งคำพรรณนา (ในอรรถกถาธัมมสังคณี ธัมมุทเทสวาระ กลุ่มธรรม ๕ มีผัสสะเป็นต้น) อิติ ว่า วิสยวิชานนลกฺขณํ จิตฺตํ จิตฺตํ มีการรู้พิเศษซึ่งอารมณ์เป็นลักษณะ ดังนี้. หิ เพราะ นิสฺสยสมนนฺตราทิปจฺจเย  เมื่อปัจจัยมีนิสสย-ปัจจัยและสมนันตรปัจจัยเป็นต้น สติปิ จะมีอยู่ จิตฺตํ จิต อุปฺปชฺชติ ย่อมเกิด น วินา ไม่เว้น อารมฺมเณน จากอารมณ์ อิติ เพราะเหตุนั้น ตํลกฺขณตา ความที่ - ตสฺส จิตฺตสฺส - แห่งจิตนั้น มีการรู้อารมณ์นั้นเป็นลักษณะ อาจริเยน อันพระอรรถกถาจารย์ วุตฺตา กล่าวไว้แล้ว. เอเตน นิพฺพจเนน ด้วยวิเคราะห์นี้ นิรารมฺมณวาทิมตํ ความคิดของฝ่ายที่กล่าวว่าจิตไม่มีอารมณ์ อาจริเยน อันพระอรรถกถาจารย์ ปฏิกฺขิตฺตํ ปฏิเสธไว้.

จินฺเตนฺติ วา เอเตน กรณภูเตน สมฺปยุตฺตธมฺมาติ จิตฺตํฯ อถ วา จินฺตนมตฺตํ จิตฺตํฯ ยถาปจฺจยํ หิ  ปวตฺติมตฺตเมว ยทิทํ สภาวธมฺโม นามฯ
วา อีกนัยหนึ่ง สมฺปยุตฺตธมฺมา ธรรมที่เกิดขึ้นร่วมกันกับจิตนั้น จินฺเตนฺติ ย่อมคิด (อารมฺมณํ) ซึ่งอารมณ์ เอเตน ธมฺมชาเตน ด้วยธรรมชาตินั้น กรณภูเตน ที่เป็นกรณะ คือ ธรรมที่ช่วย [๘] อิติ เพราะเหตุนั้น ตํ ธมฺมชาตํ ธรรมชาตินั้น จิตฺตํ คือ จิต. อถวา อีกนัยหนึ่ง จินฺตนมตฺตํ เพียงความคิด จิตฺตํ คือ จิต[๙]. หิ อันที่จริง สภาวธมฺโม นาม ชื่อว่า สภาวธรรมะ ยทิทํ คือ ปวตฺติมตฺตํ  เป็นเพียงความเป็นไป ยถาปจฺจยํ ตามปัจจัย โหติ ย่อมเป็น.[๑๐]

เอวญฺจ กตฺวา สพฺเพสมฺปิ ปรมตฺถธมฺมานํ ภาวสาธนเมว นิปฺปริยายโต ลพฺภติ, กตฺตุกรณวเสน ปน นิพฺพจนํ ปริยายกถาติ ทฏฺฐพฺพํฯ สกสกกิจฺเจสุ หิ ธมฺมานํ อตฺตปฺปธานตาสมาโรปเนน กตฺตุภาโว จ, ตทนุกูลภาเวน สหชาตธมฺมสมูเห กตฺตุภาวสมาโรปเนน ปฏิปาเทตพฺพธมฺมสฺส กรณตฺตญฺจ ปริยายโตว ลพฺภติ, ตถานิทสฺสนํ ปน ธมฺมสภาววินิมุตฺตสฺส กตฺตาทิโน อภาวปริทีปนตฺถนฺติ เวทิตพฺพํฯ
ก็ เอวํ กตฺวา เพราะเหตุนี้ ภาวสาธนํ เอว ภาวสาธนะเท่านั้น ปรมตฺถธมฺมานํ แห่งปรมัตถธรรม สพฺเพสํ อปิ แม้ทั้งหมด ลพฺภติ อันบัณฑิต ย่อมได้ นิปฺปริยายโต โดยตรง. ปน ส่วน นิพฺพจนํ รูปวิเคราะห์ กตฺตุกรณวเสน โดยเป็นกัตตุสาธนะและกรณสาธนะ ทฏฺฐพฺพํ อันบัณฑิตพึงทราบ อิติ ว่า ปริยายกถา เป็นความหมายโดยอ้อม. หิ อันที่จริง กตฺตุภาโว ความเป็นกัตตา ธมฺมานํ แห่งธรรมทั้งหลาย ลพฺภติ อันบัณฑิตย่อมได้  อตฺตปฺปธานตาสมาโรปเนน ด้วยการยกความเป็นกัตตาเข้าไว้ในธรรมทั้งหลายโดยความมีตนเป็นประธาน สกสกกิจฺเจสุ ในกิจของตนมีการรู้อารมณ์เป็นต้น, และ กรณตฺตํ ความเป็นกรณะ (กรณภูเตหิ ธมฺเมหิ   กตฺตุภูเตน สหชาตธมฺมสมูเหน)  ปฏิปาเทตพฺพธมฺมสฺส แก่กิจมีการรู้อารมณ์เป็นต้น อันกรณะพร้อมกับหมู่สหชาตธรรมที่เป็นกัตตา จะพึงให้สำเร็จ (ธมฺมานํ) แห่งธรรมทั้งหลาย ปณฺฑิเตน อันบัณฑิต ลพฺภติ ย่อมได้  เทียว กตฺตุภาวสมาโรปเนนโดยการยกความเป็นกัตตาเข้าไว้ สหชาตธมฺมสมูเห ในหมู่สหชาตธรรม ตทนุกูลภาเวน โดยความเป็นธรรมที่เกื้อกูลต่อกัตตา (คือสหชาตธรรม) นั้น[๑๑]. ปน แต่ ตถานิทสฺสทนํ การแสดงโดยความเป็นกัตตาและกรณะนั้น เวทิตพฺพํ อันบัณฑิตพึงทราบ อิติ ว่า อภาวปริทีปนตฺถํ เพื่อแสดงความไม่มี กตฺตาทิโน แห่งธรรมชาติมีกัตตาเป็นต้น[๑๒] ธมฺมสภาววินิมุตฺตสฺส อันพ้นไปจากสภาพธรรม[๑๓].

วิจิตฺตกรณาทิโตปิ จิตฺตสทฺทตฺถํ ปปญฺเจนฺติฯ อยํ ปเนตฺถ สงฺคโห
อาจริยา พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย ปปญฺเจติ พรรณนา จิตฺตสทฺทตฺถํ ซึ่งความหมายแห่งจิตฺตศัพท์ วิจิตฺตกรณาทิโตปิ แม้เพราะการกระทำให้วิจิตรเป็นต้นไว้อีก. ปน ก็ อยํ คาถานี้ สงฺคโห เป็นคาถาสรุป เอตฺถ ในอธิการว่าด้วยจิตนี้

วิจิตฺตกรณา จิตฺตํ,     อตฺตโน จิตฺตตาย วา;
จิตํ กมฺมกิเลเสหิ,      จิตํ ตายติ วา ตถา;
จิโนติ อตฺตสนฺตานํ,   วิจิตฺตารมฺมณนฺติ จา’’ติฯ
จิตฺตํ ธรรมชาติ ชื่อว่า จิต วิจิตฺตกรณา เพราะการกระทำให้วิจิตร[๑๔], วา หรือ จิตฺตตาย เพราะความที่ อตฺตโน ตน คือจิต – วิจิตร[๑๕], วา หรือ กมฺมกิเลเสหิ อันกรรมและกิเลสทั้งหลาย จิตํ สะสมไว้[๑๖], ตถา หรือ  ตายติ ย่อมรักษาไว้ จิตํ ซึ่งอัตตภาพอันวิจิตร[๑๗], วา หรือ จิโนติ ย่อมสั่งสม อตฺตสนฺตานํ ซึ่งความสืบต่อแห่งตน[๑๘], หรือว่า วิจิตฺตารมฺมณํ เป็นธรรมชาติมีอารมณ์วิจิตร[๑๙].

