วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560

อภิธัมมัตถวิภาวินี ปริจเฉทที่ ๓ เวทนาสังคหะ

ปกิณฺณกปริจฺเฉทวณฺณนา
ปกิณฺณกปริจฺเฉทวณฺณนา อธิบายปริจเฉทว่าด้วยปกิณณสังคหะ
มยา อันเรา วุจฺจเต จะกล่าว
            ๒๖๑. อิทานิ  ยถาวุตฺตานํ  จิตฺตเจตสิกานํ  เวทนาทิวิภาคโต  ตํตํเวทนาทิเภทภินฺนจิตฺตุปฺปาทวิภาคโต  จ  ปกิณฺณกสงฺคหํ  ทสฺเสตุํ สมฺปยุตฺตา  ยถาโยคนฺติอาทิมารทฺธํ  ฯ   
            ยถาโยคํ  สมฺปยุตฺตา จิตฺตเจตสิกา  ธมฺมา  สภาวโต  อตฺตโน อตฺตโน สภาววเสน เอกูนนวุติวิธมฺปิ  จิตฺตํ อารมฺมณวิชานนสภาวสามญฺเญน เอกวิธํ สพฺพจิตฺตสาธารโณ  ผสฺโส  ผุสนภาเวน  เอกวิโธติอาทินา  เตปญฺญาส โหนฺติ  ฯ
            อิทานิ บัดนี้ ทสฺเสตุํ เพื่อจะแสดง ปกิณฺณกสงฺคหํ ซึ่งปกิณกสังคหะ[1]  จิตฺตเจตสิกานํ แห่งจิตและเจตสิก ยถาวุตฺตานํ ตามที่กล่าวมาแล้ว เวทนาทิวิภาคโต จ โดยการจำแนกซึ่งธรรมมีเวทนาเป็นต้น ตํตํเวทนาทิเภทภินฺนจิตฺตุปฺปาทวิภาคโต จ และโดยการจำแนกจิตตุปบาทที่ต่างกันโดยประเภทแห่งธรรมมีเวทนาเป็นต้นนั้นๆ อาจริเยน ท่านอาจารย์ อารทฺธํ จึงเริ่ม วจนํ คำ อิติอาทิ เป็นต้นว่า สมฺปยุตฺตา  ยถาโยคํ สมฺปยุตฺตา ยถาโยคํ  ดังนี้ไว้.
            ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย จิตฺตเจตสิกา อันได้แก่ จิตและเจตสิก สมฺปยุตฺตา ที่ประกอบร่วมกัน ยถาโยคํ ตามสมควรแก่การประกอบ เตปญฺญาส มี ๕๓ ประการ สภาวโต โดยสภาวะ  อตฺตโน อตฺตโน สภาววเสน คือ โดยเกี่ยวกับสภาวะของตน นเยน โดยนัย อิติอาทินา เป็นต้นว่า จิตฺตํ จิต เอกูนนวุติวิธมฺปิ แม้มี ๘๙ ดวง เอกวิธํ ก็มีอย่างเดียว อารมฺมณวิชานนสภาวสามญฺเญน โดยความเป็นธรรมที่เสมอกันโดยมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ, ผสฺโส ผัสสะ สพฺพจิตฺตสาธารโณ ที่เป็นสาธารณะแก่จิตทุกดวง เอกวิโธ ก็มีอย่างเดียว ผุสนภาเวน โดยความเป็นธรรมคือการกระทบ.

            ๒๖๒. อิทานิ  เตส  ธมฺมาน  ยถารห  เวทนา  ฯเปฯ  วตฺถุโต สงฺคโห  นาม  เวทนาสงฺคหาทินามโก  ปกิณฺณกสงฺคโห จิตฺตุปฺปาทวเสเนว ตตเวทนาทิเภทภินฺนจิตฺตุปฺปาทาน  วเสเนว  น  กตฺถจิ  ตวิรเหน นียเต อุปนียเต อาหริยตีติ อตฺโถ ฯ
            อตฺโถ ความหมาย  อิติ ว่า อิทานิ บัดนี้ สงฺคโห นาม ชื่อว่า การสงเคราะห์ เวทนา ...วตฺถุโต โดยเวทนา เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์และวัตถุ ยถารหํ ตามควรแก่การจำแนกได้[2] ปกิณฺณกสงฺคโห คือ ปกิณณกสังคหะ[3] (การรวบรวมแบบกระจัดกระจายทั่วไป) เวทนาสงฺคหาทินามโก อันมีนามว่า เวทนาสังคหะเป็นต้น[4] เตสํ ธมฺมานํ แห่งธรรมเหล่านั้น มยา อันเรา นียเต = อุปนียติ = อาหริยติ จะนำมา[5] จิตฺตุปฺปาทวเสน โดยเนื่องด้วยจิตตุปบาท[6] เอว นั่นเอง  วเสน หมายความว่า โดยความเกี่ยวเนื่องกัน ตํตํเวทนาทิเภทภินฺนจิตฺตุปฺปาทานํ แห่งจิตตุปบาทที่ต่างกันโดยความต่างกันแห่งเวทนาเป็นต้นนั้นๆ เอว นั่นเทียว น ตํวิรเหน ทั้งนี้จะไม่เว้นจากจิตตุปบาทนั้น กตฺถจิ ในสังคหะไหนๆ[7].

*****

เวทนาสงฺคหวณฺณนา
เวทนาสงฺคหวณฺณนา อธิบายเวทนาสังคหะ
มยา อันเรา วุจฺจเต จะกล่าว.
