วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

๑. อภิธัมมัตถสังคหะและวิภาวินีฎีกา อธิบายคาถาเริ่มปกรณ์

อภิธมฺมตฺถสงฺคหปาลิ
ปกรณารมฺภคาถา

อภิธัมมัตถสังคหบาลี
คาถาเริ่มต้นปกรณ์
สมฺมาสมฺพุทฺธมตุลํ             สสทฺธมฺมคณุตฺตมํ
อภิวาทิย ภาสิสฺสํ               อภิธมฺมตฺถสงฺคหํ ฯ
อหํ ข้าพเจ้า (พระอนุรุทธาจารย์) อภิวาทิย ขอถวายอภิวาทสมฺมาสมฺพุทฺธํ ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อตุลํ ทรงไม่มีผู้เปรียบเทียบด้วยพระปัญญา สสทฺธมฺมคณุตฺตมํ พร้อมทั้งพระสัทธรรมและหมู่พระอริยสงฆ์สูงส่ง ภาสิสฺสํ แล้วจักกล่าว อภิธมฺมตฺถสงฺคหํ ซึ่งปกรณ์อภิธัมมัตถสังคหะ.

**********


อภิธมฺมตฺถวิภาวินีฏีกา
คนฺถารมฺภกถา
วิสุทฺธกรุณาญาณํ,             พุทฺธํ สมฺพุทฺธปูชิตํ;
ธมฺมํ สทฺธมฺมสมฺภูตํ,           นตฺวา สํฆํ นิรงฺคณํฯ
                 สาริปุตฺตํ มหาเถรํ,             ปริยตฺติวิสารทํ;
วนฺทิตฺวา สิรสา ธีรํ,            ครุํ คารวภาชนํฯ
                 วณฺณยิสฺสํ สมาเสน,           อภิธมฺมตฺถสงฺคหํ;
อาภิธมฺมิกภิกฺขูนํ,              ปรํ ปีติวิวฑฺฒนํฯ
                 โปราเณหิ อเนกาปิ,           กตา ยา ปน วณฺณนา;
น ตาหิ สกฺกา สพฺพตฺถ,       อตฺโถ วิญฺญาตเว อิธฯ
 ตสฺมา ลีนปทาเนตฺถ,         สาธิปฺปายมหาปยํ;
วิภาเวนฺโต สมาเสน,           รจยิสฺสามิ วณฺณนนฺติฯ

********

อภิธัมมัตถสังคหฎีกา ชื่ออภิธัมมัตถวิภาวินี
กถาเริ่มต้นพระคัมภีร์
 ข้าพเจ้า   ผู้ชื่อว่าสุมังคละ       ขอถวายนมัสการพระพุทธเจ้า  ผู้มีพระกรุณาและพระญาณอันหมดจดโดยพิเศษ  พระธรรม อันพระสัมพุทธเจ้าทรงบูชาแล้วพระสงฆ์ผู้หมดกิเลส  (ที่เป็นเครื่องถึงความเป็นความเลว)  ผู้เกิดดีแล้วแต่พระสัทธรรม
และขอกราบไหว้ท่านพระสารีบุตรมหาเถระ ผู้เป็นปราชญ์องอาจในพระปริยัติเป็นครู  เป็นภาชนะแห่งคารวะ  ด้วยเศียรเกล้า
แล้วจักพรรณนาโดยย่อ  ซึ่งพระอภิธัมมัตถสังคหะเป็นที่ยังปีติให้เจริญยิ่งแก่เหล่าภิกษุนักอภิธรรม  เพราะกุลบุตรทั้งหลาย  ไม่สามารถจะรู้อรรถในบททั้งปวงในปกรณ์นี้ได้จากวรรณนาแม้เป็นอันมาก ที่ท่านโบราณาจารย์รจนาไว้  ฉะนั้น  ข้าพเจ้าจักรจนาอรรถวรรณนาโดยย่อ ไม่ทิ้งบทที่ลี้ลับในปกรณ์นี้  พร้อมทั้งอรรถาธิบายให้แจ่มแจ้ง ฯ

********
คนฺถารมฺภกถาวณฺณนา
อธิบายกถาเริ่มพระคัมภีร์
. ปรมวิจิตฺตนยสมนฺนาคตํ สกสมยสมยนฺตรคหนวิคฺคาหณสมตฺถํ สุวิมลวิปุลปญฺญาเวยฺยตฺติยชนนํ ปกรณมิทมารภนฺโตยมาจริโย ปฐมํ ตาว รตนตฺตยปณามาภิเธยฺย กรณปฺปการปกรณาภิธานปโยชนานิ ทสฺเสตุํ ‘‘สมฺมาสมฺพุทฺธ’’นฺตฺยาทิมาหฯ
อยํ อาจริโย พระอนุรุทธาจารย์ นี้ อารภนฺโต เมื่อจะเริ่ม อิทํ ปกรณํ ปกรณ์นี้ ปรมวิจิตฺตนยสมนฺนาคตํ ที่ประกอบด้วยนัยวิจิตรอย่างยิ่ง สกสมยสมยนฺตรวิคฺคาหณสมตฺถํ สามารถจะสางชัฏคือลัทธิของตน และของคนอื่น สุวิมลวิปุลปญฺญาเวยฺยตฺติยชนนํ ซึ่งให้เกิดความแกล้วกล้าแห่งปัญญาทั้งผ่องใสทั้งไพบูลย์ อาห จึงกล่าว สมฺมาสมฺพุทฺธํ อิติ อาทิํ วจนํ คำมีอาทิว่า "สมฺมาสมฺพุทฺธํ ขอถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ตาว ไว้ในเบื้องต้น ทสฺเสตุํ เพื่อแสดง รตนตฺตยปณามาภิเธยฺยกรณปฺปการปกรณาภิธานปโยชนานิ การนอบน้อมพระรัตนตรัย เนื้อความ วิธีการแต่ง ชื่อปกรณ์ และประโยชน์ทั้งหลาย.
เอตฺถ หิ ‘‘สมฺมาสมฺพุทฺธเป.อภิวาทิยา’’ติ อิมินา รตนตฺตยปณาโม วุตฺโต, อภิธมฺมตฺถสงฺคห’’นฺติ  เอเตน อภิเธยฺยกรณปฺปการปกรณาภิธานานิ อภิธมฺมตฺถานํ อิธ สงฺคเหตพฺพภาวทสฺสเนน เตสํ อิมินา สมุทิเตน ปฏิปาเทตพฺพภาวทีปนโต, เอกตฺถ สงฺคยฺห กถนาการทีปนโต, อตฺถานุคตสมญฺญาปริทีปนโต จฯ ปโยชนํ ปน สงฺคหปเทน สามตฺถิยโต ทสฺสิตเมว อภิธมฺมตฺถานํ เอกตฺถ สงฺคเห สติ ตทุคฺคหปริปุจฺฉาทิวเสน เตสํ สรูปา-วโพธสฺส, ตมฺมูลิกาย จ ทิฏฺฐธมฺมิกสมฺปรายิกตฺถสิทฺธิยา อนายาเสน สํสิชฺฌนโตฯ
หิ จะเห็นได้ว่า เอตฺถ ในข้อความที่ข้าพเจ้ากล่าวมาข้างต้น รตนตฺตยปณาโม การน้อมนอบพระรัตนตรัย อาจริเยน อันอาจารย์ วุตฺโต กล่าวแล้ว สมฺมาสมฺพุทฺธ..เป..อภิวาทิยา’’ติ อิมินา ด้วยข้อความนี้ อิติ ว่า “ข้าพเจ้าขอถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงหาผู้เปรียบปานมิได้” อภิเธยฺยกรณปฺปการปกรณา-ภิธานานิ เนื้อความ, วิธีการแต่งและชื่อปกรณ์ อาจริเยน อันอาจารย์ วุตฺตานิ กล่าวแล้ว อภิธมฺมตฺถสงฺคหํ อิติ  เอเตน ด้วยคำนี้ว่า “ซึ่งปกรณ์ชื่ออภิธัมมัตถสังคหะ” ปฏิปาเทตพฺพภาวทีปนโต เพราะแสดงความที่ - เตสํ  (อภิธมฺมตฺถานํ) อรรถพระอภิธรรม - เป็นสาระ อิมินา สมุทิเตน ที่สังคหปกรณ์นี้[๑] พึงให้สำเร็จ[๒] สงฺคเหตพฺพ-ภาวทสฺสเนน เหตุว่าแสดงความที่ - อภิธมฺมตฺถานํ อรรถพระอภิธรรม - เป็นธรรมอันพึงประมวล อิธ ไว้ในปกรณ์นี้   ด้วย,[๓]  กถนาการทีปนโต เพราะเป็นการแสดงลักษณะที่ สงฺคยฺห ย่อ (ซึ่งเนื้อความพระอภิธรรม) แล้วกล่าว เอกตฺถ ไว้ในที่แห่งเดียว ด้วย[๔], อตฺถานุคตสมญฺญาปริทีปนโต เพราะแสดงชื่อปกรณ์อันสอดคล้องกับความหมาย ด้วย[๕]. ปน ส่วน ปโยชนํ ประโยชน์ อาจริเยน อันอาจารย์ ทสฺสิตํ แสดงแล้ว สงฺคห-ปเทน ด้วยบทว่า สงฺคห  เอว นั่นเทียว สามตฺถิยโต โดยอ้อม สํสิชฺฌนโต เพราะ - สงฺคเห เมื่อการรวบรวมอย่างย่อ อภิธมฺมตฺถานํ ซึ่งอรรถพระอภิธรรม เอกตฺถ ไว้ในที่แห่งเดียว สติ มีอยู่, - สรูปาวโพธสฺส การเข้าใจสภาวะ[๖] เตสํ ของอรรถพระอภิธรรมเหล่านั้น ตทุคฺคปริปุจฺฉาทิวเสน โดยเนื่องด้วยการเล่าเรียน และสอบถามเป็นต้นในอรรถพระอภิธรรม ด้วย, ทิฏฺฐธมฺมิกสมฺปรายิกตฺถสิทฺธิยา การสำเร็จประโยชน์อันเป็นไปในโลกปัจจุบันและประโยชน์อันเป็นไปในโลกหน้า ตมฺมูลิกาย ที่มีการเข้าใจสภาวะของอรรถพระอภิธรรมนั้นเป็นมูลเหตุ ด้วย - จะสำเร็จ   อนายาเสน โดยไม่ยาก. [๗]

ตตฺถ รตนตฺตยปณามปฺปโยชนํ ตาว พหุธา ปปญฺเจนฺติ อาจริยา, วิเสสโต ปน อนฺตรายนิวารณํ  ปจฺจาสีสนฺติฯ
ตตฺถ ในการแสดงกิจมีการนอบน้อมพระรัตนตรัยเป็นต้นเหล่านั้น อาจริยา = ฎีกาจริยา พระฎีกาจารย์ท. ปปญฺเจนฺติ ได้ขยายความ รตนตฺตยปณามปฺปโยชนํ ประโยชน์ของการนอบน้อมพระรัตนตรัย พหุธา โดยหลายประการ ตาว เป็นลำดับแรก.  ปน ส่วน (อฏฺฐกถาจริยา)  พระอรรถกถาจารย์ท. ปจฺจสีสนฺติ ปรารถนา อนฺตรายนิวารณํ การป้องกันอันตราย วิเสสโต โดยยิ่งกว่าประโยชน์อย่างอื่น.