ลักษณะทั่วไปของเจตสิก
เจตสิ ภวํ ตทายตฺตวุตฺติตายาติ เจตสิกํ. น หิ ตํ จิตฺเตน วินา อารมฺมณคฺคหณสมตฺถํ อสติ จิตฺเต สพฺเพน สพฺพํ อนุปฺปชฺชนโต, จิตฺตํ ปน เกนจิ เจตสิเกน วินาปิ อารมฺมเณ ปวตฺตตีติ ตํ เจตสิกเมว จิตฺตายตฺตวุตฺติกํ นาม. เตนาห ภควา ‘‘มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา’’ติ, เอเตน สุขาทีนํ อเจตนตฺตนิจฺจตฺตาทโย วิปฺปฏิปตฺติโยปิ ปฏิกฺขิตฺตา โหนฺติ. เจตสิ นิยุตฺตํ วา เจตสิกํ.
ธมฺมชาตํ ธรรมชาติ ภวํ อันมี เจตสิ ในจิต ตทายตฺตวุตฺติตาย โดยเป็นเพียงความเป็นไปเนื่องด้วยจิต[๒๐]      อิติ เพราะเหตุนั้น ธมฺมชาตํ ธรรมชาตินั้น เจตสิกํ ชื่อว่า เจตสิก. หิ จริงอย่างนั้น ตํ เจตสิกํ เจตสิกนั้น วินา เว้น จิตฺเตน จากจิต อารมฺมณคฺคหณสมตฺถํ เป็นธรรมชาติสามารถเพื่อรับอารมณ์ได้ โหติ ย่อมเป็น หามิได้ อนุปฺปชฺชนโต เพราะ - จิตฺเต เมื่อจิต อสติ ไม่มี - ไม่เกิด สพฺเพน สพฺพํ = สพฺพปฺปกาเรน โดยประการทั้งปวง. ปน ส่วน จิตฺตํ จิต วินาปิ แม้เว้น เจตสิเกน ด้วยเจตสิก เกนจิ บางอย่าง ปวตฺตติ ย่อมเป็นไป อารมฺมเณ ในอารมณ์ อิติ เพราะเหตุนั้น ตํ เจตสิกํ เอว เจตสิกนั้น เท่านั้น จิตฺตายตฺตวุตฺติกํ นาม ชื่อว่า เป็นธรรมชาติมีความเป็นไปเนื่องด้วยจิต. เตน เพราะเหตุนั้น ภควา พระผู้มีพระภาค อาห ตรัสแล้ว อิติ ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นประธาน ดังนี้, เอเตน ด้วยคำนั้น วิปฺปฏิปตฺติโย อปิ แม้การปฏิบัติผิด อเจตนตฺตนิจฺจตฺตาทโย มีการที่ - สุขาทีนํ เวทนามีสุขเป็นต้น -  ไม่มีเจตนาและเที่ยงเป็นต้น[๒๑] ปฏิกฺขิตฺตา เป็นอันอาจารย์ปฏิเสธแล้ว โหนฺติ ย่อมเป็น. วา อีกอย่างหนึ่ง ธมฺมชาตํ ธรรมชาติ นิยุตฺตํ อันประกอบแล้ว เจตสิ ในจิต เจตสิกํ ชื่อว่า เจตสิก.

ลักษณะทั่วไปของรูป
รุปฺปตีติ รูปํ, สีตุณฺหาทิวิโรธิปจฺจเยหิ วิการมาปชฺชติ, อาปาทียตีติ วา อตฺโถฯ เตนาห ภควา ‘‘สีเตนปิ รุปฺปติ, อุณฺเหนปิ รุปฺปตี’’ตฺยาทิ (สํ. นิ. ๓.๗๙), รุปฺปนญฺเจตฺถ สีตาทิวิโรธิปจฺจยสมวาเย วิสทิสุปฺปตฺติเยวฯ ยทิ เอวํ อรูปธมฺมานมฺปิ รูปโวหาโร อาปชฺชตีติ? นาปชฺชติ สีตาทิคฺคหณสามตฺถิยโต วิภูตตรสฺเสว  รุปฺปนสฺสาธิปฺเปตตฺตาฯ อิตรถา หิ ‘‘รุปฺปตี’’ติ อวิเสสวจเนเนว ปริยตฺตนฺติ กิํ สีตาทิคฺคหเณน, ตํ ปน สีตาทินา ผุฏฺฐสฺส รุปฺปนํ วิภูตตรํ, ตสฺมา ตเทเวตฺถาธิปฺเปตนฺติ ญาปนตฺถํ สีตาทิคฺคหณํ กตํฯ ยทิ เอวํ กถํ พฺรหฺมโลเก   รูปโวหาโร, น หิ ตตฺถ อุปฆาตกา สีตาทโย อตฺถีติ? กิญฺจาปิ อุปฆาตกา นตฺถิ, อนุคฺคาหกา ปน อตฺถิ, ตสฺมา     ตํวเสเนตฺถ รุปฺปนํ สมฺภวตีติ, อถ วา ตํสภาวานติวตฺตนโต ตตฺถ รูปโวหาโรติ อลมติปฺปปญฺเจนฯ
ยํ ธมฺมชาตํ ธรรมชาติ ใด รุปฺปติ ย่อมเสื่อมสลายไป อิติ เพราะเหตุนั้น ตํ ธมฺมชาตํ ธรรมชาตินั้น รูปํ ชื่อว่า รูป, อตฺโถ ความหมาย อิติ คือ อาปชฺชติ ย่อมถึง วิการํ ซึ่งความแปรปรวน สีตุณาทิวิโรธิปจฺจเยหิ เพราะปัจจัยข้าศึกมีเย็นและร้อนเป็นต้น วา อีกอย่างหนึ่ง สีตุณหาทิวิโรธิปจฺจเยหิ อันปัจจัยข้าศึกมีเย็นและร้อนเป็นต้น อาปาทิยติ ย่อมให้ถึง วิการํ ซึ่งความแปรปรวน. เตน เพราะเหตุนั้น ภควา พระผู้มีพระภาค  อาห จึงตรัส อิติอาทิ ว่า สีเตนปิ รุปฺปติ อุณฺเหนปิ รุปฺปติ ย่อมแปรปรวน แม้เพราะเย็น ย่อมแปรปรวน แม้เพราะร้อน ดังนี้เป็นต้น[๒๒]. อนึ่ง วิสทิสุปฺปตฺติ ความเกิดขึ้นผิดแผกกัน[๒๓] สีตาทิวิโรธิปจฺจยสมวาเย ในขณะที่มีความประจวบกับปัจจัยข้าศึกมีเย็นและร้อนเป็นต้น สติ เกิดขึ้น เอว ได้แก่ รุปฺปนํ ความแปรปรวน เอตฺถ ในคำว่า ย่อมแปรปรวน (รุปฺปติ) นี้.