            ๒๖๓.ตตฺถาติ เตสุ ฉสุ สงฺคเหสุ ฯ สุขาทิเวทนานํ  ตํสหคตจิตฺตุปฺปาทานญฺจ  วิภาควเสน  สงฺคโห เวทนาสงฺคโห  ฯ  ทุกฺขโต  จ  สุขโต  จ  อญฺญา  อทุกฺขมสุขาติ    มการาคมวเสน  ฯ 
            อตฺโถ อรรถ อิติ ว่า สงฺคเหสุ ในสังคหะ ฉสุ ทั้ง ๖ เตสุ เหล่านั้น ดังนี้ ปทสฺส แห่งบท อิติ ว่า ตตฺถ ดังนี้.
            สงฺคโห การรวบรวม[8] วิภาควเสน โดยเกี่ยวกับการจำแนก สุขาทิเวทนานํ จ ซึ่งเวทนามีสุขเวทนาเป็นต้น ด้วย ตํสหคตจิตฺตุปฺปาทานญฺจ ซึ่งจิตตุปบาทที่เกิดร่วมกับเวทนานั้น ด้วย เวทนาสงฺคโห ชื่อว่า เวทนาสังคหะ. [9]
            เวทนา เวทนา อญฺญา อื่น ทุกฺขโต จ จากทุกขเวทนาด้วย สุขโต จ จากสุขเวทนา ด้วย อาจริเยน อันอาจารย์ วุตฺตา เรียก อิติ ชื่อว่า อทุกฺขมสุขเวทนา  อทุกขมสุขเวทนา มการาคมวเสน เนื่องด้วย ม อักษร อาคม.[10]

            ๒๖๔. นนุ  จ  เทฺวมา ภิกฺขเว  เวทนา  สุขา  ทุกฺขาติ วจนโต  เทฺว  เอว  เวทนาติฯ              สจฺจํ ตมฺปน อนวชฺชปกฺขิกอทุกฺขมสุข สุขเวทนาย  สาวชฺชปกฺขิกฺจ    ทุกฺข- เวทนาย  สงฺคเหตฺวา วุตฺต  ฯ 
            ยมฺปิ กตฺถจิ สุตฺเต ยงฺกิฺจิ เวทยิตอิทเมตฺถ ทุกฺขสฺสาติ วจนฯ ตสงฺขารทุกฺขตาย  สพฺพเวทนาน  ทุกฺขสภาวตฺตา  วุตฺต  ฯ ยถาห  สงฺขารานิจฺจต  อานนฺท  มยา  สนฺธาย  ภาสิต สงฺขารวิปริณามตฺจ  ยงฺกิฺจิ  เวทยิตมิทเมตฺถ  ทุกฺขสฺสาติ ฯ  ตสฺมา ติสฺโสเยว  เวทนาติ ทฏฺพฺพาฯ เตนาห ภควา ติสฺโส อิมา ภิกฺขเว เวทนา สุขา ทุกฺขา อทุกฺขมสุขาติฯ
            โจทนา ท้วง อิติ ว่า เวทนา เวทนา โหนฺติ มี เทฺว เอว ๒ เท่านั้น วจนโต เพราะพระบาฬี อิติ ว่า ภิกฺขเว ภิกษุทั้งหลาย   อิมา เวทนา เวทนาเหล่านี้ เทฺว ๒ คือ สุขา สุขเวทนา ทุกฺขา ทุกขเวทนา ดังนี้ นนุ มิใช่หรือ ? ดังนี้
            ปริหาโร ตอบ อิติ ว่า สจฺจํ จริง [11], ปน แต่ว่า ภควตา พระผู้มีพระภาค วุตฺตํ ตรัส ตํ วจนํ พระบาฬีนั้นไว้ สงฺคเหตฺวา โดยทรงรวมเอา อทุกฺขมสุขํ อทุกขมสุขเวทนา อนวชฺชปกฺขิกํ ซึ่งตั้งอยู่ในฝ่ายแห่งธรรมไม่มีโทษ สุขเวทนายํ ในสุขเวทนา ด้วย           อทุกฺขมสุขํ อทุกขมสุขเวทนา สาวชฺชปกฺขิกํ ที่มีในฝ่ายแห่งธรรมที่เป็นไปกับด้วยโทษ ทุกฺขเวทนายํ ในทุกขเวทนา [12]
            ยํ ปน วจนํ ปิ แม้คำใด กตฺถจิ สุตฺเต ในบางพระสูตร วุตฺตํ อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ อิติ ว่า " เวทยิตํ[13] ความเป็นไปโดยอาการที่เสวยอารมณ์ ยงฺกิญฺจิ[14] อย่างใดอย่างหนึ่ง = สกลํ ทั้งสิ้น สุขํ วา จะเป็นสุข ก็ดี ทุกฺขํ วา เป็นทุกข์ ก็ดี อทุกฺขมสุขํ วา เป็นอทุกขมสุข ก็ดี อตฺถิ มีอยู่, อิทํ = สพฺพํ เวทยิตํ ความเป็นไปโดยอาการที่เสวยอารมณ์ทั้งปวงนี้ [ปริยาปนฺนํ ซึ่งเนื่องอยู่] เอตฺถ = เอเตสุ สงฺขาเรสุ ในสังขารธรรมนี้ ทุกฺขํ เป็นทุกข์ อสฺส = ภเวยฺย พึงเป็น[15], ตํ วจนํ คำนั้น ภควตา พระผู้มีพระภาค วุตฺตํตรัสไว้ ทุกฺขสภาวตฺตา เพราะความที่ - สพฺพเวทนานํ เวทนาทั้งปวง - มีทุกข์เป็นสภาวะ สงฺขารทุกฺขตาย โดยความเป็นสังขารทุกข์.[16]