ตถา หิ วุตฺตํ สงฺคหกาเรหิ ‘‘ตสฺสานุภาเวน หตนฺตราโย’’ติ (ปารา. อฏฺฐ. ๑.คนฺถารมฺภกถา)ฯ รตนตฺตยปณาโม หิ อตฺถโต ปณามกิริยาภินิปฺผาทิกา กุสลเจตนา, สา จ วนฺทเนยฺยวนฺทกานํ เขตฺตชฺฌาสยสมฺปทาหิ ทิฏฺฐธมฺมเวทนียภูตา ยถาลทฺธสมฺปตฺตินิมิตฺตกสฺส กมฺมสฺส อนุพลปฺปทานวเสน ตนฺนิพฺพตฺติตวิปากสนฺตติยา อนฺตรายกรานิ อุปปีฬกอุปจฺเฉทกกมฺมานิ ปฏิพาหิตฺวา ตนฺนิทานานํ ยถาธิปฺเปตสิทฺธิวิพนฺธกานํ โรคาทิอนฺตรายานมปฺปวตฺติํ สาเธติฯ ตสฺมา ปกรณารมฺเภ รตนตฺตยปณามกรณํ ยถารทฺธปกรณสฺส อนนฺตราเยน ปริสมาปนตฺถญฺเจว โสตูนญฺจ วนฺทนาปุพฺพงฺคมาย ปฏิปตฺติยา อนนฺตราเยน อุคฺคหณธารณาทิสํสิชฺฌนตฺถญฺจฯ
ตถา = ตํ วจนํ คำที่ข้าพเจ้ากล่าวมานั้น หิ = สจฺจํ  เป็นความจริง, สงฺคหกาเรหิ พระอรรถกถาจารย์ผู้รจนาคัมภีร์อรรถกถาท. วุตฺตํ กล่าว (อิทํ วจนํ) ข้อความนี้ อิติ ว่า ตสฺสานุภาเวน หตนฺตราโย เราผู้มีอันตราย อันอานุภาพแห่งห้วงบุญนั้นขจัดแล้ว ดังนี้. หิ นอกจากนี้ รตนตฺตยปณาโม การนอบน้อมพระรัตนตรัย กุสลเจตนา คือ กุศลเจตนา ปณามกิริยาภินิปฺผาทิกา ที่ทำให้กิริยาการนอบน้อมสำเร็จ, อนึ่ง  สา กุสลเจตนานั้น ทิฏฺฐธมฺมเวทนียภูตา เป็นกรรมชนิดพึงเสวยผลในปัจจุบันภพ (ทิฏฐเวทนียกรรม) เขตฺตชฺฌายสมฺปทาหิ เพราะถึงพร้อมด้วยเขต (เป็นที่เจริญงอกงามของห้วงบุญของผู้ต้องการบุญ) และด้วยอัชฌาสัย (ความปรารถนาหรือความเลื่อมใสอันยิ่ง) วนฺทเนยฺยวนฺทกานํ ของพระรัตนตรัยผู้ควรไหว้และพระอนุรุทธาจารย์ผู้ไหว้  ปฏิพาหิตฺวา ห้ามแล้ว อุปปีฬกอุปจฺเฉทกกมฺมานิ ซึ่งกรรมชนิดเบียดเบียน (อุปปีฬกกรรม) และกรรมชนิดตัดรอน (อุปัจเฉทกกรรม) อนฺตรายกรานิ อันจะทำอันตราย ตนฺนิพฺพตฺติตวิปากสนฺตติยา แก่ความสืบแห่งวิบากอันกรรมนั้นให้เกิดแล้ว อนุพลปฺปทานวเสน โดยการเพิ่มกำลัง กมฺมสฺส แก่กรรม ยถาลทฺธสมฺปตฺติ-นิมิตฺตกสฺส อันเป็นเหตุแห่งความบริบูรณ์ตามที่ได้แล้ว อปฺปวตฺติํ ยังความไม่เป็นไป โรคาทิอนฺตรายานํ แห่งอันตรายมีโรคเป็นต้น ยถาธิปฺเปตสิทฺธิวิพนฺธกานํ อันขัดขวางการสำเร็จประโยชน์ตามที่ประสงค์ ตนฺนิทานานํ อันมีกรรมสองประการนั้นเป็นต้นเหตุ  สาเธติ ย่อมให้สำเร็จ. ตสฺมา เพราะเหตุนั้น รตนตฺตยปณามกรณํ การทำการนอบน้อมพระรัตนตรัย ปกรณารมฺเภ ในคราวเริ่มปกรณ์ โหติ ย่อมมี ปริสมาปนตฺถํ เพื่อความลุล่วง ยถารทฺธปกรณสฺส แห่งปกรณ์ที่ท่านอาจารย์ปรารภไว้ เจว ด้วยนั่นเทียว อนนฺตราเยน โดยหาอันตรายมิได้, อุคฺคหณธารณาทิสํสิชฺฌนตฺถํ เพื่อความสำเร็จแห่งกิจมีการเรียนและทรงจำเป็นต้น  โสตูนํ แห่งศิษย์ท. ด้วย อนนฺตราเยน โดยหาอันตรายมิได้ ปฏิปตฺติยา เพราะการปฏิบัติคือเจตนาที่มีการนอบน้อมพระรัตนตรัย วนฺทนาปุพฺพงฺคมาย อันมีการไหว้เป็นประธาน แห่งพระอนุรุทธาจารย์และศิษย์ท.[๘]

อภิเธยฺยกถนํ ปน วิทิตาภิเธยฺยสฺเสว คนฺถสฺส วิญฺญูหิ อุคฺคหณาทิวเสน ปฏิปชฺชิตพฺพภาวโตฯ
ปน ส่วน อภิเธยฺยกถนํ การแสดงเนื้อความที่สังคหปกรณ์ (ปกรณ์รวบรวม) นี้จะพึงให้สำเร็จ  ปฏิปชฺชิตพฺพภาวโต เพราะความที่้ – คนฺถสฺส แห่งคัมภีร์ วิทิตาภิเธยฺยสฺส = ปากฏาภิเธยฺยสฺส เอว ที่มีเนื้อความอันปรากฏแล้วเท่านั้น วิญฺญูหิ อันวิญญูชนท. [๙] - พึงปฏิบัติ อุคฺคหณาทิวเสน ด้วยอำนาจการเรียนเป็นต้น. [๑๐]
กรณปฺปการปฺปโยชนสนฺทสฺสนานิ จ โสตุชนสมุสฺสาหชนนตฺถํฯ
อนึ่ง กรณปฺปการปฺปโยชนสนฺทสฺสนานิ [๑๑]ลักษณะการแต่งปกรณ์และการแสดงประโยชน์  โสตุชนสมุสฺสาหชนนตฺถํ เพื่อจะยังความขะมักเขม้นให้เกิดแก่ผู้ศึกษาท.

อภิธานกถนํ ปน โวหารสุขตฺถนฺติ อยเมตฺถ สมุทายตฺโถ
ปน ส่วน อภิธานกถนํ การกล่าวชื่อ โวหารสุขตฺถํ เพื่อสะดวกแก่การเรียก,  อยํ อตฺโถ ความหมายนี้ สมุทายตฺโถ เป็นความโดยรวม เอตฺถ ในคันถารัมภกถานี้ อิติ = เอวํ เป็นดังนี้.

อยํ ปน อวยวตฺโถ สสทฺธมฺมคณุตฺตมํ อตุลํ สมฺมาสมฺพุทฺธํ อภิวาทิย อภิธมฺมตฺถสงฺคหํ ภาสิสฺสนฺติ สมฺพนฺโธฯ
ปน ส่วน อยํ อวยวตฺโถ ความเรียง นี้ , สมฺพนฺโธ เชื่อมความ[๑๒] อิติ ว่า อหํ ข้าพเจ้า อภิวาทิย ถวายอภิวาทแล้ว สมฺมาสมฺพุทฺธํ ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อตุลํ ทรงมีพระคุณอันชั่งมิได้ สสทฺธมฺคณุตฺตมํ เป็นไปกับพระสัทธรรมและหมู่พระอริยสงฆ์สูงส่ง ภาสิสฺสํ จักแสดง อภิธมฺมตฺถสงฺคหํ ปกรณ์อภิธัมมัตถสังคหะ ดังนี้.