โจทนา ท้วง อิติ ว่า   ยทิ ถ้าว่า เอวํ ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนี้ สติ มีอยู่ รูปโวหาโร แม้บัญญัติว่า รูป อาปชฺชติ ย่อมถึง อรูปธมฺมานํ อปิ แม้แก่อรูปธรรมทั้งหลายด้วยสิ.[๒๔]
ปริหาโร แก้ อิติ ว่า รูปโวหาโร บัญญัติว่ารูป น อาปชฺชติ ย่อมไม่ถึง อรูปธมฺมานํ แก่อรูปธรรมทั้งหลาย อธิปฺเปตตฺตา เพราะความที่ รุปฺปนสฺส ความแปรปรวน วิภูตตรสฺส เอว อย่างชัดเจนยิ่ง เท่านั้น – อาจริเยน อันอาจารย์ ประสงค์แล้ว สีตาทิคหณสามตฺถิยโต เพราะความหมายโดยอ้อมของบทว่า สีต ความเย็น เป็นต้น[๒๕].  หิ เพราะอิตรถา = วิภูตตรรุปฺปนโต อิตรสฺมิํ อวิภูตรุปฺปเน อธิปฺเปเต สติ เมื่อความแปรปรวนอย่างไม่ชัดเจน นอกนี้ จากความแปรปรวนอย่างชัดเจนยิ่ง อันอาจารย์ประสงค์เอาแล้ว มีอยู่[๒๖], (วิภูตรุปฺปนํ) ความแปรปรวนอย่างชัดเจน ปริยตฺตํ = สิทฺธํ สิยา พึงเป็นบทที่ปรากฏ อวิเสสวจเนน ด้วยคำสามัญญะที่ไม่ต้องจำกัดความ รุปฺปติ อิติ ว่า รุปฺปติ ย่อมแปรปรวน ดังนี้ เอว นั่นเทียว เหตุนั้น กิํ ปโยชน์ ประโยชน์อะไร สีตาทิคหเณน ด้วยการใช้คำว่า สีต เป็นต้น (สมตฺตภาวโต) เพราะความสมบูรณ์อยู่ในตัวของคำว่า รุปฺปนํ นั่นเอง.  ปน ก็ ตํวจนํ คำว่า สีต เป็นต้นนั้น ญาปนตฺถํ มีประโยชน์ในการให้รู้ อิติ ว่า รุปฺปนํ ความแปรปรวน  รูปสฺส แห่งรูป สีตาทินา อันปัจจัยตรงข้ามมีความเย็นเป็นต้น ผุฏฺฐสฺส กระทบแล้ว วิภูตตรํ เป็นอันชัดเจนยิ่ง โหติ ย่อมเป็น ตสฺมา เพราะเหตุนั้น ตํ วิภูตตรํ รุปฺปนํ ความแปรปรวนอันชัดเจนยิ่ง นั้น เอว เท่านั้น อธิปฺเปตํ อันอาจารย์ประสงค์แล้ว เอตฺถ รุปฺปตีติ ปเท ในบทว่า รุปฺปติ นี้. [๒๗]
โจทนา ท้วง อิติ ว่า ยทิ ผิว่า วิภูตตรุปฺปเน เมื่อความแปรปรวนอย่างชัดเจนยิ่ง คหิเต อันอาจารย์ถือเอาแล้ว สติ มีอยู่ ไซร้, รูปโวหาโร บัญญัติว่า รูป พฺรหฺมโลเก ในพรหมโลก สิยา พึงมี กถํ อย่างไร. หิ อันที่จริง สีตาทโย อุปปฆาตกา ปัจจัยที่เบียดเบียนมีความเย็นเป็นต้น (สรีรสฺส) ต่อสรีระ (พรหมานํ) ของพรหมทั้งหลาย ตตฺถ ในพรหมโลกนั้น น อตฺถิ ย่อมไม่มี.[๒๘]
ปริหาโร ตอบ อิติ ว่า อุปฆาตกา ปัจจัยเบียดเบียน สีตาทิผสฺสวิเสสา มีการกระทบกับความเย็นเป็นต้นอย่างจำเพาะ นตฺถิ ย่อมไม่มี กิญฺจาปิ แม้ก็จริง, ปน แต่กระนั้น อนุคฺคาหกา ปัจจัยค้ำชู (สีตาทโย) มีความเย็นเป็นต้น อตฺถิ ก็มีอยู่, ตสฺมา เพราะเหตุนั้น รุปฺปนํ ความแปรปรวน สมฺภวติ ย่อมปรากฏ ตตฺถ ในพรหมโลกนั้น ตํวเสน เอว โดยเนื่องด้วยปัจจัยค้ำชูนั้นนั่นเทียว.  อถวา อีกนัยหนึ่ง รูปโวหาโร บัญญัติว่ารป ตตฺถ ในพรหมโลกนั้น โหติ ย่อมมี ตํสภาวนาติวตฺตนโต เพราะไม่พ้นจากสภาพที่แปรปรวนนั้นไปได้[๒๙]. อลํ พอแล้ว อติปฺปปญฺเจน ด้วยคำขยายความมากเกินไป.
 [ลักษณะของพระนิพพาน]
ภวาภวํ วินนโต สํสิพฺพนโต วานสงฺขาตาย ตณฺหาย นิกฺขนฺตํ, นิพฺพาติ วา เอเตน ราคคฺคิอาทิโกติ นิพฺพานํ
ยํ ธมฺมชาตํ ธรรมชาติใด นิกฺขนฺตํ ออกแล้ว ตณฺหาย จากตัณหา วานสงฺขาตาย ที่เรียกว่า วานะ วินนโต เพราะร้อย สํสิพฺพนโต คือเย็บไว้[๓๐] ภวาภวํ ซึ่งภพน้อยและภพใหญ่[๓๑], วา อีกอย่างหนึ่ง ราคคฺคิอาทิโก ไฟคือกิเลสมีไฟคือราคะเป็นต้น นิพฺพาติ ย่อมดับไป เอเตน ด้วยธรรมชาตินี้ เหตุนั้น ตํ ธมฺมชาตํ ธรรมชาตินั้น นิพฺพานํ ชื่อว่า นิพพาน. [๓๒]

******




[๑] ตั้งไว้โดยประการต่างๆ คือ แสดงไว้เป็นหลายปริจเฉทมีจิตสังคหะเป็นต้น.
[๒] คำว่า ยกหัวข้อแสดง หมายถึง คาถานี้แสดงปรมัตถ์ ๔ โดยหัวข้อ ที่เรียกว่า อุทเทสหรือ มาติกา นั่นเอง แล้วจะขยายความต่อไปด้วยนิทเทส คือ คำขยายความ.