            ยถาห = ภควา พระผู้มีพระภาค อาห ตรัสไว้ ยถากึ อย่างไร ? ภควา พระผู้มีพระภาค อาห ตรัสไว้ อิติ ว่า อานนฺท อานนท์ [อิทํ วจนํ คำนี้ อิติ ว่า เวทยิตํ ความเสวยอารมณ์ ยํกิญฺจิ อย่างใดอย่างหนึ่ง อตฺถิ มีอยู่, อิทํ สพฺพํ เวทยิตํ ความเสวยอารมณ์ทั้งปวงนี้ ปริยาปนฺนํ ซึ่งนับเนื่องอยู่ เอตฺถ สงฺขาเรสุ ในสังขารทั้งหลายนี้ นาม ชื่อว่า อสฺส พึงเป็น ทุกฺขํ ทุกข์ ดังนี้]  มยา อันเรา ภาสิตํ กล่าวแล้ว สนฺธาย หมายเอา สงฺขารานิจฺจตํ จ ความไม่เที่ยงแห่งสังขาร สงฺขารวิปริณามตํ จ และความแปรปรวนแห่งสังขาร.[17]
            ตสฺมา เพราะเหตุนั้น[18] เวทนา เวทนา ปณฺฑิเตน อันบัณฑิต ทฏฺฐพฺพา พึงเห็น อิติ ว่า เวทนา เวทนา ติสฺโส เอว มี ๓ เท่านั้น. เตน เหตุนั้น ภควา พระผู้มีพระภาค อาห จึงตรัส อิติ ว่า ภิกฺขเว ภิกษุทั้งหลาย เวทนา เวทนา ติสฺโสอิมา เหล่านี้ คือ สุขา สุขเวทนา ทุกฺขา ทุกขเวทนา อทุกฺขมสุขา อทุกขมสุขเวทนา ดังนี้.

            ๒๖๕. เอว  ติวิธาปิ ปเนตา  อินฺทฺริยเทสนาย  สุขินฺทฺริย  ทุกฺขินฺทฺริย  โสมนสฺสินฺทฺริย โทมนสฺสินฺทฺริย  อุเปกฺขินฺทฺริยนฺติ  ปฺจธา  เทสิตาติ  ตวเสนาเปตฺถ วิภาค  ทสฺเสตุ  สุข  ทุกฺขนฺติอาทิ  วุตฺตฯ กายิกมานสิกสาตาสาตเภทโต หิ  สุข  ทุกฺขฺจ  ปจฺเจก  ทฺวิธา  วิภเชตฺวา  สุขินฺทฺริย โสมนสฺสินฺทฺริย  ทุกฺขินฺทฺริย  โทมนสฺสินฺทฺริยนฺติ  เทสิตา  ฯ
            ปน ก็ เอตา เวทนาเหล่านี้ ติวิธาปิ แม้ว่าจะมี ๓ อย่าง เอวํ อย่างนี้ ภควตาพระผู้มีพระภาค เทสิตา ทรงแสดงไว้ ปญฺจธา ว่ามี ๕ ประการ อินฺทฺริยเทสนาย ในพระบาฬีอินทรียวิภังค์[19] อิติ คือ สุขินฺทฺริยํ สุขินทรีย์  ทุกฺขินฺทฺริยํ ทุกขินทรีย์                โสมนสฺสินฺทฺริยํ โสมนัสสินทรีย์, โทมนสฺสินฺทฺริยํ โทมนัสสินทรีย์, อุเปกฺขินฺทฺริยํ อุเบกขินทรีย์ อิติ เพราะเหตุนั้น   สุขํ ทุกฺขํ อิติอาทิ วจนํ คำเป็นต้นว่า สุขํ ทุกฺขํ ดังนี้ วุตฺตํ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ทสฺเสตุ เพื่อแสดง วิภาคํ การจำแนก ตํวเสน อปิ แม้โดยประเภทอินทรีย์เหล่านั้นอีก เอตฺถ = เอตสฺมึ เวทนาสงฺคเห ในเวทนาสังคหะนี้. หิ จริงอยู่ เวทนา เวทนา ทุกฺขสุขภูตา ที่เป็นสุขและทุกข์  เทสิตา พระผู้มีพระภาค วิภชิตฺวา ทรงจำแนก สุขํ จ ซึ่งสุข ด้วย ทุกฺขํ จ ซึ่งทุกข์ด้วย ปจฺเจกํ แต่ละอย่าง ทฺวิธา โดย ๒ อย่าง แล้วแสดงไว้ อิติ ว่า สุขินฺทริยํ สุขินทรีย์ โสมนสฺสินฺทฺริยํ โสมนัสสินทรีย์ ทุกฺขินฺทฺริยํ ทุกขินทรีย์ โทมนสฺสินฺทฺริยํ โทมนัสสินทรีย์ ดังนี้ กายิกมานสิก-            สาตาสาตเภทโต เพราะมีความต่างกันแห่งความสำราญและไม่สำราญอันเป็นไปทางกายและเป็นไปทางใจ. [20]