ตตฺถ สมฺมา สามญฺจ สพฺพธมฺเม อภิสมฺพุทฺโธติ สมฺมา สมฺพุทฺโธ, ภควาฯ โส หิ สงฺขตาสงฺขตเภทํ สกลมฺปิ ธมฺมชาตํ ยาถาวสรสลกฺขณปฏิเวธวเสน สมฺมา สยํ วิจิโตปจิตปารมิตาสมฺภูเตน สยมฺภูญาเณน สามํ พุชฺฌิ อญฺญาสิฯ ยถาห ‘‘สยํ อภิญฺญาย กมุทฺทิเสยฺย’’นฺติ,
วินิจฺฉโย วินิจฉัย ตตฺถ ในคาถานั้น เวทิตพฺพโพ อันบัณฑิตพึงทราบ อิติ = เอวํ อย่างนี้ว่า
ภควา พระผู้มีพระภาค อภิสมฺพุทฺโธ ทรงตรัสรู้ดียิ่ง สพฺพธมฺเม ซึ่งธรรมทั้งมวล สมฺมา โดยชอบ ด้วย สามํ จ ด้วยพระองค์เอง ด้วย อิติ เพราะเหตุนั้น ภควา พระผู้มีพระภาค สมฺมาสมฺพุทฺโธ ทรงพระนามว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า. หิ จริงอย่างนั้น โส ภควา พระผู้มีพระภาค พุชฺฌิ ทรงรู้แล้ว อญฺญาสิ คือ ทรงรู้ทั่วแล้ว ธมฺมชาตํ ซึ่งธรรมชาติ สกลมฺปิ แม้ทั้งสิ้น สงฺขตาสงฺขตเภทํ อันต่างโดยสังขตะและอสังขตะ สมฺมา โดยชอบ ยาถาวสรสลกฺขณปฏิเวธวเสน ด้วยสามารถแห่งการรู้ตลอดซึ่งลักษณะพร้อมทั้งกิจความเป็นจริง สามํ โดยพระองค์เอง สยมฺภูญาเณน พระสยัมภูญาณ (พระญาณอันสร้างความเป็นผู้รู้ด้วยพระองค์เอง) วิจิโตปจิตปารมิตาสมฺภูเตน อันเกิดแต่พระบารมีอันพระองค์ทรงค้นคว้าและสั่งสม สยํ ด้วยพระองค์เอง. ยถา สมดัง ภควา ที่พระผู้มีพระภาค อาห ตรัสไว้ อิติ ว่า สยํ อภิญฺญาย กมุทฺทิเสยฺยํ เรารู้ยิ่งด้วยตนเองแล้ว  จะพึงแสดงอ้างเอาใครเล่า  (ว่าเป็นอาจารย์) ดังนี้.

อถ วา พุธธาตุสฺส ชาครณวิกสนตฺเถสุปิ ปวตฺตนโต สมฺมา สามญฺจ ปฏิพุทฺโธ อนญฺญปฏิโพธิโต หุตฺวา สยเมว สวาสนสมฺโมหนิทฺทาย อจฺจนฺตํ วิคโต, ทินกรกิรณสมาคเมน ปรมรุจิรสิริโสภคฺคปฺปตฺติยา วิกสิตมิว ปทุมํ อคฺคมคฺคญาณสมาคเมน อปริมิตคุณคณาลงฺกตสพฺพญฺญุตญฺญาณปฺปตฺติยา สมฺมา สยเมว วิกสิโต วิกาสมนุปฺปตฺโตตฺยตฺโถฯ
อถวา = อปโร นโย อีกอย่างหนึ่ง ปวตฺตนโต เพราะ – พุธธาตุสฺส พุธธาตุ – เป็นไป ชาครณวิกสนตฺเถสุปิ แม้ในอรรถว่า ตื่น และเบิกบาน  อตฺโถ ความหมาย สมฺมาสมฺพุทฺธสทฺทสฺส ของศัพท์คือสมฺมาสมฺพุทฺธ อิติ คือ ภควา พระผู้พระภาค ปฎิพุทฺโธ ทรงตื่นแล้ว สมฺมา โดยชอบ สามํ ด้วยพระองค์เอง = เอว เท่านั้น,หมายความว่า ภควา พระผู้มีพระภาค อนญฺญปฏิโพธิโต  หุตฺวา (เมื่อ) มิได้ทรงเป็นผู้อันใครๆปลุกให้ตื่นแล้ว  วิคโต จึงทรงปราศจาก สวาสนสมฺโมหนิทฺทาย จากความหลับคือความลุ่มหลงพร้อมทั้งวาสนา อจฺจนฺตํ อย่างเด็ดขาด สยํ ด้วยพระองค์เอง เอว นั่นเทียว.  (ภควา) พระผู้มีพระภาค วิกสิโต ทรงเป็นผู้เบิกบานแล้ว วิกาสนํ อนุปฺปตฺโต หมายความว่า ทรงถึงแล้ว ซึ่งความเบิกบาน สมฺมา โดยชอบ สยํ เอว ด้วยพระองค์เองนั่นเทียว  อปริมิตคุณคณาลงฺกตสพฺพญฺญุตญฺญาณปฺปตฺติยา โดยบรรลุพระสัพพัญญุตญาณอันประดับด้วยจำนวนคุณนับไม่ถ้วน อคฺคมคฺคญาณสมาคเมน เพราะการประชุมกับมรรคญาณอันเลิศ  อิว ดุจ ปทุมํดอกประทุม วิกสิตํ อันคลี่บานเต็มที่แล้ว ปรมรุจิรสิริโสภคฺคปฺปตฺติยา โดยถึงความงามเลิศคือสิริที่รุ่งเรืองยิ่งนัก  ทินกรกิรณสมาคเมน เพราะการประจวบกับรัศมีแห่งทินกร.

ยถาวุตฺตวจนตฺถโยเคปิ สมฺมาสมฺพุทฺธสทฺทสฺส ภควติ สมญฺญาวเสน ปวตฺตตฺตา ‘‘อตุล’’นฺติ อิมินา วิเสเสติฯ ตุลาย สมฺมิโต ตุลฺโย, โสเยว ตุโล ยการโลปวเสนฯ
ยถาวุตฺตวจนตฺถโยเคปิ แม้เมื่อการประกอบสัมมาสัมพุทธศัพท์กับด้วยอรรถแห่งศัพท์ตามที่กล่าวแล้ว สติ มีอยู่,  อนรุทฺธาจริโย พระอนุรุทธาจารย์ (ภควนฺตํ) ยังพระผู้มีพระภาค  วิเสเสติ ย่อมให้พิเศษ อิมินา ปเทน ด้วยบทนี้ อิติ ว่า อตุลํ ไม่มีผู้เปรียบปานด้วยปัญญา ปวตฺตตฺตา เพราะความที่ – สมฺมาสมฺพุทฺธสทฺทสฺส สัมมาสัมพุทธศัพท์ – เป็นไปใน ภควติ พระผู้มีพระภาคเจ้า สมญฺญาวเสน โดยเป็นพระนาม[๑๓]. วิคฺคโห รูปวิเคราะห์ อตุลสทฺทสฺส แห่งอตุลศัพท์ อันบัณฑิตพึงทราบ. ปุคฺคโล บุคคล (อญฺเญหิ ปุคฺคเลหิ) อันบุคคลท.เหล่าอื่น สมฺมิโต วัดให้เสมอกันแล้ว ตุลาย = ตุลาภูตาย ปญฺญาย ด้วยปัญญาพิจารณา ตุลฺโย ชื่อว่า ตุลยะ[๑๔], โส ตุลฺโย ตุลยะ เอว นั่นเอง อาจริเยน อันอาจารย์ วุตฺโต กล่าวแล้ว ตุโล (อิติ) ว่า ตุล ยการโลปวเสน โดยเกี่ยวกับการลบยอักษร.

อถ วา สมฺมิตตฺเถ อการปจฺจยวเสน ตุลาย สมฺมิโต ตุโล, น ตุโล อตุโล, สีลาทีหิ คุเณหิ เกนจิ อสทิโส, นตฺถิ เอตสฺส วา ตุโล สทิโสติ อตุโล สเทวเก โลเก อคฺคปุคฺคลภาวโตฯ ยถาห ‘‘ยาวตา, ภิกฺขเว, สตฺตา อปทา วา ทฺวิปทา วา จตุปฺปทา วาเป.ตถาคโต เตสํ อคฺคมกฺขายตี’’ติอาทิฯ
อถวา อีกนัยหนึ่ง (วจนํ) คำ (อิติ) ว่า ปุคฺคโล บุคคล สมฺมิโต ผู้เสมอแล้ว ตุลาย ด้วยคุณที่เสมอกัน ตุโล ชื่อว่า ตุละ (อาจริเยน) อันอาจารย์ (วุตฺตํ) กล่าวแล้ว อการปจฺจยวเสน โดยเนื่องด้วยอปัจจัย สมฺมิตตฺเถ ในความหมายว่า “สมฺมิต” (เสมอ). อยํ ภควา พระผู้มีพระภาคนี้ น ตุโล ไม่ใช่ตุละ อสทิโส คือ ไม่เหมือนกัน เกนจิ ปุคฺคเลน กับใครๆ (ถึงจะไม่กี่คน) คุเณหิ ด้วยคุณท. สีลาทีหิ มีศีลเป็นต้น อิติ เพราะเหตุนั้น โส ภควา พระผู้มีพระภาค อตุโล ชื่อว่า อตุละ, วา อีกนัยหนึ่ง อคฺคปุคฺคลภาวโต เพราะทรงเป็นอัครบุคคล โลเก ในมนุษยโลก สเทวเก อันเป็นไปกับเทวโลก ตุโล ตุละ สทิโส คือ ผู้เสมอกัน เอตตสฺส ของผู้มีพระภาคนี้ นตฺถิ ย่อมไม่มี อิติ เพราะเหตุนั้น โส ภควา พระผู้มีพระภาคนั้น อตุโล ทรงพระนามว่า อตุละ (มีผู้เสมอกันหามิได้). ภควา พระผู้มีพระภาค อาห ตรัสแล้ว (นิทสฺสนํ) ซึ่งตัวอย่าง ยถา = ยถากึ เป็นประการไร, ภควา พระผู้มีพระภาค อาห ตรัสแล้ว (องฺคุตฺตรนิกาเย) ในอังคุตรนิกาย (จตุกกนิปาเต) ในจตุกกนิบาต อิติอาทิ เป็นต้นว่า ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุท. สตฺตา สัตว์ท. อปทา วา ไม่มีเท้า หรือ, ทิปทา วา หรือว่า มีสองเท้า, จตุปฺปทา วา หรือ มีสี่เท้า ยาวตา มีประมาณเท่าใด สนฺติ มีอยู่  ตถาคโต พระตถาคตเจ้า ปณฺฑิเตน อันบัณฑิต อกฺขายติ ย่อมขนานพระนามว่า อคฺโค[๑๕] เป็นเลิศ เตสํ สตฺตานํ[๑๖] กว่าสัตว์ท.เหล่านั้น ดังนี้.
เอตฺตาวตา จ เหตุผลสตฺตูปการสมฺปทาวเสน ตีหากาเรหิ ภควโต โถมนา กตา โหติฯ
ก็ โถมนาการสดุดี ภควโต แด่พระผู้มีพระภาค อนุรุทฺธาจริเยน อันพระอนุรุทธาจารย์ กโต กระทำแล้ว ตีหากาเรหิ = ตีหิ คุณโกฏฺฐาเสหิ ด้วยส่วนแห่งพระคุณท. ๓ เหตุผลสตฺตูปการสมฺปทาวเสน คือ เหตุสัมปทา (ความสมบูรณ์คือเหตุ) ผลสัมปทา  (ความสมบูรณ์คือผล) และสัตตูปการสัมปทา (ความสมบูรณ์คือการทำประโยชน์เกื้อกูลแก่เวไนยะ)[๑๗]. เอตฺตาวตา = สมฺมาสมฺพุทธมตุลํ อิติ ปททฺวเยน ด้วยคำมีประมาณเพียงนี้ คือ ด้วยสองบทนี้ว่า สมฺมาสมฺพุทฺธํ และ อตุลํ.