[๓] บทว่า กุสลาทิวเสน หมายถึง ธัมมสังคณีปกรณ์ ส่วนบทว่า ขนฺธาทิวเสน หมายถึง วิภังคปกรณ์. ด้วยว่าในปกรณ์ทั้งสองนั้นกล่าวธรรมเหล่านั้นไว้โดยพิเศษ.  แต่จะหมายเอาธรรมที่กล่าวไว้ใน ๕ ปกรณ์ที่เหลือ ก็ควร. แท้ที่จริง แม้ใน ๕ ปกรณ์เหล่านั้น ก็มีกล่าวธรรมเหล่านั้นไว้เหมือนกันแหละ.  ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า คำว่า อภิธรรม ได้แก่ อภิธรรมปิฎก คือ ปกรณ์ ๗ มีธัมมสังคณีเป็นต้น เพราะวิเคราะห์ว่า เป็นปิฎกที่มีธรรมอันพิเศษ ฯ ดังนั้น คำว่า ขนฺธาทิวเสน จึงหมายเอาธรรมที่มาในปกรณ์ ๖ มีปกรณ์วิภังค์เป็นต้นฯ  จริงอยู่ ในมาติกาของปกรณ์ธัมมสังคณีนั้น ได้กล่าวถึงกุศลธรรมเป็นต้น ที่สงเคราะห์ไว้ด้วยติกะและทุกะ ฯ และด้วยคำว่า อาทิ คือ เป็นต้น รวมเอาธรรมที่เป็นกุศลเป็นต้น จนถึงธรรมที่เป็นอารมณ์ ซึ่งเป็นเนื้อความที่แยกออกจากธัมมสังคณีมาติกาด้วย.
               ในปกรณ์วิภังค์เป็นต้น กล่าวถึงธรรมที่กุศลเป็นต้นนั้นนั่นแหละ ที่จำแนกเป็นสุตตันตภานีย์ ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในพระสุตตันตปิฎกด้วยอำนาจขันธ์เป็นต้น อีกทั้งหมายถึงธรรมมีขันธ์เป็นต้น ที่กล่าวไว้โดยธรรมที่สงเคราะห์ได้และไม่ได้ (ปกรณ์ธาตุกถา), โดยสมยวิมุตตปุคคล (ปกรณ์ปุคคลบัญญัติ), โดยฐปนาและปาปนา (ปกรณ์กถาวัตถุ) , โดยกุสลมูล (ปกรณ์ยมก) , โดยติกปัฏฐานเป็นต้น (ปกรณ์ปัฏฐาน) โดยนัยนี้ จึงสมกับคำที่ท่านกล่าวว่า "ตตฺถ ตสฺมึ อภิธมฺเม วุตฺตา สพฺพถา เนื้อความอภิธรรม ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยประการทั้งปวง ไว้ในอภิธัมมปิฎกทั้ง ๗" นั่นเอง ฯ
[๔] ข้อนี้หมายความว่า คำว่า ปรมัตถ์ ในคำว่า ปรมตฺถโต หมายถึง ปรมัตถธรรมล้วนๆ ที่คัดออกจากสมมุติ กล่าวคือ เนื้่อความที่เป็นบัญญัติที่มาในคัมภีร์ปุคคลปัญญัติ แต่ถือเอาเฉพาะปรมัตถธรรมมีจิตเป็นต้น ที่แสดงไว้ใน ๖ คัมภีร์ที่เหลือ อย่างไรก็ตาม บัญญัติที่มาในปุคคลบัญญัติ ถูกถือเอาโดยเป็นเอกเทส ในปริจเฉทที่ ๘ โดยรวมไว้กับปัจจยาการสังคหะ.
[๕] ไม่แปรผัน หมายความว่า จิต จะแปรเป็นเจตสิกไม่ได้ และแม้เจตสิกเป็นต้นจะแปรเป็นจิต รูป นิพพาน ก็ไม่ได้เช่นกัน
[๖] อัตถะ ในคำว่า ปรมัตถะ มีความหมายสอง คือ ความหมายแรก ได้แก่ สภาวะ  คือ เป็นสภาวะที่ไม่ผันแปรไปเป็นอีกสภาวะหนึ่ง ส่วนความหมายหลังคือ โคจร แปลว่า อารมณ์. ปรมัตถ์ ๔ นี้ เป็นที่เที่ยวไปของพระสัพพัญญุตญาณอันสูงสุด
[๗] กิริยาที่รู้พิเศษ ได้แก่ การรับอารมณ์ที่พิเศษโดยกิจฯ อย่างไร? การรับอารมณ์ มี ๓ คือ สัญชานนะ การจำ, วิชานนะ การรู้พิเศษ, ปชานนะ การรู้ทั่ว, บรรดาการรับอารมณ์ ๓ อย่างนั้น, อย่างแรกเป็นกิจของสัญญา, อย่างที่ ๒ เป็นของจิต, อย่างที่ ๓ เป็นของปัญญา, ก็การรับอารมณ์ของจิต ได้แก่ วิชานนะ ซึ่งเป็นการรับหรือการได้อารมณ์อย่างพิเศษ อันแตกต่างจากกิจแห่งสัญญาและปัญญา เพราะสัญญามีการกระทำให้รู้อีก (จำ) และปัญญามีการแทงตลอด (แยกแยะ) อารมณ์เป็นกิจ.
[๘] กรณภูเตน นี้เป็นคำอธิบายเชิงไวยากรณ์ หมายถึง บทนี้ลงตติยาวิภัตติในอรรถว่า กรณะ คือเป็นสิ่งที่ช่วยหรือเครื่องมือให้กัตตาทำกิจนั้นไปจนสำเร็จโดยไม่พรากจากกัน.  ถ้าจะแปลโดยอภิธรรมนัย แปลได้ว่า โดยความเป็นธรรมที่ช่วย.
[๙] วิเคราะห์ที่ ๓ นี้แสดงว่า จิตฺต ศัพท์เป็นภาวสาธนะ คือ สภาวะเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับความเป็นกัตตา ผู้รู้อารมณ์เอง หรือ กรณะ ธรรมชาติที่ช่วยให้หมู่สัมปยุตธรรมให้รู้อารมณ์ด้วยตน ดังที่ท่านขยายความการแสดงศัพท์นี้โดยสาธนะทั้ง ๓ ต่อไป
[๑๐] ในที่นี้แปล ยทิทํ เป็นนิบาตที่ใช้ในความหมายว่า นิยมตฺถนิปาต คือ กำหนดเนื้อความที่อยู่ข้างหลังให้แน่นอน จึงใช้คำแปลว่า คือ. แต่อาจแปลโดยแยกสองประโยคตามนัยของคัมภีร์มณิสารมัญชูสาฎีกาได้ดังนี้ว่า
หิ ยสฺมา ยทิทํ โย อยํ สภาวธมฺโม นาม อตฺถิ, เอตํ สภาวธมฺมสงฺขาตํ ธมฺมชาตํ ยถาปจฺจยํ ปจฺจยานุรูปโต ปวตฺติมตฺตเมว โหติ, ตสฺมา อยํ ภาวนิทฺเทโส กโตติ โยชนาฯ (มณิสารมัญชุสา)
               ยทิทํ = โย อยํ  สภาวธมฺโม นาม ชื่อ สภาวธรรม นี้ใด อตฺถิ มีอยู่, เอตํ สภาวธมฺมสงฺขาตํ ธมฺมชาตํ ธรรมชาติ กล่าวคือ สภาวธรรม นั่น ปวตฺติมตฺตํ เอว เป็นเพียงความเป็นไป นั่นเทียว ยถาปจฺจยํ = ปจฺจยานุรูปโต ตามควรแก่ปัจจัย โหติ ย่อมเป็น.