            ๒๖๖. อุเปกฺขา ปน เภทาภาวโต  อุเปกฺขินฺทฺริยนฺติ  เอกธาวฯ  ยเถว หิ สุขทุกฺขานิ อฺถา  กายสฺส  อนุคฺคหมุปฆาตฺจ  กโรนฺติ  อฺถา  มนโส น เอวมุเปกฺขา ตสฺมา สา เอกธาว เทสิตา ฯ
            ปน ส่วน อุเปกฺขา อุเบกขาเวทนา ภควตา พระผู้มีพระภาค เทสิตา ทรงแสดง เอกธา ว โดยประการเดียวเท่านั้น อุเปกฺขินฺทฺริยํ อิติ ว่า อุเบกขินทรีย์ เภทาภาวโต เพราะไม่มีความต่างกัน [กายิกมานสิกาวเสน โดยเกี่ยวกับเวทนาที่เป็นไปทางกายและเป็นไปทางใจ]. หิ จริงอยู่ สุขทุกฺขานิ สุขและทุกข์ กโรนฺติ ย่อมกระทำ อนุคฺคหํ จ ซึ่งการค้ำจุน ด้วย อุปฆาตํ จ ซึ่งการเบียดเบียน ด้วย กายสฺส แก่กาย อญฺญถา โดยอาการอีกอย่างหนึ่ง [กโรนฺติ ย่อมกระทำ อนุคฺคหํ จ ซึ่งการค้ำจุน ด้วย อุปฆาตํ จ ซึ่งการเบียดเบียน ด้วย] มนโส แก่ใจ อญฺญถา โดยอาการอีกอย่างหนึ่ง ยถา ฉันใด,    อุเปกฺขา อุเบกขาเวทนา น กโรนฺติ จะกระทำ เอวํ ฉันนั้น หามิได้. ตสฺมา เพราะเหตุนั้น สา อุเปกฺขา อุเบกขานั้น ภควตา พระผู้มีพระภาค เทสิตา ทรงแสดงไว้ เอกธา ว ประการเดียวเท่านั้น.

            ๒๖๗. เตนาหุ โปราณา
                                    กายิกมานส ทุกฺข                    สุขฺโจเปกฺขเวทนา
                                    เอกมานสเมเวติ                       ปฺจธินฺทฺริยเภทโตติ ฯ
            เตน เพราะเหตุนั้น โปราณา พระโบราณาจารย์[21] อาหุ จึงกล่าว อิติ ว่า
            เวทนา เวทนา ปญฺจธา โหติ มี ๕ ประการ อินฺทฺริยเภทโต ตามประเภทแห่งอินทรีย์ อิติ คือ ทุกฺขํ ทุกข์ กายิกํ เป็นไปทางกาย ด้วย มานสํ จ มีในใจ ด้วย สุขํ จ สุข ด้วย กายิกํ เป็นไปทางกาย ด้วย มานสํ จ เป็นไปทางใจ ด้วย อุเปกฺขา-เวทนา อุเบกขาเวทนา เอกมานสํ เป็นไปทางใจอย่างเดียว เอว เท่านั้น ดังนี้.
            ๒๖๘. ตตฺถ  อิฏฺโผฏฺพฺพานุภวนลกฺขณ  สุข  ฯ อนิฏฺฐโผฏฺฐพฺพานุภวนลกฺขณ  ทุกฺขฯ สภาวโต ปริกปฺปโต วา อิฏฺานุภวนลกฺขณ  โสมนสฺสฯ ตถา  อนิฏฺานุภวนลกฺขณ  โทมนสฺส  ฯ มชฺฌตฺตานุภวนลกฺขณา  อุเปกฺขา  ฯ
            ตตฺถ = ตาสุ สุขาทีสุ ปญฺจสุ เวทนาสุ ในบรรดาเวทนาทั้ง ๕ มีสุขเป็นต้นเหล่านั้น สุขํ สุข อิฏฺฐโผฏฺฐพฺพานุภวนลกฺขณํ มีการเสวยโผฏฐัพพารมณ์ที่น่าปรารถนาเป็นลักษณะ. ทุกฺขํ ทุกข์ อนิฏฺฐโผฏฺฐพฺพานุภวนลกฺขณํ มีการเสวยโผฏฐัพ-พารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาเป็นลักษณะ, โสมนสฺสํ โสมนัส อิฏฺานุภวนลกฺขณ มีการเสวยอิฏฐารมณ์ - สภาวโต โดยสภาวะ ปริกปฺปโต วา หรือว่า โดยปริกัป - เป็นลักษณะ. โทมนสฺสํ โทมนัส ตถา ก็เหมือนกัน อนิฏฺฐานุภวนลกฺขณํ มีการเสวยอนิฏฐารมณ์ [สภาวโต วา โดยสภาวะ ปริกปฺปโต วา โดยปริกัป] เป็นลักษณะ.[22] อุเปกฺขา อุเบกขา มชฺฌตฺตา- นุภวนลกฺขณา มีการเสวย(อิฏฐมัชฌัตตารมณ์และอนิฏฐมัชฌัตตารมณ์)เป็นลักษณะ.