ตตฺถ เหตุสมฺปทา นาม มหากรุณาสมาโยโค โพธิสมฺภารสมฺภรณญฺจ
มหากรุณาสมาโยโค การประกอบในพระมหากรุณา ด้วย[๑๘] โพธิสมฺภารสมฺภรณํ จ และการสั่งสมธรรมที่บ่มพระโพธิญาณคือมรรคญาณอันเป็นเหตุแห่งพระสัพพญุตญาณ[๑๙] เหตุสมฺปทา นาม ชื่อว่า เหตุสัมปทา ตตฺถ = ตาสุ ตีสุ สมฺปทาสุ บรรดาส่วนแห่งพระคุณท. ๓ เหล่านั้น (ตมฺมูลิกตฺตา เพราะ –สกลพุทฺธคุณานํ พระพุทธคุณทั้งสิ้น - มีพระมหากรุณาและธรรมที่บ่มพระโพธิญาณนั้นเป็นมูลเหตุ).

ผลสมฺปทา ปน ญาณปหานอานุภาวรูปกายสมฺปทาวเสน จตุพฺพิธาฯ ตตฺถ สพฺพญฺญุตญฺญาณปทฏฺฐานํ มคฺคญาณํ, ตมฺมูลกานิ จ ทสพลาทิญาณานิ ญาณสมฺปทาฯ สวาสนสกลสํกิเลสานมจฺจนฺตมนุปฺปาทธมฺมตาปาทนํ ปหานสมฺปทาฯ ยถิจฺฉิตนิปฺผาทเน อาธิปจฺจํ อานุภาวสมฺปทาฯ สกลโลกนยนาภิเสกภูตา ปน ลกฺขณานุพฺยญฺชนปฺปฏิมณฺฑิตา อตฺตภาวสมฺปตฺติ รูปกายสมฺปทา นามฯ
ปน ส่วน ผลสมฺปทา ความบริบูรณ์คือผล จตุพฺพิธา มี ๔ ประการ ญาณปหานอานุภาวรูปกายสมฺปทา-วเสน คือ ญาณสัมปทา ปหานสัมปทา อานุภาวสัมปทา และรูปกายสัมปทา. ตตฺถ =ตาสุ  จตูสุ  ญาณสมฺปทา-ทีสุ  บรรดาผลสัมปทา ๔ มีญาณสัมปทาเป็นต้นเหล่านั้น มคฺคญาณํ มรรคญาณ สพฺพญฺญุตญฺญาณปทฏฺฐานํ อันเป็นเหตุสำคัญของพระสัพพัญญุตญาณ ด้วย, และ ทสพลาทิญาณานิ พระญาณมีทสพลญาณเป็นต้น ตมฺมูลิกานิ อันมีพระสัพพัญญุตญาณนั้นเป็นมูลเหตุ ญาณสมฺปทา ชื่อว่า ญาณสัมปทา ความสมบูรณ์คือปัญญา.  สวาสนสกลสํกิเลสานมจฺจนฺตมนุปฺปาทธมฺมตาปาทนํ การทำกิเลสทั้งสิ้นพร้อมทั้งวาสนา[๒๐]ให้ถึงการไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนเป็นธรรมดา (อคฺคมคฺคภาวนาย) ด้วยการทำให้อรหัตมรรคเกิดขึ้น ปหานสมฺปทา ชื่อว่า ปหานสัมปทา ความสมบูรณ์คือการละกิเลสฯ อาธิปจฺจํ ความเป็นใหญ่ ยถิจฺฉิตนิปฺผาทเน ในการทำให้สิ่งตามที่ทรงพระประสงค์ให้สำเร็จ อานุภาวสมฺปทา นาม ชื่อว่า อานุภาวสัมปทา ความสมบูรณ์คืออานุภาพ. ปน แต่ อตฺตภาวสมฺปตฺติ ความสมบูรณ์แห่งพระสรีรร่างกาย ลกฺขณานุพฺยญฺชนปฺปฏิมณฺฑิตา ที่มีพระลักษณะและอนุพยัญชนะประดับไว้ สกลโลกนยนาภิเสกภูตา เป็นที่ดึงดูดซึ่งนัยน์ตาของชาวโลกทั้งสิ้น[๒๑] รูปกายสมฺปทา นาม ชื่อว่า รูปกายสัมปทา ความสมบูรณ์คือรูปกาย.

สตฺตูปกาโร ปน อาสยปโยควเสน ทุวิโธฯ ตตฺถ เทวทตฺตาทีสุ วิโรธิสตฺเตสุปิ นิจฺจํ หิตชฺฌาสยตา,  อปริ-ปากคตินฺทฺริยานํ อินฺทฺริยปริปากกาลาคมนญฺจ อาสโย นามฯ ตทญฺญสตฺตานํ ปน ลาภสกฺการาทินิร-เปกฺขจิตฺตสฺส ยานตฺตยมุเขน สพฺพทุกฺขนิยฺยานิกธมฺมเทสนา ปโยโค นามฯ
ปน ส่วน สตฺตูปกาโร การทำประโยชน์เกื้อกูลต่อเวไนยะ ทุวิโธ มี ๒ ประการ อาสยปโยควเสน คือ อาสยะและปโยคะ. ตตฺถ บรรดาสัตตูปการะสองประการนั้น, หิตชฺฌาสยตา ความมีพระอัธยาศัย (ปรารถนา) เพื่อประโยชน์เกื้อกูล นิจฺจํ เป็นนิตย์ วิโรธิสตฺเตสุปิ แม้ในบุคคลผู้เป็นศัตรูท. เทวทตฺตาทีสุ มีพระเทวทัตเป็นต้น, และ อินฺทฺริยปริปากกาลาคมนํ การรอเวลาที่สุกงอมแห่งปัญญินทรีย์ อปริปากคตินฺทฺริยานํ แห่งบุคคลผุ้มีปัญญินทรีย์ไม่ถึงความสุกงอม อาสโย นาม ชื่อว่า อาสยะ ความปรารถนา[๒๒]. ปน แต่ว่า สพฺพทุกฺขนิยฺยานิกธมฺมเทสนา การแสดงวิมุตติธรรมอันนำออกจากทุกข์ทั้งปวง ลาภสกฺการาทินิรเปกฺขจิตฺตสฺส (ภควโต) ของพระผู้มีพระภาคที่ทรงมีพระหทัยปราศจากการเล็งถึงธรรมมีลาภและสักการะเป็นต้น ยานตฺตยมุเขน โดยอุบายให้ถึงพระนิพพาน ๓ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้นเป็นประธาน[๒๓] ตทญฺญสตฺตานํ แก่บุคคลผู้เป็นอีกฝ่ายหนึ่งจากศัตรูของพระองค์ ปโยโค นาม ชื่อว่า ปโยคะ การประกอบ.[๒๔]

ตตฺถ ปุริมา ทฺเว ผลสมฺปทา ‘‘สมฺมาสมฺพุทฺธ’’นฺติ อิมินา ทสฺสิตา,อิตรา ปน ทฺเว, ตถา สตฺตูปการสมฺปทา จ    ‘‘อตุล’’นฺติ   เอเตน,   ตทุปายภูตา  ปน เหตุสมฺปทา ทฺวีหิปิ สามตฺถิยโต ทสฺสิตา ตถาวิธเหตุพฺยติเรเกน ตทุภยสมฺปตฺตีนมสมฺภวโต, อเหตุกตฺเต จ สพฺพตฺถ ตาสํ สมฺภวปฺปสงฺคโตฯ
ตตฺถ = ตาสุ ตีสุ สมฺปทาสุ บรรดาสัมปทา ๓ เหล่านั้น, ผลสมฺปทา ผลสัมปทา เทฺว สองประการ ปุริมา ข้างต้น (ญาณสัมปทาและปหานสัมปทา) ทสฺสิตา อันพระอนุรุทธาจารย์ แสดงไว้ อิมินา ด้วยคำนี้ อิติ ว่า สมฺมาสมฺพุทฺธํ ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. ปน แต่ ผลสมฺปทา ผลสัมปทา เทฺว สองอย่าง อิตรา นอกนี้, และ สัตตูปการสัมปทา เทฺวตถา เช่นกัน ทสฺสิตา อันพระอนุรุทธาจารย์ แสดงแล้ว เอเตน ด้วยคำนี้ อิติ ว่ อตุลํ ไม่มีผู้เสมอเหมือน, ปน ส่วน เหตุสมฺปทา เหตุสัมปทา ตทุปายภูตา อันเป็นหนทางแห่งสัมปทาสองที่เหลือนั้น ทสฺสิตา อันพระอนุรุทธาจารย์ แสดงแล้ว ทฺวีหิปิ แม้ด้วยบททั้งสอง สามตฺถิยโต โดยความสามารถของบท อสมฺภวโต เพราะความไม่มี ตทุภยสมฺปตฺตีนํ แห่งความบริบูรณ์ทั้งสองนั้น ตถาวิธเหตุพฺยติเรเกน โดยเว้นเหตุอันมีประการเช่นนั้น, และ สมฺภวปฺปสงฺคโต เพราะ - อเหตุกตฺเต เมื่อความไม่มีเหตุ  ตทุภยสมฺปทานํ ของสัมปทาสองเหล่านั้น สนฺเต มีอยู่ - ตาสํ ผลสัมปทาและสัตตูปการสัมปทาเหล่านั้น - จะถึงความเป็นไป สพฺพตฺถ ในบุคคลทั้งปวง .