[๑๑] อีกนัยหนึ่ง โดยความที่หมู่สหชาตธรรมนั้นเป็นธรรมที่้เหมาะสมต่อความเป็นกัตตานั้น. โดยนัยนี้หมายความว่า หมู่สหชาตธรรมต้องมีความเหมาะสมต่อความเป็นกัตตาที่จะทำกิจคือการรู้อารมณ์เป็นต้นให้สำเร็จด้วย.
[๑๒] หมายความว่า แม้ว่า การแสดงสภาวะแห่งจิตโดยภาวสาธนะเท่านั้นที่ได้โดยตรง เพราะเป็นสภาพธรรม แต่การที่แสดงโดยกัตตุสาธนะและกรณสาธนะ เพื่อจะให้ทราบว่า ความจริง แม้กัตตุหรือกรณะนั้น ก็ยังเป็นสภาวธรรมอยู่นั่นเอง หาใช่สิ่งอื่นใดไม่ฯ ดังนั้น จิตจะเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ก็ตาม,เป็นธรรมที่ช่วยให้สัมปยุตธรรมรู้อารมณ์ก็ดี, หรือการที่สัมปยุตธรรมรู้อารมณ์ ก็โดยมีจิตเป็นธรรมช่วยให้สำเร็จกิจเช่นนั้น ต่างก็เป็นธรรมสภาวะที่มีความเป็นไปตามธรรมดาของตน.
[๑๓] คำว่า สภาโว ที่แปลว่า สภาพ  ได้แก่ ปรมัตถธรรม ๔ มีจิตเป็นต้นนั่นเอง เพราะเป็นธรรมที่เป็นไปพร้อมกับ หรือมีภาวะ กล่าวคือ ลักษณะต่างๆเช่น มีการรู้อารมณ์, มีการกระทบ และแตกสลายเป็นต้น. ส่วนคำว่า สภาวธรรมหรือสภาพธรรมได้แก่ ธรรมคือสภาพนั้น.
[๑๔] ธรรมชาติที่กระทำให้วิจิตร,หรือ เป็นเหตุกระทำสิ่งวิจิตร ชื่อว่า วิจิตฺตกรณ , เพราะเป็นธรรมชาติทำให้วิจิตรหรือเหตุกระทำสิ่งวิจิตร. หมายความว่า เพราะกระทำสิ่งทั้งหลายมีจิตรกรรมอันวิจิตรเป็นต้นฯ จริงอย่างนั้น ศิลปะที่วิจิตรอันต่างโดยจิตรกรรมเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้, ศิลปะนั้นทั้งหมดนั้น บุคคลเอาจิตคิดแล้วนั่นแหละจึงกระทำฯ อรรถนี้ได้แก่จิต ๓๒ ดวงที่เป็นไปกับวิญญัติฯ
อีกอย่างหนึ่ง กุศลที่เป็นไปกับอาสวะ (โลกิยกุศลจิต)และอกุศลจิต ชื่อว่า จิต เพราะเหตุว่ากระทำให้วิจิตร โดยกระทำความวิจิตรมีคติวิจิตรเป็นต้นฯ
               อีกนัยหนึ่ง การกระทำอันวิจิตร ของจิตนี้มีอยู่ เหตุนั้น จิตนั้น ชื่อว่า มีการกระทำอันวิจิตร. เพราะมีการกระทำอันวิจิตรนั้น.    จริงอยู่ จิตเว้นจากเอกัฏฐานิกจิต แต่ละดวง ชื่อว่า มีการกระทำอันวิจิตร เพราะมีกิจอันวิจิตรมีปฏิสนธิกิจเป็นต้น, อีกอย่างหนึ่ง จิตทั้งหมดนั่นแหละ ชื่อว่า มีการกระทำอันวิจิตร ก็ควร เพราะมีกิจวิจิตรอันแตกต่างกันมีอาวัชชนกิจเป็นต้น.
[๑๕] จิตที่ชื่อว่า จิต เพราะตนเองวิจิตรด้วยชาติ ภูมิ และ สัมปโยคเป็นต้นฯ จริงอยู่ จิตดวงเดียวเท่านั้น ไม่ได้ชื่อว่า วิจิตร อย่างนี้ แม้ก็จริง, แต่กระนั้น ก็เพราะรวมอยู่ภายในแห่งจิตอันวิจิตรทั้งหลาย ในบรรดาจิตทั้งหลายเหล่านี้ แม้จิตเพียงดวงเดียวก็ควรจะกล่าวได้ว่า ชื่อว่า จิต เพราะเป็นธรรมชาติวิจิตร ฯ เหมือนอย่างที่บุคคลเห็นส่วนหนึ่งของภูเขา แม่น้ำหรือมหาสมุทรเป็นต้น ก็ได้ชื่อว่า เขาเห็นภูเขาเป็นต้นแล้ว ทั้งนี้เพราะแม้ความย่อยก็เป็นอันถูกกล่าวโดยโวหารว่ารวมกันฯ
[๑๖] ธรรมชาติอันกรรมและกิเลสสะสม ชื่อว่า จิต, ได้แก่ วิปากวิญญาณ (วิญญาณที่เป็นวิบาก) เพราะว่า วิปากวิญญาณนั้น อันกรรมที่มีกิเลสเป็นสหาย ให้เกิดขึ้นแล้ว โดยความเป็นผล ชื่อว่า อันกรรมและกิเลสเหล่านั้นสะสมแล้วฯ
[๑๗] วิปากวิญญาณนั่นเอง ชื่อว่า เพราะเป็นธรรมชาติรักษาอัตตภาพ อันกรรมและกิเลสสะสม คือ สะสมขึ้นพร้อมฯ แท้ที่จริง อัตตภาพ อันกรรมเป็นต้นก่อตัวขึ้น เมื่อขาดจากวิญญาณ ก็เรียกว่า คนตายแล้วฯ สมดังพระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เมื่อใด อายุ ไออุ่นและวิญญาณ ละจากกายนี้ไป,เมื่อนั้น กายนี้เป็นอันถูกทอดทิ้งนอนทับแผ่นดิน ดังท่อนไม้ไร้ประโยชน์ที่เขาทิ้งไป"
[๑๘] วิญญาณนั้น ย่อมสะสมความสืบต่อของตนนั้น คือ ย่อมกระทำให้เป็นกอง  ดังนี้ ด้วยอำนาจแห่งชวนจิตที่เป็นอาเสวนปัจจัยร่วมกันฯ เพราะชวนจิตเหล่านั้น ที่เกิดขึ้นก่อน เป็นอาเสวนปัจจัยแก่ชวนจิตที่เกิดขึ้นหลังๆ ชื่อว่า ย่อมสะสมความสืบต่อแห่งตนนั้น โดยสร้างภาวะที่คล่องแคล่วมีกำลังให้แก่ความสืบต่อของชวนะของตน ฯ อีกนัยหนึ่ง ที่ว่า ความสืบต่อของตน หมายความว่า ความสืบต่อแห่งจิตฯ  ด้วยว่า อตฺต ศัพท์ กล่าวถึงจิตฯ เพราะว่า จิตชาติ ทั้งหมดนั่นแหละ ชื่อว่า ย่อมสะสมความสืบต่อแห่งจิต เพราะสร้างความป็นไปไม่ขาดสายแก่ความสืบต่อของจิต โดยเป็นปัจจัยมีอนันตรปัจจัยเป็นต้นฯ
[๑๙] อารมณ์ที่วิจิตร คือ มีประการต่างๆ อันไม่เหมือนกัน ของจิตนี้ มีอยู่ เหตุนั้น จิตนั้น ชื่อว่า มีอารมณ์อันวิจิตร, ได้แก่ จิตทั้งปวงฯ ส่วนการสำเร็จรูปศัพท์ พึงทราบโดยนัยข้างต้นฯ
[๒๐] คำว่า เพราะมีความเป็นไปเนื่องกับจิตนั้น ดังนี้ไว้ เป็นเพราะประสงค์แก้คำซักถามว่า ดอกไม้ที่มีในสระ ชื่อว่า สารส ดอกไม้ในสระ เพราะเป็นดอกไม้ที่ต้องมีในสระโดยแน่นอน ฉันใด, ถึงผัสสะเป็นต้น ก็มีชื่อว่า มีในจิต เพราะเป็นธรรมชาติมีในจิตโดยแน่นอน ฉันนั้นหรือ?ฯ ก็ด้วยคำนี้ ปฏิเสธความที่จิตและเจตสิกเป็นธรรมที่ให้อาศัยกับธรรมที่มาอาศัยกันอย่างแน่นอน เหมือนคำว่า สรสิ ภวํ สารสํ, ปุปฺผํ ดอกไม้ที่มีในสระ ชื่อว่า สารสะ ดอกไม้ในสระ แล้วแสดงความเป็นธรรมที่ให้อาศัยกับธรรมที่มาอาศัย เพียงแค่มีความเป็นไปเนื่องกับจิต เหตุที่ปรมัตถธรรมทั้งปวงมีความเป็นไปอาศัยกันและกัน ตามเหตุปัจจัย มิใช่เกิดขึ้นโดยประการนั้นอย่างแน่นอน. อีกอย่างหนึ่ง ที่ว่ามีใจิต เพราะเจตสิกเกิดกับจิต โดยการเป็นไปนับเนื่องกับโดยที่มีจิตเป็นประธานเท่านั้น.