            ๒๖๙. จตุจตฺตาฬีส  ปจฺเจกโลกิยโลกุตฺตรเภเทน  เอกาทสวิธตฺตา  ฯ
            [มหคฺคตโลกุตฺตรจิตฺตานิ  จ มหัคคตจิตและโลกุตรจิต มทุติยตติย-จตุตฺถชฺฌานสงฺขาตานิ กล่าวคือ ปฐมฌานจิต ทุติยฌานจิต ตติยฌานจิตและจตุตถ-ฌานจิต] จตุจตฺตาฬีส ๔๔ ดวง  เอกาทสวิธตฺตา เพราะความที่ - [ปฐชฺฌาน-              สงฺขาตาทีนํ มหคฺคตโลกุตฺตรจิตฺตานํ มหัคคตจิตและโลกุตรจิต กล่าวคือปฐมฌานเป็นต้น]  ปจฺเจกํ แต่ละดวง - มี ๑๑ ดวง โลกิยโลกุตฺตรเภเทน ตามประเภทแห่งโลกิยะ และ โลกุตระ[23]
            ๒๗๐. เสสานีติ สุขทุกฺขโสมนสฺสโทมนสฺสสหคเตหิ อวเสสานิ อกุสลโต  ฉ อเหตุกโต จุทฺทส กามาวจรโสภณโต  ทฺวาทส  ปฺจมชฺฌานิกานิ  เตวีสาติ  สพฺพานิปิ   ปฺจปฺาส ฯ
            อตฺโถ อรรถ อิติ ว่า จิต ปญฺจปญฺญาส ๕๕ ดวง สพฺพานิปิ แม้ทั้งหมด             อวเสสานิ ที่เหลือ สุขทุกฺขโสมนสฺสโทมนสฺสสหคเตหิ จากสุขสหคตจิต ทุกขสหคตจิต โสมนัสสหคตจิตและโทมนัสสหคตจิต อิติ คือ จิต ๖ ดวง [อวเสสานิ ที่เหลือ] อกุสลโต จากอกุศล, จุทฺทส จิต ๑๔ ดวง [อวเสสานิ ที่เหลือ] อเหตุกโต จากอเหตุก-จิต, ทฺวาทส จิต ๑๒ ดวง [อวเสสานิ ที่เหลือ] กามาวจรโสภณโต จากกามาวจร-โสภณจิต ปญฺจมชฺฌานิกานิ ปัญจมฌานิกจิต เตวีส ๒๓ ดวง ดังนี้ ปทสฺส แห่งบท            อิติ ว่า เสสานิ จิตที่เหลือ ดังนี้.

เวทนาสงฺคหวณฺณนา นิฏฺฐิตา
เวทนาสงฺคหวณฺณนา อธิบายเวทนาสังคหะ นิฏฺฐิตา จบแล้ว



[1] ปกิณกสังคหะ คือ การรวบรวมหรือจำแนกจิตและเจตสิก ซึ่งเป็นไปเนื่องด้วยเนื้อความที่กระจัดกระจาย ๖ ประการมีเวทนาเป็นต้น. อีกนัยหนึ่ง คือ สังคหะที่มีอรรถอันกระจัดกระจาย .
[2] หมายความว่า ตามที่จิตและเจตสิกเหล่านั้นจะเหมาะสมแก่สังคหะชนิดใด คือ จิตเจตสิกทุกดวงสามารถสงเคราะห์ได้โดยเวทนา กิจและอารมณ์, แต่บางพวกสงเคราะห์ได้เพียงเหตุ ทวารและวัตถุ. (มณิ)
[3] มณิ.มองว่า การที่พระสุมังคลาจารย์ตั้งบทนี้ไว้นั้น เพราะเป็นปาฐเสสะ แต่ในโยชนา มองว่า เป็นบทไขความของบทว่า สงฺคโห ในที่นี้แปลเป็นบทไขความ ตามนัยของโยชนา แต่ถ้าเอาตามนัยของมณิ. ต้องแปลว่า นียเต ข้าพเจ้าจะนำ สงฺคโห การรวบรวม ปกิณฺณกสงฺคโห นาม อันมีนามว่า ปกิณกสังคหะ เวทนาสงฺคหาทินามโก คือ มีชื่อว่า เวทนาสังคหะเป็นต้น .
[4] มณิ. มองว่า บทนี้ เป็นการประมวลความของข้อความว่า โดยเวทนา ฯลฯ วัตถุ ส่วนโยชนา มองว่า เป็นบทไขความของบทว่า นาม และเป็นวิเสสนะของบทว่า ปกิณฺณกสงฺคโห.
[5] การที่ใช้บทว่า อุปนียติ และ อาหริยติ ไขกิริยาว่า นียเต นั้น ท่านมีความประสงค์ว่า เนื่องจาก นี ธาตุ (นำไป) ปกติจะเป็นทวิกัมมกธาตุ ธาตุมี ๒ กรรม [เช่น นำ-ซึ่งแพะ -ไป - สู่หมู่บ้าน]  ดังนั้น เพื่อจะแสดงให้เห็นว่า ในที่นี้ประสงค์ให้เป็นเอกกัมมกธาตุ [จึงเพิ่ม อุป อุปสัค แปลว่า นำเข้าไป]และ[เพื่อห้ามความหมายของ นี ธาตุ ที่มีอรรถว่า ฝึก,แนะนำ] จึงไขออกเป็น อาหริยติ เพื่อทำให้อรรถ นำไป ปรากฏชัด. (อเผคคุสารทีปนี)
[6] จิตตุปบาทในที่นี้ มีความหมายเดียวกับที่เคยกล่าวมาแล้วในปริจเฉทที่ ๒ นั่นเองว่า ได้แก่ การเกิดขึ้นคือจิต มิได้หมายถึง จิตและสัมปยุตธรรม ดังนั้น ในที่นี้จึงได้แก่ จิตเท่านั้น.