ตเทวํ ติวิธาวตฺถาสงฺคหิตโถมนาปุพฺพงฺคมํ พุทฺธรตนํ วนฺทิตฺวา อิทานิ เสสรตนานมฺปิ ปณามมารภนฺโต อาห ‘‘สสทฺธมฺมคณุตฺตม’’นฺติฯ คุณีภูตานมฺปิ หิ ธมฺมสํฆานํ อภิวาเทตพฺพภาโว สหโยเคน วิญฺญายติ ยถา ‘‘สปุตฺตทาโร อาคโตติ ปุตฺตทารสฺสาปิ อาคมน’’นฺติฯ

อาจริโย พระอนุรุทธาจารย์ วนฺทิตฺวา ครั้นไหว้แล้ว พุทฺธรตนํ ซึ่งพระพุทธรัตนะ ติวิธาวตฺถาสงฺคหิต-โถมนาปุพฺพงฺคมํ โดยการสดุดีอันสงเคราะห์แล้วด้วยข้อกำหนดสามประการเป็นประธาน ตํ นั้น[๒๕]  เอวํ =   อิมินา สมฺมาสมฺพุทฺธมตุลนฺติ ปททฺวเยน ด้วยสองบทนี้คือ “ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีผู้เสมอพระองค์หามิได้” แล้ว อิทานิ บัดนี้ อารภนฺโต = กโรนฺโต เมื่อกระทำ ปณามํ ซึ่งการนอบน้อม เสสรตนานํ อปิ แม้ต่อพระรัตนะที่เหลือท. อาห จึงกล่าวแล้ว อิติ ว่า สสทฺธมฺมคณุตฺตมํ ทรงเป็นไปพร้อมทั้งพระสัทธรรมและหมู่แห่งพระอริยะสูงส่ง ดังนี้ไว้. หิ แท้จริง  อภิวาเทตพฺพภาโว ความที่ - ธมฺมสํฆานํ แห่งพระธรรมและพระสงฆ์  คุณีภูตานมฺปิ  แม้เป็นศัพท์ขยายความ (ภควโต ของพระผู้มีพระภาค) -  ก็เป็นผู้ควรกราบไหว้  ปณฺฑิเตน บัณฑิต วิญฺญายติ ย่อมทราบได้ สหโยเคนโดยประกอบ  สห  ศัพท์ไว้ ยถา  เปรียบเหมือน วจเน เมื่อคำ  ชเนน อันชน วุตฺเต กล่าวแล้ว อิติ ว่า (ปิตโร บิดา)  สปุตฺตทาโร พร้อมทั้งบุตรและภรรยา อาคโต มา ดังนี้ อาคมนํ การมา ปุตฺตทารสฺส แห่งบุตรและภรรยา อญฺเญน อันชนอื่น วิญฺญายติ ย่อมทราบ สหโยเคน โดยประกอบ สห  ศัพท์ไว้ ดังนี้ ฯ

ตตฺถ อตฺตานํ ธาเรนฺเต จตูสุ อปาเยสุ, วฏฺฏทุกฺเขสุ จ อปตมาเน กตฺวา ธาเรตีติ ธมฺโม, จตุมคฺคผลนิพฺพานวเสน นววิโธ, ปริยตฺติยา สห ทสวิโธ วา ธมฺโมฯ ธารณญฺจ ปเนตสฺส อปายาทินิพฺพตฺตกกิเลสวิทฺธํสนํ, ตํ อริยมคฺคสฺส กิเลสสมุจฺเฉทกภาวโต, นิพฺพานสฺส จ อารมฺมณภาเวน ตสฺส ตทตฺถสิทฺธิเหตุตาย นิปฺปริยายโต ลพฺภติ, ผลสฺส ปน กิเลสานํ ปฏิปฺปสฺสมฺภนวเสน มคฺคานุกูลปฺปวตฺติโต, ปริยตฺติยา จ ตทธิคมเหตุตายาติ อุภินฺนมฺปิ ปริยายโตติ ทฏฺฐพฺพํ.
อตฺโถ ความหมาย ตตฺถ = สสทฺธมฺมคณุตฺตํ อิติ ปเท  ในบท อิติ ว่า สสทฺธมฺมคณุตฺตมํ พร้อมทั้งพระสัทธรรมและหมู่พระอริยะสูงส่ง ปณฺฑิเตน อันบัณฑิต เวทิตพฺโพ พึงทราบ,  โย สภาโว สภาพใด ธาเรติ ย่อมทรงไว้ กตฺวา กระทำ ปุคฺคเล ซึ่งบุคคล ธาเรนฺเต ผู้ทรงไว้ อตฺตานํ ซึ่งตน อปตมาเน ไม่ให้ตกไป อปาเยสุ ในอบาย จตูสุ, จ และ วฏฺฏทุกฺเขสุ ในวัฏฏทุกข์ อิติ เพราะเหตุนั้น โส สภาโว สภาพนั้น ธมฺโม ชื่อว่า ธรรม, ธมฺโม พระธรรม นววิโธ มี ๙ อย่าง จตุมคฺคผลนิพฺพานวเสน คือ มรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน (๑), วา หรือ ทสวิโธ มี ๑๐ อย่าง สห พร้อม ปริยตฺติยา กับพระปริยัติ. จ ปน อนึ่ง ธารณํ การทรงไว้ เอตสฺส ของพระธรรม อปายาทินิพฺพตฺตกกิเลสวิทฺธํสนํ คือ การทำลายกิเลสที่ทำให้เกิดในอบายเป็นต้น, ตํ กิเลสวิทฺธํสนํ การทำลายกิเลส (อุภินฺนํ) ของธรรมทั้งสอง (อริยมคฺคสฺส จ นิพฺพานสฺส จ) คือ อริยมรรค และพระนิพพาน ลพฺภติ อันบัณฑิต ย่อมได้ นิปฺปริยายโต โดยตรง  กิเลสสมุจฺเฉทกภาวโต เพราะความที่ - อริยมคฺคสฺส อริยมรรค เป็นธรรมที่ตัดกิเลสได้เด็ดขาด, และ ตทตฺถสิทฺธิเหตุตาย เพราะความที่ - นิพฺพานสฺส พระนิพพาน เป็นเหตุการสำเร็จกิจคือการทำลายกิเลสนั้น ตสฺส ของมรรคนั้น อารมฺมณภาเวน เพราะความเป็นอารมณ์, ปน ส่วน (กิเลสวิทฺธํสนํ) อุภินฺนมฺปิ (ผลปริยตฺตีนํ) แห่งผลและพระปริยัติธรรมแม้ทั้งสอง  อิติ ทฏฺฐพฺพํ อันบัณฑิตควรทราบว่า (กิเลสวิทฺธํสนํ) การทำลายกิเลส (อุภินฺนํ) แห่งผลและปริยัติธรรมทั้งสอง   (ลพฺภติ) ย่อมได้ ปริยายโต โดยอ้อม อิติ อย่างนี้ คือ (กิเลสวิทฺธํสนํ) การทำลายกิเลส ผลสฺส แห่งผล มคฺคานุกูลปฺปวตฺติโต โดยความเป็นไปตามควรแห่งมรรค ปฏิปฺปสฺสมฺภนเสน โดยเนื่องด้วยกิจคือความสงบระงับไป กิเลสานํ แห่งกิเลสทั้งหลาย (มคฺเคน สมุจฺฉินฺนานํ) อันมรรค ละได้เด็ดขาดแล้ว, กิเลสวิทฺธํสนํ การทำลายกิเลส ปริยตฺติยา แห่งพระปริยัติธรรม ตทธิคมเหตุตาย เพราะความเป็นเหตุแห่งการบรรลุมรรค ผล และนิพพานนั้น.

สตํ สปฺปุริสานํ อริยปุคฺคลานํ,  สนฺโต วา สํวิชฺชมาโน น ติตฺถิยปริกปฺปิโต อตฺตา วิย ปรมตฺถโต อวิชฺชมาโน สนฺโต วา ปสตฺโถ สฺวากฺขาตตาทิคุณโยคโต น พาหิรกธมฺโม วิย เอกนฺตนินฺทิโต ธมฺโมติ สทฺธมฺโม, คโณ จ โส อฏฺฐนฺนํ อริยปุคฺคลานํ สมูหภาวโต อุตฺตโม จ สุปฺปฏิปนฺนตาทิคุณวิเสสโยคโต, คณานํ, คเณสุ วา เทวมนุสฺสาทิสมูเหสุ อุตฺตโม ยถาวุตฺตคุณวเสนาติ คณุตฺตโม, สห สทฺธมฺเมน, คณุตฺตเมน จาติ สสทฺธมฺมคณุตฺตโม, ตํ สสทฺธมฺมคณุตฺตมํ
โย ธมฺโม ธรรมใด สตํ ของท่านผู้สงบ สปฺปุริสานํ คือสัปบุรุษทั้งหลาย อริยปุคฺคลานํ ได้แก่ พระอริยบุคคลทั้งหลาย, วา หรือ สนฺโต เป็นธรรมที่มีอยู่ สํวิชฺชมาโน ปรากฏอยู่ น อตฺตา วิย ไม่เหมือนอัตตา  ติตฺถิยปริกปฺปิโต ที่พวกเดียรถีย์คิดนึก อวิชฺชมาโน ซึ่งไม่มีอยู่ ปรมตฺถโต โดยปรมัตถ์ วา หรือ สนฺโต อันบัณฑิตยกย่อง ปสตฺโถ คือ สรรเสริญแล้ว สฺวากฺขาตตาทิคุณโยคโต เพราะประกอบด้วยคุณมีความเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วเป็นต้น น เอกนฺตนินฺทิโต ไม่ใช่เป็นธรรมที่ถูกติเตียนโดยส่วนเดียว  พาหิรกธมฺโม วิย เหมือนธรรมของลัทธิภายนอก อิติ เพราะเหตุนั้น โส ธมฺโม ธรรมนั้น สทฺธมฺโม ชื่อว่า สัทธรรม.
อนึ่ง โส คโณ คณะนั้น  คโณ ชื่อว่าหมู่  สมูหภาวโต เพราะเป็นที่ชุมนุม อริยปุคฺคลานํ แห่งพระอริยบุคคลทั้งหลาย อฏฺฐนฺนํ แปดบุคคล อุตฺตโม จ และชื่อว่าสูงสุด  สุปฺปฏิปนฺนตาทิคุณวิเสสโยคโต เพราะประกอบด้วยคุณอันพิเศษ  มีความเป็นหมู่ที่ปฏิบัติดีแล้วเป็นต้น, วา   อีกอย่างหนึ่ง อุตฺตโม ชื่อว่าสูงสุด คณานํ กว่าคณะทั้งหลาย วา หรือ คเณสุ ในคณะทั้งหลาย  เทวมนุสฺสาทิสมูเหสุ คือในหมู่แห่งเทวดาและมนุษย์เป็นต้น ยถาวุตฺตคุณวเสน โดยเนื่องด้วยคุณตามที่กล่าวแล้วนั่นแล อิติ  เพราะเหตุนั้น โส คโณ คณะนั้น  จึงชื่อว่า คณุตฺตโม หมู่แห่งพระอริยสงฆ์อันสูงส่ง. ภควา พระผู้มีพระภาค วตฺตติ ทรงเป็นไป สห พร้อม สทฺธมฺเมน ด้วยพระสัทธรรม คณุตฺตเมน จ และคณะสงฆ์อันสูงสุด อิติ เพราะเหตุนั้น สสทฺธมฺมคณุตฺตโม จึงทรงพระนามว่า  สสัทธัมมคณุตตมะ, (อภิวาทิย ขอถวายอภิวาท) ตํ สสทฺธมฺมคณุตฺตมํ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น  พร้อมทั้งพระสัทธรรมและหมู่แห่งพระอริยสงฆ์อันสูงสุด ฯ  