[๒๑] รวมถึงความเป็นชีวะ เป็นตัวปกติ ของสุขเวทนาเป็นต้น ตามลัทธิภายนอกที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่เวทนาเหล่านั้นอาศัยจิตและปัจจัยอื่นอีกหลายอย่างเกิดขึ้นจึงตกอยู่ในสภาพไม่เที่ยง ประกอบด้วยเจตนา เป็นต้น.
[๒๒] นอกจากนี้ยังหมายถึงปัจจัยอื่นๆ อาทิ ความหิว ความกระหาย ดังพระบาฬีว่า ชิฆจฺฉายปิ รุปฺปติ ปิปาสายปิ รุปฺปติ ย่อมแปรปรวนไป เพราะความหิว บ้าง ย่อมแปรปรวนไป เพราะความกระหาย บ้าง
[๒๓] ความเกิดขึ้นที่ไม่เหมือนกันนั่นเอง ชื่อว่า ความแปรปรวน ได้แก่ ความเกิดขึ้นสืบต่อกันของรูปกลุ่มหลัง ซึ่งไม่เหมือนความสืบต่อกันของรูปกลุ่มแรก, อีกนัยหนึ่ง ได้แก่ ความเกิดขึ้น โดยเป็นความแตกต่างของความสืบต่อกันของรูปกลุ่มแรก กับความสืบต่อกันของรูปกลุ่มหลังเพราะปัจจัยที่ไม่ขัดแย้งโดยเป็นข้าศึกกับตน ไม่สามารถทำให้ธรรมที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ได้แล้ว ถึงความเปลี่ยนแปลงได้โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เหตุนั้น ควรเห็นว่า ความเกิดขึ้นแตกต่างกัน เพราะปัจจัยตรงข้ามมาประจวบเข้า ของธรรมที่เกิดขึ้นภายหลังโดยเป็นธรรมที่ไม่เหมือนกับความสืบต่อกันของรูปที่เกิดขึ้นก่อนนั่นเองได้แก่ความแปรปรวนในที่นี้. (มณิ.)
[๒๔] อาจารย์ผู้ท้วงเอาเพียงความเกิดต่างกันแม้ที่ปรากฏแก่อรูปธรรมเท่านั้น มาตั้งเป็นคำท้วงโดยไม่เล็งความเกิดขึ้นแตกต่างกัน สองประการ คือ ความปรากฏชัดและไม่ชัด มาท้วงฯ ในคำท้วงนั้น หมายความว่า ถ้าความเกิดขึ้นต่างกันไป ในขณะที่วิโรธิปัจจัยประชุมกัน ดังที่ท่านว่ามานั้น  จะได้ชื่อว่า รุปปนะ แล้ว, ถึงอรูปธรรมก็เรียกว่า รูป ได้ เพราะยังปรากฏความเกิดขึ้นแตกต่างกัน ในขณะที่มีปัจจัยขัดแย้งมาประชุมกัน ฯ
[๒๕] ความหมายโดยอ้อมของบท คือ บทนั่นเองเป็นสิ่งที่แสดงความหมายให้ทราบความประสงค์ของผู้กล่าว. ในที่นี้ บทว่า สีตุณห ความเย็นร้อน เป็นอำนาจที่บ่งถึงความเป็นรูปธรรมเท่านั้น ที่จะถึงความแปรปรวนอย่างเด่นชัดตามนิยามนี้ โดยไม่เกี่ยว กับอรูปธรรม เพราะไม่สามารถใช้คำว่า แปรปรวนมาอธิบายลักษณะที่เกิดขึ้นดับไปเหมือนอย่างรูปธรรมได้.
[๒๖] ประกอบความตามนัยของคัมภีร์อัตถโยชนา. อีกนัยหนึ่ง ประกอบความตามคัมภีร์มณิสารมัญชูสาว่า ยทิ ยถาวุตฺตปฺปการโต  อญฺโญ ปกาโร สิยา, ยทิ ผิว่า อิตรถา = อญฺโญ ปกาโร ยถาวุตฺตปฺปการโต จากประการดังกล่าวแล้ว สิยา พึงมีไซร้. นี้เป็นคำแปลโดยทั่วไปของประโยคอิตรถา ที่มักพบในคัมภีร์ชั้นสังวรรณนามีอรรถกถาเป็นต้น. อิตรถา มาจาก อิตร + ถา ปัจจัยในปการตัทธิต  ความเท่ากับ อญฺโญ ปกาโร, หรือ อิตโร ปกาโร  โดยเพิ่มบทวิเสสยะ และบทลงอปาทานเข้ามาเป็นปาฐเสสะตามความเหมาะสมแก่เนื้อความ โดยประกอบข้อความนี้ว่า วิภูตตรสฺเสว รุปฺปนสฺส อธิปฺเปตภาวโต อญฺโญ อวิภูตตรสฺสปิ รุปฺปนสฺส อธิปฺเปตภาโว สิยา. แปลความว่า ในที่นี้หมายความว่า หากประสงค์เอาการแปรปรวนอย่างไม่ชัดเจน ที่เป็นคนละอย่างจากความแปรปรวนอย่างชัดเจนที่ประสงค์เอาในที่นี้.