[7] หมายความว่า ไม่ว่าจะในสังคหะไหนๆ มีเวทนาเป็นต้น ก็จะแสดงโดยไม่เว้นจากจิตเลย. ข้อความนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากการที่จำกัดความไว้ด้วย เอว ศัพท์ในบทว่า จิตฺตุปฺปาทวเสน เอว ที่แปลว่า โดยเนื่องด้วยจิตตุปบาทเท่านั้น ที่สะท้อนให้เห็นว่า ในปริจเฉทที่ ๓ นี้ท่านกล่าวถึงจิตเท่านั้น มิได้กล่าวถึงเจตสิก เนื่องจากในแต่ละสังคหะจะยกจิตขึ้นแสดงว่า มีเวทนา มีเหตุ มีกิจ เป็นต้น มิได้แสดงถึงสังคหะของเจตสิกแยกออกเป็นต่างหากเลย.  ในที่นี้ท่านทำจิตให้เป็นประธานในการกล่าวถึงปกิณกสังคหะของจิตและเจตสิก. อย่างไรก็ตาม เมื่อกิจสำเร็จในประธาน แม้กิจในสิ่งที่ไม่ใช่ประธานก็เป็นอันสำเร็จ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นอันแสดงสังคหะแห่งเจตสิกด้วย. มณิ. ให้เหตุผลในการแสดงข้อความนี้ว่า "อย่าคิดว่า "ท่านอาจารย์นำสังคหะมาด้วยจิตตุปบาทเท่านั้น, มิได้นำสังคหะมาโดยแยกเจตสิกอีก". อันที่จริง เมื่อนำสังคหะแห่งจิตมา แม้สังคหะแห่งเจตสิก ก็ถูกนำมาด้วย เพราะเจตสิกไม่มีการแยกออกจากจิต เพราะฉะนั้น ท่านพระสุมังคลาจารย์จึงกล่าวความที่เจตสิกศัพท์เป็นสัมพันธะและสงฺคหศัพท์ ที่เป็นสัมพันธี ว่า แสดงสังคหะแห่งจิตและเจตสิก ดังนี้ไว้ ก็ถูกอยู่, แต่กระนั้น ก็เพราะความที่เจตสิกมีจิตเป็นประธาน ปกิณณกสังคหะจึงถูกนำมาแสดงโดยจิตตุปบาทเท่านั้น, ไม่ต้องแสดงโดยแยกเจตสิกออกมาอีก. เพราะเมื่อประธานคือจิตสำเร็จกิจ, แม้ธรรมที่มิใช่ประธานคือเจตสิก ก็เป็นอันสำเร็จกิจเช่นกัน ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า "โดยเนื่องด้วยจิตตุปบาทเท่านั้น"  ก็เพื่อจะห้ามความสงสัยของผู้อ่านบางท่านว่า    "เพราะพระสุมังคลาจารย์ได้กล่าวว่า "สังคหะแห่งจิตและเจตสิก" ปกิณณกสังคหะ จึงถูกนำมาแสดงด้วย             จิตตุปบาทอย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้, แต่ที่แท้ ก็นำมาแสดงโดยแยกเจตสิกออกมาอีกเช่นกัน"
[8] สงฺคห ศัพท์ มีอรรถหลายประการ คือ ชาติ โคตรที่เสมอกัน, สญฺชาติ สถานที่เสมอกัน, กฺริยา การกระทำ, คณน การนับ ดังนั้น ในที่นี้ ท่านต้องการแสดงอรรถ คณน จึงกล่าวว่า วิภาควเสน. อีกนัยหนึ่ง สงฺคห ศัพท์ มีอรรถ ๔ ประการอีกนัยหนึ่ง คือ ปริจฺจาค บริจาค, อญฺญสงฺคห ถือเอาธรรมอื่น, สหชาตาย อญฺญสงฺคห ถือเอาธรรมอื่นโดยสหชาตปัจจัย, วิภาค จำแนก. ในที่นี้ หมายเอาอรรถ วิภาค จึงกล่าวว่า วิภาควเสน. (อเผคฺคุสารทีปนี)
[9] ในวจนัตถะนี้ วากยะที่ ๑ หมายถึงข้อความในอภิธัมมัตถสังคหะว่า ติวิธา เวทนา ฯปฯ ปญฺจธา โหติ. และว่า สุขํ ทุกฺขมุเปกฺขาติ ฯปฯ ปญฺจธา. ส่วนวากยะที่ ๒ หมายถึงข้อความว่า ตตฺถ สุขสหคตํ ฯปฯ จิตฺตาเนว. และว่า สุขเมกตฺถ ทุกฺขญฺจ ฯปฯ ปญฺจปญฺญาสเกตรา. อนึ่ง วากยะที่ ๒ เป็นการย้ำความว่า  จะแสดงด้วยอำนาจแห่งจิตตุปบาทนั่นเทียว  และ จิตตุปบาทเป็นสิ่งที่เวทนาสังคหะพึงจำแนก.