อภิวาทิยาติ วิเสสโต วนฺทิตฺวา, ภยลาภกุลาจาราทิวิรเหน สกฺกจฺจํ อาทเรน กายวจีมโนทฺวาเรหิ  วนฺทิตฺวาตฺยตฺโถฯ ภาสิสฺสนฺติ กเถสฺสามิฯ
อตฺโถ ความหมาย อิติ ว่า ถวายบังคมแล้วโดยพิเศษ ปทสฺส ของบท อิติ ว่า อภิวาทิย  อภิวาทิย ดังนี้.  อตฺโถ หมายความ อิติ ว่า วนฺทิตฺวา ถวายบังคม กายวจีมโนทฺวาเรหิ ด้วยกายทวาร วจีทวาร  และมโนทวาร สกฺกจฺจํ โดยเคารพ  อาทเรน คือโดยเอื้อเฟื้อ ภยลาภกุลาจาราทิวิรเหน โดยปราศจากความกลัว ลาภ ตระกูล  และอาจาระเป็นต้น ดังนี้. อตฺโถ ความหมาย อิติ ว่า กเถสฺสามิ จักกล่าว ดังนี้ ปทสฺส แห่งบท อิติ ว่า  ภาสิสฺสํ  จักกล่าว ดังนี้.

นิพฺพตฺติตปรมตฺถภาเวน อภิ วิสิฏฺฐา ธมฺมา เอตฺถาติอาทินา อภิธมฺโม, ธมฺมสงฺคณีอาทิสตฺตปกรณํ อภิธมฺมปิฏกํ, ตตฺถ วุตฺตา อตฺถา อภิธมฺมตฺถา, เต สงฺคยฺหนฺติ เอตฺถ, เอเตนาติ วา อภิธมฺมตฺถสงฺคหํ
อภิธมฺมปิฎกํ พระอภิธรรมปิฎก  สตฺตปกรณํ ๗ ปกรณ์ ธมฺมสงฺคณีอาทิ มีธัมมสังคณีเป็นต้น  อภิธมฺโม นาม ชื่อว่า อภิธรรม  วิคฺคเหน เพราะวิเคราะห์ อิติอาทินา มีนัยเป็นต้นว่า  ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย อภิ = วิสิฏฺฐาอันพิเศษ นิพฺพตฺติตปรมตฺถภาเวน โดยความเป็นปรมัตถ์ที่ทรงแสดงแยก (วิสุํ เป็นอีกแผนกหนึ่ง สมฺมุติโต จากสมมุติ) ภควตา อันพระผู้มีพระภาค วุตฺตา ตรัสแล้ว เอตฺถ ปิฏเก ในปิฎกนี้ ดังนี้.  อตฺถา อรรถทั้งหลาย ภควตา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า วุตฺตา ตรัสแล้ว ตตฺถ ในพระอภิธรรมนั้น  อภิธมฺมตฺถา ชื่อว่า อภิธัมมัตถะฯ  เต อภิธมฺมตฺถา อรรถในพระอภิธรรม อันพระอนุรุทธาจารย์ สงฺคยฺหนฺติ ย่อมรวบรวม เอเตน ด้วยปกรณ์นี้ เอตฺถ วา หรือ ในปกรณ์นี้ อิติ เพราะเหตุนั้น ตํ ปกรณํ ปกรณ์นั้น อภิธมฺมตฺถสงฺคหํ ชื่อว่า อภิธัมมัตถสังคหะ  ปกรณ์เครื่องรวบรวม หรือ เป็นที่รวบรวมอรรถพระอภิธรรมฯ