[๒๗] ต่อไปนี้เป็นอรรถาธิบายจากคัมภีร์มณิสารมัญชูสาฎีกา :
ข้อนี้เป็นคำแก้คำท้วงดังที่มีผู้กล่าวไว้นั้นโดยปฏิเสธว่า ย่อมไม่ถึงฯ เพราะเหตุไร ? เพราะพระอนุรุทธาจารย์ หมายถึงความแปรปรวนที่ปรากฏชัดๆเท่านั้น ด้วยวิเคราะห์ว่า รุปฺปติ ในที่นี้ฯ แต่ไม่เอาความแปรปรวนที่ปรากฏไม่ชัดของอรูปธรรมฯ เพราะฉะนั้น ในเรื่องรูปนี้ประสงค์เอาเฉพาะความแปรปรวนที่ปรากฏชัดๆเท่านั้น. เพราะคำว่า สีต เย็นเป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในพระสูตรสามารถบ่งความแปรปรวนเฉพาะที่ปรากฏชัดๆได้ฯ ด้วยคำว่า  วิภูตตรสฺเสว รุปฺปนสฺสาธิปฺเปตตฺตา เพราะท่านประสงค์เอาความแปรผันที่ปรากฏชัด ๆ เท่านั้น นี้ แสดงว่า รูปธรรมเหล่านั้นเท่านั้น จึงได้ชื่อว่า รูป เพราะ การประจวบกันกับปัจจัยข้าศึกมีเย็นเป็นต้น มีได้ในฐิติขณะ เนื่องจากรูปธรรมเป็นไปช้า,  อีกทั้ง รูปที่ถึงฐิติขณะนั้น ไม่มีอุตุหรือปัจจัยอื่นๆมีอาหารเป็นต้น ที่สามารถให้เกิดความสืบต่อกันเหมือนแต่ก่อน  เหตุนั้น ความแปรปรวนจึงปรากฏชัด ฯ แต่เพราะอรูปธรรมมีความเป็นไปเร็วมาก การประจวบกับ ปัจจัยอย่างอื่นมีเย็นเป็นต้น จึงไม่มีในฐิติขณะ ดังนั้น ความแปรปรวน จึงไม่ปรากฏชัด เพราะเหตุนั้น อรูปธรรมเหล่านั้นจึงไม่มีชื่อว่ารูปฯ
อาจารย์ผู้ท้วงดูแต่เฉพาะบทว่า เพราะท่านประสงค์เอาความแปรผันที่ปรากฏชัด ๆ แต่ไม่ได้ดูคำนี้ว่า สีตศัพท์เป็นต้นสามารถบ่งความแปรปรวนอันปรากฏชัด ดังนี้ จึงได้ท้วงว่า "แม้ความแปรปรวนที่ไม่ปรากฏชัดก็น่าจะประสงค์เอาในที่นี้ มิใช่หรือ เพราะ ความเกิดขึ้นผิดแผกกัน ยังมีได้แม้แก่อรูปธรรม ในเมื่อมีความประชุมแห่งวิโรธิปัจจัย, เมื่อเป็นอย่างนี้ จะผิดไปอย่างไรได้ ? " ดังนี้ เมื่อชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดในการที่ประสงค์เอาความแปรปรวนแม้ที่ไม่ปรากฏชัด  ดังกล่าว จึงตอบปัญหานั้นว่า อิตรถา ดังนี้เป็นต้น
คำกล่าวแก้ข้อทักท้วงด้วยคำว่า กิํ ปโยชนํ มีการประกอบความว่า เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วไซร้, สีต ศัพท์เป็นต้น ซึ่งพระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในพระสูตรจะมีประโยชน์อะไรกัน, พระสูตรนั้น ก็เป็นอันไร้ประโยชน์ ไปเสีย, เพราะเหตุไร? เพราะความแปรปรวนแม้ทั้งสองประการ ก็น่าจะนำมาใช้ได้ ด้วยคำที่เหมือนๆกันว่า รุปฺปติ เท่านั้นก็ได้, ไม่จำเป็นต้องใช้คำบอกให้ต่างกันว่า สีต เป็นต้น เพราะความแปรปรวนทั้งสองประการนั้นสามารถนำมาใช้ได้โดยคำที่เหมือนกันอยู่แล้ว.
พระบาฬีที่ยกมาสาธกนี้ มีอรรถาธิบายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความแปรผันแห่งรูปธรรมถูกเย็นและร้อนเป็นต้นถูกต้องแล้ว กระทบแล้วเท่านั้น จึงปรากฏชัด, ความแปรผันแห่งอรูปธรรมถูกเย็นและร้อนเป็นต้นนั้นไม่กระทบแล้วปรากฏไม่ชัด เพราะเหตุนั้น ในคำที่เราตถาคตกล่าวว่า  รุปฺปติ รูป ย่อมแปรปรวน นั้น ให้พวกเธอหมายเอาเฉพาะความแปรปรวนที่ปรากฏชัดนั้นเท่านั้น, ไม่ให้หมายเอาความแปรผันที่ปรากฏไม่ชัดฯ
พระผู้มีพระภาคตรัส สีตศัพท์เป็นต้นนั้น ไว้ในพระสูตร โดยมีพุทธประสงค์ให้ภิกษุผู้เรียนธรรมได้ทราบถึงความแปรผันที่ปรากฏชัดนี้เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้, มิได้ให้ทราบถึงความแปรผันทั้ง ๒ ประการ,  หากทรงประสงค์เอาความแปรผันที่ไม่ปรากฏชัดแล้ว สีตศัพท์เป็นต้น ที่ตรัสไว้ในพระสูตรก็ไร้ประโยชน์สิ.
[๒๘] อาจารย์ผู้ท้วงท้วงว่า ท้วงอีกว่า  ถ้าเช่นนั้น  การบัญญัติว่ารูปในพรหมโลก จะมีได้อย่างไร ดังนี้เป็นต้น โดยอาศัยข้อความว่า "ในที่นี้ประสงค์เอาความแปรผันที่ปรากฏชัดๆเท่านั้น". ในคำท้วงนั้น อธิบายความดังนี้ว่า ถ้าจะประสงค์ความแปรผันที่ปรากฏชัดเท่านั้นดังที่ท่านว่ามานั้น, เมื่อเป็นเช่นนี้ ในรูปาวจรพรหมโลก ไม่ควรได้ชื่อว่า รูปหรอก, เพราะเหตุไร? เพราะในรูปาวจรพรหมโลกนั้นไม่มีความแปรผันที่ปรากฏชัดฯ  เพราะเหตุไร ในพรหมโลกนั้น  ไม่มีความแปรผันที่ปรากฏชัด เพราะเหตุนั้นอาจารย์ผู้ท้วงจึงกล่าวคำมีว่า น หิ เพราะในพรหมโลกนั้น  วิโรธิปัจจัยมีเย็นเป็นต้น ที่เป็นธรรมเครื่องเบียดเบียนหามีไม่ ดังนี้เป็นต้นฯ ก็คำนี้เป็นการแสดงเหตุของเหตุ  ฯเพราะในรูปาวจรพรหมโลกนั้น ไม่มี อุตุ กล่าวคือความเย็นและร้อนเป็นต้นภายนอก ซึ่งมีสัมผัสเป็นทุกข์ เป็นปัจจัยที่เข้าไปตัดรอน เบียดเบียน ไม่เพิ่มพูน ไม่เข้าไปค้ำชูรูปกาย ฉะนั้น จึงไม่มีความแปรผันที่ปรากฏชัดในที่นั้น, ด้วยเหตุนี้เอง จึงไม่ควรมีชื่อว่า รูป?