               นี้เป็นวจนัตถะของคำว่า เวทนาสงฺคห ที่มาในคัมภีร์นี้ มณิ. ให้วจนัตถะอีกนัยหนึ่งว่า
               เวทนาโต, ตํสหคตจิตฺตุปฺปาทโต จ ปวตฺโต สงฺคโห เวทนาสงฺคโห. =  การรวบรวมที่เป็นไปโดยเวทนาด้วย โดยจิตตุปบาทที่เกิดร่วมกับเวทนานั้น ด้วย ชื่อว่า เวทนาสังคหะ (มัชเฌโลปีตติยาตัปปุริสสมาส ลบบทว่า ปวตฺต ตรงกลาง)
               หรืออีกนัยหนึ่ง เวทนาย ปากฏตฺตา ตพฺพเสน สงฺคโห ลกฺขิโตติ เวทนาย อุปลกฺขิโต, ปญฺญาโต วา สงฺคโห เวทนาสงฺคโห = การรวบรวมที่กำหนดแล้ว ด้วยเวทนานั้น เพราะเวทนาเป็นสภาวะที่ปรากฏชัด เพราะเหตุนั้น การรวบรวมที่กำหนดแล้วหรือปรากฏแล้วด้วยเวทนา ชื่อว่า เวทนาสังคหะ. (มัชเฌโลปีตติยาตัปปุริสสมาส ลบบทว่า อุปลกฺขิต หรือ ปญฺญาต ตรงกลาง)
[10] อ อักษร ในที่นี้ พึงทราบว่า มีอรรถอญฺญ แปลว่า อื่น ดังนั้น อทุกขมสุขเวทนา จึงแปลว่า เวทนาที่เป็นอย่างอื่นจากทุกข์และสุขเวทนา. เมื่อควรกล่าวว่า อทุกฺขาอสุขา ก็รัสสะ อา ที่ อทุกฺขา และลง ม อักษรเป็นอาคม เพื่อเชื่อมบท.
[11] โจทกาจารย์ถือเอาแต่นีตัตถะแห่งพระสูตรเท่านั้น (คืออรรถที่รู้หรือนำไปได้โดยตรงตามคำพูด) จึงตั้งคำท้วงว่า เวทนามี ๒ คือ สุขและทุกขเวทนา. แต่ท่านอาจารย์ยอมรับว่าเวทนามี ๒ โดยหมายถึงเนยยัตถะแห่งพระสูตร (อรรถที่ต้องนำอรรถอื่นเข้ามาด้วยจึงได้ใจความที่ถูกต้อง) จึงรับว่า เป็นความจริง และได้แสดงภาวะที่พระสูตรนั้นเป็นเนยยัตถะ ว่า ก็พระสูตรนั้น เป็นต้น.
[12] อุเบกขาที่ตั้งอยู่ในฝ่ายธรรมไม่มีโทษ ได้แก่ อุเบกขาที่เป็นกุศลและอัพยากตะ. อ ในคำว่า อนวชฺช (น + อวชฺช = อนวชฺช) มีอรรถตัพภาวะ คือ มีอรรถเดียวกับ อวชฺช แปลว่า ไม่มีโทษ.
[13]  เวทยิตํ มาจาก เวท ปุพฺพปท + อิ ธาตุ ในความเป็นไป + ต ปัจจัย ในอรรถภาวะ ลง ย อาคม มีรูปวิคราะห์ว่า เวเทน = อารมฺมณสฺส อนุภวนากาเรน อยิตํ = ปวตฺตํ เวทยิตํ ความเป็นไป โดยอาการที่เสวยอารมณ์ ชื่อว่า เวทยิต. ส่วนในโยชนาว่า วิท อนุภวเน วิท ธาตุ ในการเสวย + ณย จุราทิคณปัจจัย และอิ อาคม + ต ปัจจัย ในอรรถภาวะ วิเคราะห์ว่า เวทนา อารมฺมณสฺส                อนุภวนํ เวทยิตํ การเสวยคือเสวยอารมณ์ ชื่อว่า เวทยิต.
[14] พึงทราบว่า กึ สัพพนาม ที่มี ย และ จิ มีความหมายว่า ทั้งหมด ส่วนที่มี จิ มีอรรถว่า เล็กน้อย ดังนั้น คำว่า ยํกิญฺจิ มีอรรถว่า สกลํ ทั้งหมด ในที่นี้หมายความว่า ความเสวยอารมณ์กล่าวคือเวทนาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุข ก็ตาม
[15] ในที่นี้เพิ่มปาฐเสสะ, บทไขและสัมพันธ์ตามนัยของมณิ. หรืออีกนัยหนึ่ง ตามนัยแห่งโยชนาว่า ยํกิญฺจิ สกลํ เวทยิตํ อารมฺมณสฺส อนุภวนํ , อิทํ เวทยิตํ เอตฺถ ฐาเน ทุกฺขํ นาม อสฺส ภวติ. เวทยิตํ = อารมฺมณสฺส อนุภวนํ การเสวยอารมณ์ ยํกิญฺจิ อย่างใดอย่างหนึ่ง = สกลํ ทั้งสิ้น, อิทํ เวทยิตํ การเสวยอารมณ์นี้ ทุกฺขํ นาม ชื่อว่า เป็นทุกข์ เอตฺถ ฐาเน ในที่นี้ อสฺส = ภวติ ย่อมเป็น.
[16] สังขารทุกข์ คือ เป็นทุกข์เพราะถูกปัจจัยทั้งหลายสมคบกันปรุงแต่งขึ้น.