อธิบายกถาเริ่มพระคัมภีร์ จบ




[๑] สมุทิต ศัพท์นี้หมายถึง ปกรณ์ที่เป็นไปกับด้วยส่วนต่างๆ (สํ + อุ + อิ ไป + ต ในอรรถกัตตา) แต่นิยมแปลว่า หมู่ หรือ กลุ่ม ในที่นี้แปลโดยโวหารัตถะว่า สังคหปกรณ์คือปกรณ์รวบรวม เพราะเป็นปกรณ์ที่เป็นไปกับส่วนประกอบคืออรรถอภิธรรม.
[๒] มณิ.ให้คำแปลไว้อีกสองนัย คือ โดยความเป็นสาระที่พึงให้รู้ เพราะอาศัยปริภาสาว่า ธรรมมีอรรถว่า ถึง ว่า ไป ให้มีอรรถว่า รู้ด้วย ดัง ปท ธาตุมีอรรถว่า คติ ถึง,ไป ดังนั้น เนื้อความของพระอภิธรรมจึงเป็นสิ่งที่ปกรณ์นี้พึงให้รู้.  ส่วนนัยที่ ๓ คือ โดยความเป็นสาระที่ควรกล่าว  ปท ธาตุ ที่มี ปติ เป็นบทหน้า มีอรรถว่า วจน กล่าว โดยอ้างคัมภีร์ฎีกาขุททสิกขาว่า  อภิเธยฺโย จ นาเมส สมุทิเตน สตฺเถน วจนียตฺโถ ธรรมดาว่า อรรถที่พึงแสดง คือ อรรถที่คัมภีร์นั้น พึงกล่าวนั่นเอง.
[๓] ชื่อปกรณ์ว่า อภิธัมมัตถสังคหะ นี้แสดงสารัตถะในพระอภิธรรมของปกรณ์นี้ที่พระอนุรุทธาจารย์จะพึงแต่งขึ้นว่า เป็นปกรณ์ที่ประมวลและเรียบเรียงสารัตถะที่ทรงแสดงไว้อย่างพิสดารซึ่งกระจัดกระจายในอภิธรรมปิฎกทั้งเจ็ดปกรณ์มาจัดให้เป็นหมวดหมู่.
[๔] ชื่อปกรณ์ว่า อภิธัมมัตสังคหะ สื่อให้เห็นถึงแนวทางการนำเสนอเนื้อหาของพระอนุรุทธาจารย์ ว่า เป็นปกรณ์ที่ย่อรวมอรรถพระอภิธรรมที่ตรัสไว้อย่างกว้างขวางไปด้วยนัยต่างๆในพระอภิธรรมปิฎกทั้ง ๗ ปกรณ์ ไว้ในปกรณ์อภิธัมมัตถสังคหะนี้เพียงแห่งเดียว.  อาการ ศัพท์ ในที่นี้มีอรรถลกฺขณ คือ เป็นเครื่องสังเกตวิธีการแสดงเนื้อความของปกรณ์นี้.
[๕] ธรรมดาว่า ชื่อ มี ๒ คือ รุฬหีนาม หมายถึง ชื่อที่ไม่สอดคล้องกับความหมายที่เป็นจริงและ อนวัตถนาม ชื่อที่สอดคล้องกับความหมาย. ดังนั้น ชื่อว่า  อภิธัมมัตถสังคหะ นับ เป็นชื่อที่สมกับความหมาย เหตุที่ปกรณ์นี้มีการแสดงสารัตถะในพระอภิธรรมโดยเรียบเรียงอย่างย่อ และจัดระเบียบเป็นหมวดหมู่เท่านั้น.
[๖] สรูป ในคำว่า สรูปาวโพธ นี้มีอรรถว่า สภาวะ แยกบทเป็น  สํ = ของตน + รูป = สภาโว วิเคราะห์ว่า อภิธมฺมตฺถา รูปิยนฺติ ปกาสิยนฺติ เอเตนาติ รูปํ, สสฺส อิทํ สกํ, สกํ รูปํ สรูปํ สภาโว ลกฺขณนฺติ สรูปํ, อารมฺมณวิชานนํ ผุสนาทิ กกฺขฬตฺตาทิ สนฺติ จ. อรรถพระอภิธรรม ย่อมถูกแสดง ด้วยธรรมชาตินี้ เหตุนั้น จึงเรียกธรรมชาตินั้น ว่า รูป ธรรมชาติเป็นเครื่องแสดงอรรถพระอภิธรรม , รูป นี้เป็นของตน ชื่อว่า สํ, รูปคือสภาวะอันเป็นของตน ชื่อว่า สรูป, ได้แก่ การรู้อารมณ์ (ของจิต), และ การกระทบ (ของผัสสเจตสิก) ความเป็นของแข็ง (ของปฐวีธาตุ) เป็นต้น ที่มีอยู่.
[๗] สามตฺถิยโต สมตฺถ + ณิย ปัจจัยในภาวตัทธิต. คำนี้ มีความหมายตามศัพท์ว่า ย่อมสามารถ คัมภีร์โยชนา แสดงรูปวิเคราะห์ว่า ยํ สงฺคหปทํ ปโยชนทสฺสเน สมตฺเถติ สกฺโกติ อิติ ตสฺมา ตํ ปทํ สมตฺถํ สมตฺถสฺส ภาโว สามตฺถิยํ, สงฺคหปทสฺส สตฺติ.  บทว่า สงฺคห ย่อมสามารถในการแสดงประโยชน์ เพราะฉะนั้น บทว่าสังคหะ นั้น ชื่อว่า สมตฺถํ บทที่สามารถ, ความสามารถของบทว่าสังคหะ.  แต่ในที่นี้แปลโดยโวหารัตถะว่า โดยอ้อม เหตุที่ท่านไม่ได้ถือเอาอรรถของบทว่า สงฺคห โดยตรงว่า “การถือเอาโดยย่อ เป็นประโยชน์ เพียงแต่ถือเอาความสามารถที่จะพึงได้จากการแสดงโดยย่อ.
คัมภีร์มณิสารมัญชูสากล่าวว่า เมื่อพระอนุรุทธาจารย์ได้ย่ออรรถพระอภิธรรมไว้ในปกรณ์นี้ที่เดียว, นักศึกษาก็จะมีการเข้าใจอรรถพระอภิธรรมโดยการเรียนเป็นต้น, ผู้ที่เข้าใจอรรถพระอภิธรรมนั้นแล้วก็จะมีการบำเพ็ญสัมมาปฏิบัติ, เมื่อบำเพ็ญสัมมาปฏิบัตินั้นแล้ว ก็มีความไม่วิปปฏิสาร เมื่อไม่วิปปฏิสารก็มีความปราโมทย์เป็นต้นในที่สุดก็จะบรรลุอนุปาทาปรินิพพาน. ในกรณีที่ไม่มีการบรรลุมรรคผลในปัจจุบันภพ ก็จะได้รับภวสมบัติและโภคสมบัติเป็นต้นในโลกหน้า, ในกรณีที่มีการบรรลุมรรคได้ แต่ไม่สามารถทำให้เกิดได้ในภพนั้น ก็จะบรรลุมรรคผลและได้โภคสมบัติเป็นต้นในภพที่สองด้วย, เพราะฉะนั้น บัณฑิตควรเล็งถึงกิจอื่นเพื่อการบรรลุประโยชน์สองประการนั้นแล้วพึงพากเพียรอย่างยิ่ง เนื่องด้วยการเรียนพระอภิธัมมัตถสังคหะ.
[๘] ข้อความนี้ควรแปลซ้ำเป็นสองครั้ง คือ อยู่ในข้อความแรกว่า วนฺทนาปุพฺพงฺคมาย ปฏิปตฺติยา ปริสมาปนตฺถญฺเจว และ วากยะหลังว่า โสตูนํ วนฺทนาปุพฺพงฺคมาย ปฏิปตฺติยา อุคฺคาห .. สํสิชฺฌนตฺถญฺจ ประกอบความตามนัยของคัมภีร์มณิสารมัญชูสา ที่ให้ เจว ศัพท์ ที่ปริสมาปนตฺถญฺเจว และ จศัพท์ที่ โสตูนญฺจ  มีอรรถอญฺญมญฺญตถสมุจจิโน คือ ใช้รวบรวมอรรถสองคือการทำให้ปกรณ์ที่จะแต่งสำเร็จและการเล่าเรียนปกรณ์ของศิษย์สำเร็จลงได้โดยไม่มีอันตราย. ดังนั้น การปฏิบัติคือการกราบไหวเป็นประธาน จึงควบระหว่างวากยแรกและวากยะหลัง.  แต่ในที่นี้แปลไว้โดยรวบรัดไว้. ส่วน จ ศัพท์ที่ อุคฺคาหณ ... นตฺถญฺจ มีอรรกวากยสมุจจยะตามปกติ. 
[๙] วิญฺญู วิ.ว่า อตฺถานตฺถํ วิเสเสน ชานนฺติ สีเลนาติ วิญฺญู. (วิ+ ญา ญาเณ รู้ + รูปัจจัย) ชนท.ย่อมรู้โดยพิเศษ ซึ่งประโยชน์มิใช่ประโยชน์ โดยปกติ เหตุนั้น ชนท.เหล่านั้น ชื่อว่า วิญญู.
[๑๐] หมายความว่า เมื่อได้ทราบสารัตถะของปกรณ์นี้แล้ว วิญญูชนก็จะเข้าถึงได้โดยการเรียนเป็นต้น ฉะนั้น การแสดงเนื้อหาสาระของพระอภิธรรม จึงเป็นกิจที่จำเป็นจะต้องแสดง
[๑๑] สนฺทสฺสน โยชนาอธิบายว่า ทิส ธาตุ กล่าวอรรถ เปกฺขน การแลดู.  แต่ในกรณีที่มี สํ เป็นบทหน้า จะกล่าวอรรถแสดง. แต่คัมภีร์ฎีกาอื่นๆ อธิบายว่า สํ มีอรรถ สมฺมา โดยชอบ กล่าวคือ โดยแจ่มแจ้ง หมายถึง การเห็นประโยชน์อย่างแจ่มแจ้ง.
[๑๒] สมฺพนฺธ หมายถึง การแสดงการเชื่อมโยงกันด้วยความหมาย ของคำศัพท์ที่อยู่หน้าและหลัง อันมีวิภัตติเป็นเครื่องแสดง. แต่ในที่นี้ท่านแสดงการเชื่อมกันโดยความเป็นวิเสสนะและวิเสสยะ และ โดยความเป็นบทกรรมและบทกริยา. การแสดงความเชื่อมโยงเช่นนี้ท่านเรียกว่า สมฺพนฺธ บ้าง โยชนา บ้าง.
[๑๓] คำว่า โดยเกี่ยวกับเป็นพระนาม หมายความว่า คำว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ เป็นคำศัพท์ที่ประกาศพระนามของพระผู้มีพระภาคเท่านั้น เช่นเดียวกับคำว่า ทสพล, สตฺถา, สยมฺภู เป็นต้น มิใช่เป็นคำที่ประกาศพระคุณ (อตฺถโยชนา)
[๑๔] นัยนี้ สมฺมิต ศัพท์ มีอรรถเท่ากับ สมํ มิเนตพฺพ แปลว่า วัดให้เสมอกัน ความหมายคือ ชั่ง. คัมภีร์โยชนา อธิบาย ตุลา ศัพท์ในที่นี้มิได้กล่าวอรรถ เครื่องชั่งโดยปกติ แต่หมายถึง ปัญญา โดยมีความหมายว่า ตีรณ โดยมาจาก ตุล ตีรณ ในอรรถว่า พิจารณา + อ กัตตุสาธนุ + อา อิตถีโชตกปัจจัย .  วิเคราะห์ว่า ยา ปญฺญา ธมฺมาทิํ ตุเลติ ตีเรตีติ ตุลา. ปัญญาที่พิจารณาสิ่งต่างๆมีธรรมะเป็นต้น ชื่อว่า ตุลา. โดยแสดงหลักฐานและยุตติว่า ในที่นี้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการชั่งด้วยตราชั่งและมีหลักฐานจากคัมภีร์มูลฎีกา.
นอกจากจะ สมฺมิต จะมีความหมายว่า สมํ มิเนตพฺพ วัดให้เสมอกัน แล้ว ยังมีความหมายว่า สมาน หรือ สทิส อีกด้วย ดังนั้น จึงวิเคราะอีกนัยหนึ่งว่า ตุลาย = ปญฺญาย สมฺมิโต = สมาโน สทิโส ปุคฺคโล ตุลฺโย บุคคลผู้เสมอโดยปัญญาพิจารณา ชื่อว่า ตุลยะ.  มีตัวอย่างว่า รญญา สมฺมิโต = สมาโน ราชสมฺมิโต, เทเวน สมาโน เทวสมฺมิโต. ผู้เสมอกับพระราชา ชื่อว่า ราชสมฺมิโต, ผู้เปรียบเหมือนเทวดา ชื่อว่า เทวสมฺมิโต.
ตุลฺย ในที่นี้ ลง ย ปัจจัย ท้าย ตุลา ศัพท์ ในอรรถ สมฺมิต ทั้งสองนัย โดยเป็นตัทธิตปัจจัยที่สำเร็จได้ด้วยสูตรใหญ่กล่าวคือ ยทนุปปนฺนา นิปาตนา สิชฺฌนฺติ (ศัพท์ที่ไม่สำเร็จรูปด้วยสูตรดังกล่าว ให้สำเร็จรูปได้ด้วยนิปาตนะ คือ รูปที่ปรากฏ) ลบ อา เพราะ ย ข้างหลัง (ด้วยสูตรในสัททนีติว่า สรโลโป ยมนราทีสุ วา)