[๒๙] ข้อความนี้เป็นคำที่ท่านอาจารย์แก้คำท้วงดังกล่าวนั้น. ถึงอุตุมีเย็นและร้อนเป็นต้นที่เป็นปัจจัยเบียดเบียนรูปกายในพรหมโลกนั้นจะไม่มีก็ตาม, แม้กระนั้น อุตุคือความเย็นและร้อนภายนอก ซึ่งเป็นสัมผัสที่สุข คอยเป็นปัจจัยสนับสนุน ไม่เบียดเบียน เพิ่มพูน ค้ำจุน รูปกาย ก็มีอยู่, ข้อนี้เพราะเหตุไร? เพราะพรหมทั้งหลายยังมีอุตุชรูป อันเกิดแต่ปัจจัยค้ำจุน, เนื่องจากมีปัจจัยค้ำจุนในพรหมโลกนั้นนั่นเอง จึงมีความแปรผันที่ปรากฏชัดในรูปาวจรพรหมโลกนี้  ด้วยกำลังแห่งปัจจัยค้ำจุนนั้น ดังนั้น ในพรหมโลกนั้นนั่นแล ก็มีชื่อว่ารูปได้ฯ อนึ่ง ความแปรปรวนด้วยอำนาจปัจจัยค้ำจุนในพรหมโลกนี้ ย่อมได้เนื่องจากปรบมือให้สาธุการเป็นต้น ในเวลาที่พระพรหมโพธิสัตว์กระทำบุญเป็นต้น, ท่านอาจารย์เมื่อแสดงความแปรผันซึ่งได้ตลอดไปในพรหมโลกนั้น จึงกล่าวว่า อถวา อีกอย่างหนึ่ง  การบัญญัติว่ารูป  ในพรหมโลกนั่นมีได้  เพราะไม่พ้นสภาพแห่งความแปรผันนั้นไปได้ ดังนี้ไว้ เพราะความแปรผันด้วยอำนาจปัจจัยเครื่องค้ำจุนไม่ได้มีตลอดไปฯ
ข้อที่ว่า เพราะไม่พ้นสภาพคือความแปรผันนั้นไปได้ หมายความว่า แม้ในพรหมโลกนั้นจะไม่มีปัจจัยเครื่องเบียดเบียน ก็ตาม, แต่เพราะอาศัยความแปรผันนั้นแล้ว ก็ย่อมมีชื่อว่ารูป ในพรหมโลกนั้นนั่นเองได้ เพราะรูปธรรมซึ่งเกิดขึ้นในที่นั้น ไม่พ้นสภาพที่เรียกว่า ความแปรผัน ซึ่งเป็นไปเพราะปัจจัยมีเย็นร้อนเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวความข้อนี้ไว้ เพื่อชี้โทษกล่าวคือความไม่มีโวหารว่ารูปซึ่งเป็นไปด้วยปัจจัยเบียดเบียนมีเย็นร้อนเป็นต้นในพรหมโลกนั้นฯ
มีอาจารย์บางท่านกล่าวว่า ศัพท์ว่า รูป เป็นคำใช้เฉพาะสำหรับธรรมที่ถึงความแปรผันเมื่อเกิดการกระทบ,  เหตุที่อรูปธรรมไม่มีการกระทบ เพราะฉะนั้น ในอรูปธรรมเหล่านั้นจึงไม่ได้ชื่อว่า รูป. ส่วนท่านอื่นว่า การกระทบ ชื่อว่า รุปปนะ, ด้วยมติของอาจารย์เหล่านั้น แม้คำว่า รูป จะใช้กับสัปปฏิฆรูป รูปที่มีการกระทบเท่านั้น ก็ตาม แต่ความย่อยยังเป็นชื่อเรียกถึงความรวมได้ ดังนั้น รูปทั้งหมดนั่นเอง ย่อมได้ชื่อว่า รูป.
[๓๐] ด้วยคำว่า วินนโต เพราะเย็บ นี้ ท่านอาจาย์แสดงความหมายว่า ตัณหา ชื่อ วานํ เครื่องเย็บ เพราะเป็นธรรมที่เย็บภพน้อยและภพใหญ่ คือ เย็บรวมไว้ ด้วยอำนาจภพต่ำและภพสูงฯ และเมื่อประกอบคำศัพท์โดยนัยนี้ นิพฺพาน มาจาก วาน + นิ = นิกฺขนฺตํ ก็ควรเรียกพระนิพพานโดยสภาวะที่ออกจากตัณหาว่า วานนิ ธรรมชาติที่ออกจากวานะ ท่านก็เรียกว่า นิวานํ ตามปริภาสาว่า ตทนุปโรเธน แม้คำในภาษาอื่นถ้าไม่ผิดจากพระชินพจน์นั้น ก็ใช้ได้ โดยการสลับคำหน้าและหลัง โดยนิรุตตินัยดังที่กล่าวว่า วณฺณาคโม วณฺณวิปริยโยฯ จากนั้น ก็แปลง วานํ เป็น นิพฺพานํ จึงได้รูปเป็น นิพฺพานํ.
[๓๑] คำว่า ภว และ อภว หมายความว่า ภพเล็กและภพใหญ่ เนื่องด้วยทุคติภพและสุคติภพ, และเนื่องด้วยภพต่ำและภพประณีตฯ  ด้วยว่า แม้ อ อักษร ที่มีอรรถว่า เจริญ พบได้ในตัวอย่างว่า อเสกฺขา ธมฺมา ธรรมที่เป็นอเสกขา (คือ เมื่อเทียบกับ เสกขธรรม แล้วเจริญกว่า) เป็นต้น, เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียก ภพใหญ่ ว่า อภโว.
[๓๒] คำว่า ดับ หมายความว่า เข้าไปสงบ คือ ย่อมดับ โดยเป็นความดับตลอดสิ้นเชิงฯ  มิใช่แต่เพียง ราคัคคิ เท่านั้น แม้ไฟ ๑๐ กองอย่างอื่น คือ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ ไฟคือชาติ ไฟคือชรา ไฟคือมรณะเป็นต้น ก็ย่อมดับไปเช่นกันฯ กระบวนการสร้างรูปว่า นิพฺพานํ เป็น ๒ ประการดังท่านแสดงไว้นี้ คือ  ๑ ใช้ วี ธาตุ ที่มีความหมายว่า เย็บเข้ากันฯ  โดยนัยนี้ วาน ศัพท์ แสดงถึงธรรมที่เป็นสภาพออกจากกิเลส, และคำว่า นิพพาน เป็นบทปัญจมีตัปปุริสสมาส แสดงถึงการออกจากตัณหาที่เรียกว่า วานะ. ๒ ใช้ วา ธาตุ ที่มีความหมายว่า ไป และ มีกลิ่นหอม.  เพราะท่านแสดงไว้ว่า  อเนกตฺถา หิ ธาตโว ธาตุทั้งหลายมีเนื้อความมากอย่าง ดังนั้น วา ธาตุ ที่มี นิ อุปสัคเป็นบทหน้า จะมีความหมายในความเข้าไปสงบ หรือ ดับ ดังนั้น อนึ่ง นิพพานํ ในความหมายนี้  เป็นกรณสาธนะ แสดงธรรมที่เป็นเหตุให้กิเลสดับลง ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น