[17] อีกนัยหนึ่ง สงฺขารานิจฺจตํ แปลว่า  ความไม่เที่ยงแห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ เพราะเป็นสังขารธรรม.  สงฺขารวิปริณามตํ แปลว่า ความแปรปรวนไป เนื่องด้วยเป็นความแตกทำลายไปแห่งสังขาร, หรือความแตกทำลายไปแห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ เพราะเป็นธรรมที่ถูกปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่ง. ด้วยคำจำกัดความทั้งสองนี้ อธิบายลักษณะของคำว่า ทุกข์ ในที่นี้. นั่นก็คือ พระบาฬีนี้มิได้หมายความว่า เวทนาอย่างใดหนึ่งทั้งหมด (ที่ตรัสเรียกว่า เวทยิตํ สภาวะที่เสวยอารมณ์ ซึ่งได้แก่ สุข ทุกข์ และอทุกขมสุขเวทนา) จะมีอย่างเดียวคือทุกขเวทนา โดยอาศัยคำว่า ทุกฺข ก็หามิได้ แต่หมายความว่า เวทนาทั้งสามก็เป็นธรรมที่นับเนื่องในสังขารธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ จัดว่าเป็นทุกข์โดยความเป็นสังขารทุกข์นั่นเอง เนื่องจากมีลักษณะถูกบีบคั้น ทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกปัจจัยปรุงแต่งและมีความแตกดับไป.
               คำว่า ทุกข์ มี ๓ ประการ ดังที่แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคว่า ทุกขเวทนาทั้งทางกายและทางใจ เรียกว่า ทุกขทุกข์ เพราะความที่เป็นทุกข์โดยสภาวะและโดยชื่อ, สุขเวทนา เรียกว่า วิปริณามทุกข์ เพราะเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เนื่องจากเป็นความแปรปรวน, อุเบกขาเวทนาและสังขารที่เป็นไปในภูมิ ๓ เรียกว่า สังขารทุกข์ เพราะถูกความเกิดขึ้นและความดับไปบีบคั้น.
[18] เพราะเหตุที่พระสูตรทั้งสองมิใช่เป็นนีตัตถะ แต่เป็นเนยยัตถะ กล่าวคือ ต้องนำความหมายว่า สงเคราะห์อทุกขมสุขเวทนาเข้าไว้ในเวทนามีลักษณะดังกล่าว และเพราะเวทนาทั้งปวงเป็นสังขารทุกข์ นี้เข้ามาประกอบ เวทนาจึงมี ๓ เท่านั้น มิได้มีเพียง ๒ อย่างหรือ ๑ อย่าง.
[19] อินฺทฺริยเทสนา วิ. อินฺทฺริยํ ภควตา เอตฺถ ปาฬิยํ เทสยิตฺถาติ สา ปาฬิ เทสนา. อินทรีย์ อันพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้ ในพระบาฬีนี้ เหตุนั้น พระบาฬีนั้น เทสนา ชื่อว่า เทสนา. อินฺทฺริยานํ เทสนา พระบาฬีเป็นที่แสดงซึ่งอินทรีย์ ชื่อว่า อินฺทฺริยเทสนา. (ได้แก่ พระบาฬีอินทริยวิภังค์ วิภังคปกรณ์)
[20] สุขินทรีย์, ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ และโทมนัสสินทรีย์ มีการครอบงำธรรมที่เกิดร่วมกัน แล้วทำให้คล้อยตามอาการที่หยาบของตนๆ , อุเบกขินทรีย์มีการครอบงำธรรมที่เกิดร่วมกันแล้วทำให้คล้อยตามอาการที่สงบ, ที่ประณีตและที่เป็นกลางๆ. หมายความว่า สุขเวทนาและทุกขเวทนา เมื่อเกิดขึ้นแผ่คลุมไป ก็ย่อมเป็นธรรมชาติที่ครอบงำ คือท่วมทับธรรมที่เกิดร่วมกันแล้วปรากฏชัดเสียเอง และธรรมที่เกิดร่วมกัน ก็ย่อมเป็นเหมือนกับว่าถึงแล้วซึ่งความสุขความทุกข์ ด้วยอำนาจแห่งเวทนานั้น แม้อุเบกขาเวทนาก็มีนัยนี้ (โดยนัยที่มาในวิสุทธิมรรคและฏีกา).
[21]  คาถานี้ อ้างอิงคัมภีร์สัจจสังเขป ดังนั้น พระโบราณาจารย์ในที่นี้ได้แก่ พระธรรมปาลาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์สัจจสังเขป.
[22] หมายความว่า อิฏฐารมณ์ กล่าวคือ อารมณ์ที่สัตว์ต้องการหรือพึงแสวงหา มี ๒ ประการ คือ อิฏฐารมณ์โดยสภาวะและโดยปริกัปปะ ที่ว่า สภาวะ หมายถึงตามปกติของตน (ของอารมณ์นั้นๆ) ส่วนปริกัปปะ คือ ความสำคัญด้วยอำนาจความวิปลาสของสัตว์. จริงอยู่ โสมนัส ทั้งที่กุศลและอกุศล เป็นการถือเอาอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาโดยอาการที่น่าปรารถนาได้ เพราะเป็นไปในสันดานยังละวิปลาสไม่ได้, แม้โทมนัส ก็เช่นเดียวกัน เป็นการถือเอาอติอิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่น่าปรารถนาอย่างยิ่ง) โดยอาการที่ไม่น่าปรารถนาก็ได้ เพราะเป็นไปในสันดานที่ยังละวิปลาสไม่ได้
[23] คือ แบ่งออกเป็น โลกิยะ  ๓ คือ ที่เป็นกุศล กิริยา และวิบาก, โลกุตระ ๘ รวมเป็น ๑๑