[๑๕] เตสํ โยชนาว่า เป็น ฉัฏฐีลงในอรรถอปาทาน โดยวิภัตตอปาทานตามสูตร ทุติยาปญฺจมีนญฺจ. เพราะวิภัตตอปาทานมีนิยามว่า เป็นการจำแนกสิ่งที่ต่างกันอยู่แล้วให้ต่างขึ้นอีกโดยคุณเป็นต้น. ส่วนนิทธารณะมิได้มีอรรถเช่นนั้น คือ ยกออกจากองค์ประกอบของหมู่ที่ไม่ต่างกันโดยคุณเป็นต้น.   ในกรณีนี้ สัตว์ที่เป็นทวิปาทะ คือ มนุษยชาติเช่นเดียวกับพระพุทธองค์ จึงอาจลงฉัฏฐีในอรรถนิทธารณะ. อย่างไรก็ตาม เมื่อเพ่งถึงสัตว์พวกอปาทะ คือ ดิรัจฉานที่ไม่มีเท้า เช่น ปลา และงูเป็นต้น และจตุปาทะ คือ ช้าง ม้าเป็นต้น ดังความเต็มในพระสูตรที่แสดงถึงรูปพรหม อรูปพรหมก็มี ก็เป็นวิภัตตอปาทานได้. แต่ในคัมภีร์ฎีกาของพระสูตรนี้อธิบายว่า เป็นฉัฏฐีวิภัตติในอรรถนิทธารณะ. (อัง. จตุ.ฎี. ๓๔) ในที่นี้แปลตามนัยของโยชนา.
[๑๖] เอโอนมวณฺโณติ  สุตฺเตน  โอการสฺส อ  มทา  สเรติ  สุตฺเตน  มาคโม  อคฺคมกฺขยายติ ตัดบทเป็น อคฺโค + อกฺขายติ แปลง โอ เป็น อ ด้วยสูตรโมคคัลลานะว่า เอโอนมวณฺโณ แปลง เอ และ โอ เป็น อวัณณะ ในเพราะสระหลังบ้าง. แล้วลง ม อาคม ด้วยสูตรโมคคัลลานะว่า ยมทา สเร.
[๑๗] สมฺปทาศัพท์ คัมภีร์มณิสารมัญชูสาอธิบายไว้ถึง ๔ นัย แต่องค์ธรรมมี ๒ เท่านั้น คือ พระมหากรุณาและการสั่งสมพระบรมโพธิสมภาร ดังนั้น ในที่นี้เลือกแปลเพียงนัยเดียว กล่าวคือ สมฺปทา มีอรรถว่า สมฺปชฺชนํ ความสมบูรณ์ ซึ่งในที่นี้คือ เหตุเป็นต้นนั่นเอง ดังนั้น เหตุสัมปทา จึงแปลว่า ความสมบูรณ์คือเหตุ, ความหมายคือ มีเหตุสมบูรณ์แล้ว ด้วยคำนี้มี อรรถาธิบายว่า การประจวบกับมหากรุณา และ การสั่งสมพระบรมโพธิสมภาร ก็ชื่อว่า เหตุ ด้วย ชื่อว่า ความสมบูรณ์ด้วย. จริงอย่างนั้น พระมหากรุณา ทั้งที่พระผู้มีพระภาคทรงให้เกิดขึ้นแล้ว และโพธธิสมภารอันพระองค์ทรงสั่งสมรวบรวมพอกพูนไว้แล้ว ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ภายในพระองค์  อีกทั้งที่สมบูรณ์แล้ว ชื่อว่า เหตุสัมปทา.  ข้อนี้พ้องกับมติในสุตตันตฎีกาและเนตติฎีกา ที่พรรณนาความข้อนี้ไว้ว่า การสดุดีพระผู้มีพระภาคย่อมมีโดยเหตุ ผล และสัตตูปการะ. คำว่า เหตุ ก็คือ พระมหากรุณา. (ที.ฎี. ๑/๘, เนตติฎี.๗).
[๑๘] มหากรุณาสมาโยโค คือ การประกอบหรือตั้งอยู่อย่างแรงกล้าในพระมหากรุณา ในคำนี้ แยกเป็น มหากรุณา + สํ (สมฺมเทว) โดยชอบ + อา (อาภุโส แรงกล้า) + โยค ประกอบ คือตั้งอยู่ ความหมายคือ การที่พระผู้มีพระภาคครั้งยังเป็นสุเมธดาบสทำพระมหากรุณาให้เกิดขึ้นในตัวพระองค์. (อันที่จริง มหากรุณา นั่นเอง ชื่อว่า เหตุสัมปทา ก็ควร แต่การที่ท่านประกอบเป็นบทที่มีกิริยาว่า มหากรุณาสมาโยค โดยแสดงนัยที่มีกิริยาเป็นประธาน.  – เรียบเรียงโดยนัยจากมณิสารมัญชูสาฎีกา)
[๑๙] คำว่า สมฺภรณ ในบทว่า โพธิสมฺภารสมฺภรณ หมายถึง การพอกพูน การบำเพ็ญ การทำให้เต็ม การก่อตัว การทำให้เป็นกลุ่มก้อน ซึ่งพระโพธิสมภาร. คำว่า โพธิสมภาร หมายถึง ธรรมที่บ่ม หรือ เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณกล่าวคือมรรคญาณอันเป็นปทัฏฐานแห่งสัพพัญญุตญาณ หรือ  ธรรมที่เป็นเหตุให้พระโพธิญาณนั้นเป็นไป. ได้แก่ ธรรมที่เรียกวา ธรรม ๓๐ มีทาน ศีล เป็นต้นที่เป็นบารมี อุปบารมี และปรมัตถบารมี. (อันที่จริง จะกล่าวเพียงว่า เหตุสัมปทา คือ โพธิสัมภาระ ก็ควร เพราะในที่นี้แสดงไว้โดยใช้กิริยาคือการสะสมเป็นประธาน. – เรียบเรียงโดยนัยจากมณิสารมัญชูสาฎีกา)
[๒๐] วาสนาคือ อำนาจพิเศษที่กิเลสอันเป็นเช่นเดียวกับความประพฤติและที่เป็นเหตุแห่งความประพฤติในเวลาที่ยังมีอนุสัยกิเลสแห่งบุคคลผู้หมดอนุสัยกิเลสในตนแล้ว นำมาให้แล้ว. เปรียบเหมือนว่า ในหม้อที่ยังมีน้ำหมักดองเหลืออยู่ ยังไม่ทิ้งไป กลิ่นของน้ำหมักดอง ย่อมติดค้างอยู่, กลิ่นของน้ำหมักก็ไม่ใช่น้ำหมัก, และกลิ่นก็ไม่มีหากเว้นจากน้ำหมัก. ทว่า เป็นอำนาจพิเศษที่หลงเหลืออยู่ในหม้อ เพราะอาศัยน้ำหมักดอง ฉันใด.,  อำนาจพิเศษนี้ที่เรียกว่า วาสนา ก็เป็นฉันนั้น  คือได้แก่ ความประพฤติทางกาย การใช้วาจา ในกาลที่ยังเป็นปุถุชน เช่น ของพระปิลินทวัจฉเถระเป็นต้นที่เป็นเหตุแห่งความประพฤติทางกายและวาจาในกาลที่ตนทำให้อาสวะสิ้นแล้ว หมายความว่า ถูกกิเลสนั้นนำมา คือ ให้หลงเหลืออยู่ในตนเพราะอาศัยกิเลส.
[๒๑] แปลตามที่มณิ.อธิบายความหมายไว้ว่า สกลโลกนยนาภิเสกภูตาติ สกลโลกนยนานิ สมาหริตฺวา อตฺตนิ อภิสิญฺจนกา วิย ชาตา ที่เป็นเหมือนกับประมวลนัยน์ตาของชาวโลกให้มาอภิเสกในพระองค์. อีกนัยหนึ่ง คือ พระรูปกายนั้นเกิดแล้วโดยเป็นที่หลั่งรดนัยนาของชาวโลกด้วยน้ำสะอาดปราศจากมลทินกล่าวคือความเลื่อมใส. เหตุเพราะการเห็นพระรูปกายของพระพุทธองค์ ย่อมนำความเลื่อมใสที่สามารถทำผลพิเศษให้เกิดขึ้นมาให้.
[๒๒] อาสยะ ตามศัพท์แปลว่า ธรรมเป็นที่อยู่แห่งจิต วิ. อญฺญตฺถาปิ อารมฺมเณปวตฺตํ จิตฺตํ อาคนฺตฺวา เอตฺถ ฐาเน เสติ ปวตฺตตีติ  ตํ ฐานํ อาสโย ฉนฺโท ยถาภูตญาณญฺจ. จิตที่เป็นไปในอารมณ์แล้วย่อมมาอยู่ในที่นี้ เหตุนั้น ที่นี่ชื่อว่า อาสยะ ได้แก่ ฉันทะ คือ ความปรารถนา และ ยถาภูตญาณ. (อา = อาคนฺตวา + สิ สย อยู่หรือนอน + อปัจจัย) โดยนัยนี้ เป็นคำอธิบายแบบกว้างๆไม่เจาะจง สามารถนำมาใช้อธิบายคำศัพท์ได้หลายนัย เช่น อาสยะ หมายถึง ธรรมที่เคยอบรมของเวไนยะก็มี เป็นต้น แต่ในทีนี้หมายถึง ภาวะปกติของพระองค์ กล่าวคือ การที่ทรงมีความปรารถนาเพื่อประโยชน์เกื้อแก่สัตว์ และพระยถาภูตญาณที่สามารถกำหนดได้ว่าในเวลานี้ ควรแสดงธรรมโปรดเวไนยะผู้นี้. ด้วยเหตุนี้ คัมภีร์ทั้งหลายจึงกล่าวองค์ธรรมของอาสยะในที่นี้วา ได้แก่  ฉันทะ คือ ความปรารถนา และ ญาณ พระญาณ กล่าวคือ ยถาภูตญาณ.
[๒๓] มุข ในที่นี้มีอรรถ ปธาน กล่าวคือ ยกธรรมสามประการนี้เป็นประธานในการไปสู่พระนิพพาน. คำว่า ยาน หมายถึง หมวดธรรมเป็นอุบายไปสู่นิพพาน ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ๓ คือ อนิจจานุปัสสนาเป็นต้น แต่ในโยชนาอธิบายไว้กว้างๆ คือ ศรัทธาวิริยะปัญญา,  ศีล สมาธิ ปัญญา, อนิจจังทุกขังอนัตตา
[๒๔] ในที่นี้ ปโยคะ การกระทำคือการแสดงธรรม แต่โดยสภาวะ คือ เจตนาที่ยังการเทศนาวิมุตติธรรมให้ตั้งขึ้น.
[๒๕] การแปลว่า โดย เพื่อคล้อยตามความในภาษาไทย มิใช่แปลโดยตติยาวิภัตติ ถ้าจะแปลให้คล้อยตามอรรถทุติยาวิภัตติ ควรไขอรรถบทว่า วนฺทิตฺวา เป็น วนฺทนํ กตฺวา ครั้นทำซึ่งการไหว้ ติวิธาวตฺถาสงฺคหิตโถมนาปุพฺพงฺคมํ อันมีการสดุดีอันสงเคราะห์แล้วด้วยข้อกำหนดสามประการเป็นประธาน พุทฺธรตนํ = พุทฺธรตนสฺส ต่อพระพุทธรัตนะ.  เพราะติวิธา ... ปุพฺพงฺคมํ เป็นบทลงทุติยาวิภัตติในอรรถกิริยาวิเสสนะในบทว่า วนฺทิตฺวา.  คัมภีร์มณิ. อธิบายว่า มติของอาจารย์บางท่านให้เอาบทนี้เป็นวิเสสนะของ พุทฺธรตนํ ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะพระพุทธรัตนะไม่มีการสดุดีเป็นประธาน. กิริยาการไหว้เท่านั้น จึงจะมีการสดุดีเป็นประธาน.  อีกอย่างหนึ่ง คัมภีร์ฎีกาอภิธัมมาวตาร ที่พระสุมังคลาจารย์เป็นผู้รจนาเช่นเดียวกัน ก็อธิบายเป็น เอวํ พุทฺธรตนสฺส โถมนาปุพฺพงฺคมํ ปณามํ กตฺวา อิทานิ เสสรตนานมฺปิ ปณามมารภนฺโต อาห ธมฺมํ สาธุคณมฺปิ จ. ส่วนบทว่า ตํ เป็นวิเสสนะของ ติวิธา ... .  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น